ชั้นบรรยากาศ มีกี่ชั้น | ทำความรู้จักกับ ชั้นบรรยากาศของโลก

บรรยากาศ คือ สิ่งที่ปกคลุมผิวโลก และเป็นเกราะป้องกันรังสีอันตราย จากดวงอาทิตย์และวัตถุต่างๆ ในอวกาศ เช่น อุกกาบาต ซึ่งชั้นบรรยากาศ มีหลายชั้นด้วยกัน มาทำความรู้จักกับ ชั้นบรรยากาศ ของโลกกันเถอะ

ชั้นบรรยากาศ

โทรโพสเฟียร์ (Troposphere)

โทรโพสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศชั้นล่างสุด ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่เราอาศัยอยู่ ระดับความหนาอยู่ที่ประมาณ 10 – 15  กิโลเมตรจากพื้นดิน ชั้นบรรยากาศชั้นนี้ เมื่อสูงขึ้นจะยิ่งมีอุณหภูมิที่ต่ำลง จนเริ่มคงที่ในระยะความสูงประมาณ 12 กิโลเมตร นอกจากนี้บรรยากาศชั้นนี้ยังมีไอน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ชั้นบรรยากาศนี้มีความแปรปรวน เกิดเป็นลักษณะ ลม ฟ้า อากาศ ต่างๆ เช่น พายุ ฝน เมฆ หิมะ เป็นต้น

สตราโทสเฟียร์ (Stratosphere)

สตราโทสเฟียร์มีระดับความสูงถึง 50 กิโลเมตรจากพื้นโลก และชั้นบรรยากาศชั้นนี้ ต่างจากชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ โดยเมื่อระยะความสูงมากขึ้น จะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นตามไปด้วย เพราะชั้นโอโซนดูดกลืนรังสี UV เอาไว้ทำให้บรรยากาศชั้นนี้มีอุณหภูมิสูง ซึ่งปัญหาโลกร้อนที่เรากำลังประสบ เกิดจากสาร CFC ทำลายชั้นโอโซน ชั้นบรรยากาศชั้นนี้ มีความสงบกว่าชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ไม่มีเมฆ ฝน มีมวลความหนาแน่นของอากาศน้อย

มีโซสเฟียร์ (Mesosphere)

ชั้นบรรยากาศชั้นนี้ จะกลับมามีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อมีระยะความสูงมากขึ้น เหมือนกับชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ เพราะระยะทางที่ห่างจากชั้นโอโซน ที่เป็นชั้นที่ดูดความร้อน ความหนาแน่นในชั้นบรรยากาศมีโซสเฟียร์ มีน้อยมาก เพียงร้อยละ 0.1 เท่านั้น แต่ก็เพียงพอที่จะสร้างความเสียดทาน ให้อุกกาบาตเกิดการลุกไหม้ที่ชั้นบรรยากาศนี้

เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)

ชั้นบรรยากาศชั้นนี้จะกลับมามีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ตามความสูงที่มากขึ้นจากระดับพื้นดิน เพราะความร้อนจากดวงอาทิตย์ และเป็นชั้นที่มีแก๊สชนิดต่างๆ ที่เป็นประจุไฟฟ้า ไอออน ซึ่งสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิด ที่มีประโยชน์ต่อการสื่อสาร ชั้นนี้จึงมีดาวเทียมอยู่มากมาย

เอกโซสเฟียร์ (Exosphere)

ชั้นบรรยากาศชั้นนี้ ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนระหว่างบรรยากาศและอวกาศ

ขอบคุณข้อมูลจาก : ชั้นบรรยากาศของโลก, Layers of the atmosphere และ  ‎บรรยากาศ (Atmosphere)

บทความแนะนำ :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง