คนเราฝันได้อย่างไร ฝันดี-ฝันร้าย ฝันเรื่องเดิมซ้ำๆ มีคำตอบค่ะ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) บอกว่า ‘ฝัน’ เป็นสิ่งที่ทุกคนคงต้องเคยพบเจอกันมาบ้าง ความฝันที่อยู่ในห้วงแห่งการนอนหลับ มีทั้งฝันดี ฝันร้าย บางครั้งฝันเรื่องเดิมซ้ำๆ หรือรู้ตัวว่าฝันแต่จำความฝันไม่ได้ บางคนเอาความฝันไปตีความต่างๆ นานาตามความเชื่อ แต่วันนี้เราจะอ้างด้วยเหตุและผลอย่างวิทยาศาสตร์กันนะคะ

คนเราฝันได้อย่างไร ฝันดี-ฝันร้าย ฝันเรื่องเดิมซ้ำๆ

ทำไมเราจึงฝันถึงเรื่องราวต่างๆ

แม้ร่างกายเราจะกำลังนอนหลับพักผ่อน แต่สมองไม่ได้ปิดตัวเองไปด้วย มันยังคงทำหน้าที่ดูแลระบบสารเคมีต่างๆ เซลล์ประสาท ยังคงทำงานแม้เราจะหลับไปแล้ว โดยมีสมองส่วนในรักษาข้อมูลความจำและส่งข้อมูลในรูปคลื่นสมองไปยังสมองใหญ่ ขณะที่หลับเรามีการฝันตลอดเวลาก็ว่าได้ เพราะสมองยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่เราจำได้บ้างหรือไม่ได้บ้างเท่านั้นเอง

ความฝันที่เกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของการหลับมักจะถูกลืม ส่วนใหญ่ที่ถูกจำได้จะเป็นความฝันที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตื่นหรือฝันจนตื่น ส่วนใหญ่ความฝันจะอยู่ในรูปของการเห็น รองลงมาจะเป็นรูปของการได้ยิน การสัมผัส และความเจ็บปวด

ความฝันเป็นหนึ่งในกลไกทางจิต

นักจิตวิทยามองว่า ความฝันเป็นหนึ่งในกลไกทางจิต เพื่อปลดปล่อยความกังวลตึงเครียดในจิตใจ เมื่อเกิดการฝันขึ้นจะทำให้สภาพจิตใจรู้สึกผ่อนคลายลงสาเหตุที่ทำให้คนเราฝัน ได้แก่…

1. ฝันที่มาจากความเจ็บปวด

2. ฝันจากเรื่องค้างคาใจ

3. ฝันอันเนื่องมาจากประสบการณ์ในอดีต

ซิกมันด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิทยา เชื่อว่าความฝันเป็นความปรารถนาลึกๆ ภายในจิตใจของมนุษย์ มักจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องราวที่คนเราอยากจะทำเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ และแสดงออกมาในรูปแบบของจินตนาการในความฝันขณะนอนหลับแทน เราจึงมักจะฝันเรื่องที่ไม่อาจเกิดขึ้นจริงได้

สิ่งที่มีอิทธิพลกับความฝัน คือ สภาพจิตใจ, การแพ้อาหาร-แพ้ยาบางชนิด, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากซึ่งรบกวนการนอนหลับอย่างสงบ, การเจ็บไข้ได้ป่วย, สภาพแวดล้อมของห้องนอน เช่น ความร้อน หนาว ความมืด สว่าง เสียง ซึ่งล้วนสร้างความกดดันให้แก่ร่างกายและจิตใจก็อาจสะท้อนออกมาในความฝันได้ค่ะ

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง