บุคคลในสายสกุล บุนนาค ที่รับราชการและมีชื่อเสียง

ราชินิกุลบุนนาค นับว่าเป็นสกุลที่เก่าแก่ บรรพชนของสกุลบุนนาคสืบเชื้อสายมาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) มีนามว่า เฉกอะหฺมัด ที่เข้ามารับราชการในกรุงพระนครศรีอยุธยา ต้นตระกูลบุนนาค คือ เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ชาวเปอร์เซียที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

บุคคลในสายสกุล บุนนาค ที่รับราชการและมีชื่อเสียง

– – – – – – – –

ประวัติโดยย่อ เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)

เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) เป็นมุสลิมชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺ (สิบสองอิมาม) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2086 ณ ตำบลกุนี  ในเมืองอัสตะราบาด ซึ่งปัจจุบันคือเมืองกอร์กัน ตั้งอยู่แถบทะเลแคสเปียน ในประเทศอิหร่าน

ในยุคสมัยที่ท่านเฉกอะหมัดเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา เป็นยุคที่โปรตุเกสเรืองอำนาจทางทะเลในแถบมหาสมุทรอินเดีย ทำให้พ่อค้าชาวพื้นเมืองต้องใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางบกเป็นช่วง ๆ เส้นทางที่เป็นไปได้ในการเดินทางจากอิหร่านเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น คือเดินเท้าจากเมืองแอสตะราบาดเข้าสู่แคว้นคุชราตในอินเดียตะวันตก

จากนั้นเดินเท้าตัดข้ามประเทศอินเดียมายังฝั่งตะวันออกทางด้านโจฬมณฑล และลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันมายังเมืองตะนาวศรีหรือเมืองมะริด แล้วจึงเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เฉกอะหมัดและมหฺหมัดสะอิด พร้อมบริวารได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ตั้งบ้านเรือนและห้างร้านค้าขาย อยู่ที่ตำบลท่ากายี

ท่านค้าขายจนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐีใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังมหฺหมัดสะอิดได้เดินทางกลับเปอร์เซีย ท่านสมรสกับท่านเชย มีบุตร 2 คนและธิดา 1 คน ได้แก่

1. เป็นชายชื่อ ชื่น ซึ่งต่อมาคือ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) สมุหนายก ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง
2. เป็นชายชื่อ ชม ถึงแก่กรรมแต่เมื่อยังเป็นหนุ่ม
3. เป็นหญิงชื่อ ชี เป็นสนมเอกในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ภายหลังแต่งงานกับพระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) บุตรของมหฺหมัดสะอิด

ภาพบุตรและหลานของท่านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ อาทิเช่น

แถวหลังจากซ้าย คนที่ 3. เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร)
แถวกลางจากซ้าย คนที่ 1. พระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ) / คนที่ 7. พระยาราชพงศานุรักษ์ (ชม) / คนที่ 10. พระยาประกรวงศ์ (ชาย)
แถวหน้าจากซ้าย คนที่  7. พระยาศรีธรรมสาส์น (เชย)/ คนที่ 12. พระยาราชานุวงศ์ (เล็ก)

ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้า ฯ ให้ท่านเฉกอะหมัดซึ่งมีอายุ 87 ปี เป็นเจ้าพระยาบวรราชนายกจางวางกรมมหาดไทย ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. 2174 รวมอายุ 88 ปี ท่านเฉกอะหมัดนี้ท่านเป็นต้นสกุลของไทยมุสลิมหลายนามสกุลและสกุลบุนนาค เป็นต้นสกุลของเจ้าพระยาหลายท่านในระยะเวลาต่อมา

อาทิ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) เจ้าพระยาชำนาญภักดี (สมบุญ) เจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ) และมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ถึง 3 ท่าน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รวมทั้งเป็นต้นสกุลของสายสกุลที่มีความสำคัญต่อการปกครองประเทศตลอดมา สถานที่ฝังศพของท่านเฉกอะหมัด ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

บุคคลในสายสกุล บุนนาค ที่รับราชการและมีชื่อเสียง

ภาพ : พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

พระมเหสี

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 (สืบสายสกุลจาก เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ทางพระชนนี)

บาทบริกจา

(บาทบริกจา คือ ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวร และเจ้าฟ้า คำอื่น ๆ ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา, อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี.

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถ่ายพระราชทาน เจ้าจอมเอิบ พร้อมด้วยบิดา มารดาและญาติพี่น้อง

(นั่ง) เจ้าจอมเอิบ, ท่านผู้หญิงสุรพันธ์พิสุทธิ์ (อู่ บุนนาค), เจ้าจอมมารดาอ่อน, เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และ เจ้าจอมเอี่ยม
(ยืน) เจ้าจอมอาบ, พระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค) และ เจ้าจอมเอื้อน

สมเด็จเจ้าพระยา, เจ้าพระยา

อ้างอิงข้อมูลจาก : wikipedia เจ้าพระยาบวรราชนายก_(เฉกอะหมัด), wiki/สกุลบุนนาค, bunnag

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง