5 เทคนิค ที่จะทำให้พูดในที่สาธารณะ ได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องยืนขาสั่นอีกต่อไป

เคยมั้ย? ต้องออกไปพรีเซนต์หน้าห้องทีไร กลุ้มใจทุกที หรือแม้กระทั่งตอนทำงาน ที่ต้องนำเสนอโปรเจกต์ ในที่ประชุม ก็ตื่นเต้นจนพูดผิดพูดถูก เชื่อว่าหลายคนต้องเคยเจอกับปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะคนที่พูดไม่เก่ง วันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ ที่จะทำให้คุณพูดในที่สาธารณะได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องยืนขาสั่นอีกต่อไป จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย!

5 เทคนิค ที่จะทำให้พูดในที่สาธารณะ ได้อย่างมั่นใจ

กายพร้อม ใจพร้อม เราทำได้

วอร์มร่างกายด้วย

เวลาที่เรากังวล ร่างกายของเราก็จะเครียดไปด้วย กล้ามเนื้อจะเกร็งไปหมด และอาจทำให้แขนขามือสั่นไปหมด และถ้าเราไปแสดงอาการนี้บนเวทีล่ะก็ ดูไม่โปรเอาซะเลย! ทางที่ดีลองยืดเส้นยืดสาย ยืดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายก่อนที่จะเดินขึ้นเวที ก็ช่วยได้เยอะเลยนะ

อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ

เมื่อเราตื่นเต้นร่างกายจะหลั่งอะดรีนาลีนออกมามาก ทำให้รู้สึกขาดน้ำ กระหายน้ำ พอถึงเวลาที่ก้าวขึ้นไปบนเวที กคุณก็จะกล่าวสวัสดีคนฟัง ด้วยน้ำเสียงที่แหบแห้ง ไม่น่าฟังเอาซะเลย! เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำเด็ดขาด

ทำสมาธิ

ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว ว่าการทำสมาธิจะช่วยให้ใจสงบได้ เพราะฉะนั้นก่อนขึ้นเวทีสัก 10 – 15 นาที ลองรวบรวมสมาธิ ตั้งสติ ทำใจให้นิ่ง หยุดคิดเรื่องอื่น โฟกัสที่ลมหายใจเข้าออก รับรองว่าจะไม่ขาสั่นเดินขึ้นเวทีอย่างแน่นอน

โฟกัสให้ถูกจุด

อย่ามัวแต่โฟกัสที่ตัวเอง ไอความคิดที่ว่า “ผมทรงนี้ตลกมั้ยนะ? คิ้วล่ะ เท่ากันหรือยัง? คนจะฟังที่ฉันพูดมั้ย? แล้วถ้าเกิดพูด ๆ อยู่แล้วลืมขึ้นมาล่ะ จะทำไง?” ทิ้งมันไปให้หมด เพราะมันจะทำให้ในหัวของคุณมีแต่ความกังวล สิ่งที่คุณควรจะโฟกัสก็คือ คุณจะพูดยังไงให้เกิดประโยชน์กับคนฟังมากที่สุด แค่นั้นเอง!

Mid section of applauding audience at business seminar

ทำความเข้าใจเนื้อหาที่จะพูด

จะพูดเรื่องอะไร เราก็ต้องเข้าใจเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ซะก่อน นอกจากจะป้องกันการโป๊ะเวลาคนถามแล้ว  ถ้าเราเข้าใจเนื้อหาที่จะพูดเป็นอย่างดี เราก็จะมีความมั่นใจในการพูดมากขึ้นไปอีก

แต่วิธีที่ไม่เวิร์กสุด ๆ นั่นคือ การท่องจำ แล้วขึ้นไปพูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง นอกจากจะดูไม่สมูทแล้ว ถ้าเกิดลืมขึ้นมาละก็…พังแน่นอน!

ฝึกซ้อมก่อนถึงวันจริง

ลองซ้อมพูดหน้ากระจก และดูสีหน้าท่าทางของตัวเองขณะพูดไปด้วย ปรับโทนเสียงให้น่าฟัง ไม่ทุ้มไม่แหลมจนเกินไป และอย่าลืมฝึกจังหวะการพูดด้วย เพราะเวลาตื่นเต้นคนเรมักจะพูดเร็วขึ้นกว่าเดิม ทางที่ดีลองหาใครสักคนมาลองนั่งฟังเราพูด หรือจะอัดคลิปเอาไว้ แล้วเอามาดูว่ามีตรงไหนต้องปรับต้องแก้

อย่าลืมประเมินผลงาน

แน่นอนว่าครั้งหน้าเราก็ต้องพูดอีก ต้องพรีเซนต์อีก เพราะฉะนั้น อย่าลืมกลับมาประเมินตัวเองด้วย วา่ที่เราทำไปวันนี้นั้นมีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้าง พูดเอ่อ อ่า เยอะเกินไปมั้ย พูดตะกุกตะกักมั้ย ฟีดแบกเป็นยังไง แล้วเอาข้อผิดพลาดเหล่่านั้นมาปรับปรุงแก้ไข ครั้งหน้าเราจะได้ดีกว่าเดิม

ขอบคุณข้อมูลจาก: lifehack

Written by: Typrn

บทความแนะนำ :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง