ราชสกุลในราชวงศ์จักรีไทย ที่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1

ราชสกุล เป็นนามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลวงศ์ในพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ “นามสกุล” เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด

ราชสกุลในราชวงศ์จักรีไทย

โดยผู้สืบเชื้อสายจากราชสกุล เรียกว่า “ราชนิกุล” และสกุลอันสืบเนื่องมาจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) นั้น เรียกว่า “บวรราชสกุล” ส่วน “ราชินิกุล” หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (นับทางพระมารดา)

สำหรับสมาชิกในราชสกุลที่ต่ำลงมาจากหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ถือว่าเป็นสามัญชน ให้ใช้นามสกุลอันเป็นราชสกุลโดยมีคำว่า “ณ อยุธยา” ต่อท้าย โดยในครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า “ณ กรุงเทพ” ต่อท้าย และต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น “ณ อยุธยา” แทน สำหรับผู้ใช้นามราชสกุลตามมารดา หรือการขอร่วมใช้นามสกุลที่เป็นราชสกุล จะไม่ต่อท้ายด้วย “ณ อยุธยา” และก็ยังคงมีมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ลองมาดูกันว่าจะมีนามสกุลใดบ้าง…

ราชตระกูล

ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า “ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์” มี 6 ราชสกุล ดังนี้

ราชสกุล

ราชสกุล หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน โดยมักจะเป็นพระนามของพระราชโอรส และยังมีราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อีก 18 ราชสกุล ซึ่งสามาารถแบ่งออกเป็นสายราชสกุลดังนี้

รัชกาลที่ 1 (มี 8 ราชสกุล) คือ

บวรราชสกุล (วังหลัง – สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข) ในรัชกาลที่ 1 (มี 2 ราชสกุล) คือ

บวรราชสกุล (วังหน้า – สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ในรัชกาลที่ 1 (มี 4 ราชสกุล) คือ

—————————————

รัชกาลที่ 2 (มี 20 ราชสกุล) คือ

บวรราชสกุล (วังหน้า – สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์) ในรัชกาลที่ 2 (มี 10 ราชสกุล) คือ

—————————————

รัชกาลที่ 3 (มี 13 ราชสกุล) คือ

บวรราชสกุล (วังหน้า – สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์) ในรัชกาลที่ 3 (มี 5 ราชสกุล) คือ

—————————————

รัชกาลที่ 4 (มี 27 ราชสกุล) คือ

บวรราชสกุล (วังหน้า – พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในรัชกาลที่ 4 (มี 11 ราชสกุล) คือ

—————————————

รัชกาลที่ 5  (มี 15 ราชสกุล) คือ

บวรราชสกุล (วังหน้า – สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ) ในรัชกาลที่ 5 (มี 9 ราชสกุล) คือ

—————————————

รัชกาลที่ 7 (มี 1 ราชสกุล) คือ

—————————————

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สำหรับสายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประกอบด้วย 18 ราชสกุลด้วยกัน ดังนี้

—————————————

ราชินิกุล

สายสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ซึ่งมักเรียกรวม ๆ กันไปว่า “ราชินิกุลบางช้าง” เพราะนิเวศสถานเดิมอยู่ ตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง ซึ่งต่อมาจึงยกเป็นเมืองสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสงครามตามลำดับ ราชินิกุลก๊กใหญ่ คือ สกุลบุนนาค

สายสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุล รัชกาลที่ 3 ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลย และสายสกุล ศิริสัมพันธ์ สืบมาจาก ท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาไลย

สายสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ที่เป็นราชินิกูลคือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเพชรบุรี (เรือง) ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าขรัวเงิน แซ่ตันพระชนกของพระองค์ ทั้งสองท่านเป็นชาวจีนเหมือนกัน บุตรพระยาเพชรบุรี (เรือง) คือเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี) เป็นต้นสกุลหลายสกุลด้วยกันจึงถือว่าสกุลเหล่านี้เป็นราชินิกุล

สายสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุลรัชกาลที่ 5 ฝ่ายพระชนนีนั้น เป็นชาวสวนบางเขน และสกุลอำมาตย์รามัญสายพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) ที่เกี่ยวดองกันกับสกุลรามัญสาย พระยาจักรีมอญ (กรุงธนบุรี) เชื้อสายราชินิกุล ที่มิใช่ขัตติยราชตระกูล เท่าที่ค้นได้จากหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ 5 คือ “สกุลสุรคุปต์”

สายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ซึ่งทางฝ่ายพระชนนีนั้น คือสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ท่านเป็นธิดาของท้าวสุจริตธำรง (นาค) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุล แก่ผู้สืบสายจากท้าวสุจริตธำรง ผู้เป็นราชินิกุล ว่า “สุจริตกุล”

สายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 คือคุณถมยา พระอนุชาของพระองค์ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “ชูกระมล” เพื่อเป็นนามสกุลสำหรับผู้ที่สืบจาก พระชนกชู ชูกระมล และพระชนนีคำ ชูกระมล และทายาทในอนาคต แต่คุณถมยา ถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยรุ่น สกุลนี้จึงสิ้นไป

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาระน่ารู้ส่งท้าย…

ส่วนราชสกุลและสกุลวงศ์ ที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือเป็นเครือญาติกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (เฉพาะ พ.ศ. 2365 – 2527) มีดังต่อไปนี้

  1. กุญชร ณ อยุธยา
  2. ไกรสรสิทธิ
  3. กลิ่นโกมุท
  4. เก็บไว้
  5. เกษมใส
  6. กุลศรี
  7. เกิดเงิน
  8. เขียวสุทธิ
  9. ขันฑริก
  10. เครือเพชร์
  11. คมกฤส
  12. คชหิรัญ
  13. คชเสนี
  14. คอลเทล
  15. งามถิ่น
  16. จตุรานนท์
  17. จารุรัตน์
  18. จึงเจริญ
  19. เจียรประดิษฐ์
  20. จงเจริญ
  21. จันทร์สมบูรณ์
  22. จุ่นพิจารณ์
  23. จันทนสมิต
  24. แจ้งความดี
  25. ใจสงเคราะห์
  26. จันทร์เรืองเพ็ญ
  27. เจริญไชย
  28. จันทรวงศ์
  29. จำปาขาว
  30. จันทิมานนท์
  31. จงใจหาญ
  32. จุละเดชะ
  33. จันทร์พิทักษ์
  34. จารุสิงห์
  35. เฉลิมทรัพย์
  36. ชุมสาย  ณ  อยุธยา
  37. ชูโต
  38. ชุมากร
  39. ชลายนเดชะ
  40. ชุณหวัต
  41. ไชยสุต
  42. ชัยวัฒน์
  43. ชโนดม
  44. ชูช่วย
  45. เชาวนภูติ
  46. ชำนานปืน
  47. ไชยาคำ
  48. ดิษยบุตร
  49. ดุษฎี
  50. ดารารัตน์
  51. ดารายน
  52. ดีวาจิน
  53. เดเนียล
  54. ไตรกิติยานุกูล
  55. ไต่เมฆ
  56. เต็มสงสัย
  57. แตงทอง
  58. ตัณโชติ
  59. ตัณฑนุช
  60. ตันติเวชกุล
  61. ตุลยาทร
  62. ติวานนท์
  63. ตรองโตนิล
  64. ตรีนิกร
  65. เตชะมณี
  66. เตชะศรีอุดม
  67. เถื่อนหรุ่น
  68. เถกิงพล
  69. ถมยาวิทย์
  70. ทองใหญ่  ณ อยุธยา
  71. ทองเนียม
  72. ทองรอด
  73. ทวาทสิน
  74. ทาค่อ
  75. ทัศจันทร์
  76. ทวีสุข
  77. เทพธี
  78. ทัพพะวงศ์
  79. ทรัพย์แสงส่ง
  80. เทวะประทีป
  81. ธนาบูรณ์
  82. นาคชำนาน
  83. นาคะตะ
  84. นิ่มพินิจ
  85. นิยม
  86. นิลวงศ์
  87. บุนนาค
  88. บุณยามระ
  89. บุนอินทร์
  90. บุญประเสริฐ
  91. บุญโรจน์
  92. บำรุงผล
  93. บรรหารทัณฑกิจ
  94. บัณฑิตานนท์
  95. บราวน์
  96. บิชอบ
  97. ปาลกวงศ์  ณ อยุธยา
  98. ปวนะฤทธิ์
  99. ปรัชญานนท์
  100. เปรมชื่น
  101. เปมะโยธิน
  102. เปรมัษเฐียร
  103. ปานะนนท์
  104. ปานถาวร
  105. เปลี่ยนราศรี
  106. ปัทมจินดา
  107. ปิ่นสุวรรณ
  108. ประภาพันธ์
  109. ผลกล้วย
  110. พัวเวส
  111. พาเจริญ
  112. พาณิชสุโข
  113. พลาพิบูลย์
  114. พิพัฒน์
  115. พูนเจริญ
  116. พุ่มสวัสดิ์
  117. พื้นชมภู
  118. แพงอินทร์
  119. โพธิตาปนะ
  120. โพธิวิหก
  121. พรรณโรจน์
  122. แพ่งสภา
  123. พงษ์กัณหา
  124. พรโสภณ
  125. พรหมจรรย์
  126. เฟื่องฟู
  127. เฟื่องดอกไม้
  128. เฟิ้ทธ์
  129. ภูติจินดานนท์
  130. ภูมิถาวร
  131. เมษะมาน
  132. เมธา
  133. ม่วงกล่ำ
  134. มนุอมร
  135. ม่วงวิโรจน์
  136. มีบุตร
  137. มีเมศกุล
  138. ยศธร
  139. ยิ้มน้อย
  140. แย้มเยื้อน
  141. ยุกตานนท์
  142. โรจนวิภาต
  143. โรจน์ชลาสิทธิ์
  144. รัตนภัคดี
  145. รอดแสงสินธุ์
  146. ฤทธิกาญจน์
  147. ลีละชาติ
  148. ลางคุลเสน
  149. เลิศมงคล
  150. เลี้ยงรื่นรมย์
  151. เล็กน้อย
  152. ลิ้มทองกุล
  153. เลขนาวิน
  154. ลุมพิกานนท์
  155. โล่สุวรรณ
  156. เลวิส
  157. วาสภูติ
  158. วินิจฉัยกุล
  159. วัฒนายน
  160. วัฒนสุวกุล
  161. วัจนรัตน์
  162. วงศ์ละม้าย
  163. วงศ์ไทย
  164. วงศ์สันต์
  165. วงศ์ประเทือง
  166. วรรณศิริ
  167. วัฌโน
  168. วณิชกิจ
  169. ไวยนพ
  170. เศรษฐบุตร
  171. เศวตเศรณี
  172. ศรียานนท์
  173. ศรีมาศ
  174. ศรีเสาวชาติ
  175. ศรีวัฒนะ
  176. ศรีสาทร
  177. ศรีวรรธนะ
  178. ศรทัต
  179. ศุนวัต
  180. ศุขหัส
  181. ศิริสัมพันธ์
  182. ศุภสิทธิ์
  183. ศิริสุทธิ
  184. ศิริสุวรรณ
  185. ศิริวรรณ
  186. สนิทวงศ์  ณ อยุธยา
  187. สวัสดิกุล  ณ อยุธยา
  188. แสงชูโต
  189. สุวรรณ
  190. สาตรพันธ์
  191. สารสุรรณ
  192. เสถบุตร
  193. สุดลาภา
  194. สุนทรสิงห์
  195. สุวรรณาคร
  196. สุวรรณี
  197. สุวรรณวิเศษ
  198. สุภัทรพันธ์
  199. สุขสวัสดิ์
  200. สุจปลื้ม
  201. สุจริต
  202. สู้ทุกทิศ
  203. สถานุวัตร
  204. สิริสิงห์
  205. แสงนาค
  206. สมรภูมิพิชิต
  207. สติติรัตน์
  208. สีหอุไร
  209. สืบพงศ์พันธ์
  210. เสงี่ยมพงษ์
  211. สาครบุตร์
  212. สังข์ฉาย
  213. สิงห์คำ
  214. สิทธิสรวง
  215. แสนทรงสุรศักดิ์
  216. สโตล
  217. หอรัตนไชย
  218. หวังดี
  219. หุราพันธ์
  220. แหลมวิไล
  221. อาจวงษ์
  222. อาจแย้มสรวล
  223. อาคะมานนท์
  224. อรุณพันธ์
  225. อร่ามศรี
  226. อินทรกำแหง ณ ราชสีมา
  227. อารมณ์สว่าง
  228. อังศุมาลีกุล
  229. อำนาจสรการ
  230. อำมาตยานนท์
  231. อินทรพิทักษ์
  232. ฮวดเจริญ
  233. โฮลบรู๊ค
  234. ฮาร์นเสน
  235. ฮอร์น
  236. บุณยรัตพันธุ์
  237. เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

ข้อมูลจาก : http://www.thaipoet.net

บทความที่น่าสนใจ

Written by : Toey

ข่าวที่เกี่ยวข้อง