รสนิยมนั้นสำคัญไฉน? รสนิยม – เรื่องส่วนบุคคล เรื่องที่วัดกันไม่ได้

รสนิยม เป็นเรื่องที่วัดกันไม่ได้! … เมื่อหลายปีก่อนเคยได้ยินประโยคนี้จากน้องช่างภาพหญิงคนหนึ่ง น้องพูดบ่อยๆ ให้ได้ยินในเวลาทำงาน ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็ไม่เข้าใจว่าทำไมน้องถึงได้พูดอะไรแบบนี้บ่อยๆ จนถึงวันนี้ถึงได้ร้องอ๋อ.. เมื่อต้องทำงานกับคนที่รสนิยมไม่เหมือนกัน

รสนิยม เรื่องส่วนบุคคล (Subjective)

เมื่อวันหนึ่งได้ขอความคิดเห็นจากหัวหน้าเรื่องความสวยงามในหน้าเว็บไซต์ ในงานที่ได้รับผิดชอบ

ฉัน : พี่คะ หน้าเว็บนี้ออกแบบสวยมั้ยคะ?
หัวหน้า : ความสวยมันวัดยาก ตอบไม่ได้หรอก

ˋ(′~‵)ˊ

ง่าาาา แอบเอียงคอ งุนงง สงสัยในคำตอบที่ได้รับ ไม่รู้จะตัดสินใจยังไงดีด้วยไม่แน่ใจว่า “หน้าเว็บ” นั้นสวยหรือเปล่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ขอความคิดเห็นเรื่องความสวยและคำตอบที่ได้ก็เป็นแบบนี้ตลอดมา

ความผิดหวังที่คาดหวังในคำตอบที่จะได้รับคือ “สิ่งนั้น” สวยหรือไม่สวย หรืออย่างน้อยก็อยากให้มีคำแนะนำกลับมาบ้าง ไม่ใช่ตอบว่า “ความสวยมันวัดกันไม่ได้” เพียงอย่างเดียว ..จึงทำให้ฉันต้องหาข้อมูลในเรื่องนี้ ว่าแท้จริงแล้วรสนิยมนั้นสำคัญไฉน ทำอย่างไรถ้าเราต้องอยู่ร่วมกับคนที่มีรสนิยมที่แตกต่างกัน

เพราะฉันคิดว่า .. เอาล่ะ “แม้ว่าอย่างน้อยความสวยมันจะวัดกันไม่ได้ วัดกันยาก” แต่ก็ควรจะมีสักทางเลือกที่จะบอกได้ว่าสิ่งนั้นโอเค ไม่ขี้เหร่-ใช้ได้แล้ว ไม่ใช่หรือ?

แล้วเราจะทำงานร่วมกันอย่างไร กับคนที่รสนิยมต่างกัน

คุณณัฐพัชญ์ แห่งเว็บ www.nuttaputch.com ได้มีแง่คิดในเรื่องนี้ว่า

สำรวจเสียก่อนว่ารสนิยมเราดีหรือไม่ดี? เราเข้าใจเรื่องดีไซน์ เรื่องสุทรียศาสตร์แค่ไหน?
– ถ้าเราไม่มีทักษะด้านนั้น ก็ต้องหมั่นดูงานให้เยอะ (มากๆ) เปิดโลกด้านศิลป์ของตัวเองมากๆ
– ในกรณีที่ทำแล้วยังไม่แม่น ยังไม่เก่ง คุณก็ควรเคารพและฟังคนที่มาทางสายเฉพาะทาง อย่างดีไซน์เนอร์
– ฟัง Expert เยอะๆ เพราะพวกเขาถูกจ้างมาเพื่อทำสิ่งนี้ ถ้าไม่ฟังเขาแล้วจะจ้างเขามาทำไม
– อย่าเชื่อ Guts Feeling หรือยืนกระต่ายขาเดียวถ้าคุณไม่เจ๋งหรือเก๋าประสบการณ์พอ
– อย่าพูดแค่ว่า “ชั้นชอบ” แต่อธิบายไม่ได้ว่าคืออะไร เพราะนั่นแสดงว่าคุณเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน
– จำไว้เสมอว่าตัวคุณไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ต่อให้คุณชอบก็ไม่ได้แปลว่าลูกค้าจะชอบ พยายามคิดในมุมมองลูกค้าด้วยรสนิยมที่ดี ไม่ใช่คิดแต่ว่าชั้นชอบหรือไม่ชอบ

ที่มา www.nuttaputch.com

╮( ̄▽ ̄)╭♡

รสนิยม เรื่องส่วนบุคคล (Subjective แปลได้ว่า อัตนัย) ตัวของฉัน ตนของฉัน

ข้อสอบ ปรนัย – อัตนัย

เราเคยได้ยินคำนี้บ่อยๆ ในการทำข้อสอบของเรา “สอบข้อเขียน” …การสอบข้อเขียนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “การสอบแบบปรนัย” และ “การสอบแบบอัตนัย”

คำว่า “ปรนัย” หมายถึง วัตถุวิสัย : การสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้อง การคำตอบตายตัว ดังนั้น ในการสอบแบบปรนัย ผู้สอบมักจะต้องเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากตัวเลือกหลายๆ ตัวที่ให้ไว้ (คำว่า “ปรนัย” อ่านได้สองแบบคือ ปะระไน หรือ ปอระไน)

ส่วนคำว่า “อัตนัย” หมายถึง จิตวิสัย : ที่เปิดโอกาสให้แสดงความรู้หรือความคิดเห็นส่วนตัวได้, การสอบแบบที่ให้ผู้ตอบบรรยายแสดงความรู้ หรือแสดงความคิดเห็นของตนเอง .. ข้อสอบอัตนัยที่อยากต่อการลอกคำตอบ เพราะทุกคนอาจได้รับโจทย์เดียวกัน แต่คำตอบนั้นคือการประยุกต์ เอาความรู้ ประสบการณ์ พื้นฐาน / รูปแบบการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ปรัชญา ศาสนา หรือแม้กระทั่งสิ่งแวดล้อมและสังคม นั้นมาประมวลผล ให้ออกมาเป็นคำตอบของเรา

อัตนัยนิยม

เป็นหนึ่งในรูปแบบพื้นฐานของปรัชญา อุดมคติ อุดมการณ์ส่วนตัว ของแต่ละบุคคล

อัตนัยนิยม เป็นชนิดของความรู้สึกส่วนตัว จิต ประสบการณ์จิตใจ สติ ความคิด และเพื่อให้บางส่วนจะถูกมองว่าเป็นรากและเป็นรากฐานของทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลก และการดำรงอยู่ของและทุกสิ่งในโลกนี้มาจากส่วนตัวเหล่านี้จิต จะได้มาคือการประกาศของจิตวิญญาณเหล่านี้อยู่ในใจ เพลงหัวใจและราชวงศ์หมิงของจีนที่จะเรียนรู้ที่เรียกว่า “หัวใจที่มีความสมเหตุสมผล”, “หัวใจของฉันที่เป็นจักรวาล” “ไม่มีอะไรนอก”, “หัวใจไม่มีเหตุผล”…

(°ο°)~ ♡.

รสนิยมนั้นสำคัญไฉน? รสนิยม-เรื่องส่วนบุคคล เรื่องที่วัดกันไม่ได้

ค่านิยม – รสนิยม ในภาษาอังกฤษ

ที่มา ajarnadam.tv/values-preferences

คุณเป็นคน “ปรนัย” หรือ “อัตนัย”

ปรนัย เปรียบเสมือนรู้เฉพาะส่วน รู้เดี๋ยวนั้นเก่งเดี๋ยวนั้น แต่เดี๋ยวเดียว และจบตรงนั้นเลย ส่วน อัตนัย จำเป็นต้องรู้ทั้งหมด แยกส่วนไม่ได้ ต้องลงทุนเรียนรู้ ทำงานหนักให้เข้าใจและรู้วิธีค้นหาในชีวิต

โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา จาก  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านเนื้อหาทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook.com/thiravat.h

อ่านถึงตอนนี้… จากเรื่องรสนิยม มาถึงคำว่า ปรนัย – อัตนัย จนจะไปถึงเรื่อง ความแตกต่างระหว่างบุคคล และเรื่องอื่นๆ ที่น่าจะตามมาอีกยาวเฟื้อย ขอยกยอดไปที่บทความหน้าต่อๆ ไป

╮(╯_╰)╭

ps. ภาพหน้าปกบทความนี้ต้องการจะสื่อถึงว่า ภาพนี้สวยหรือไม่ในสายตาผู้อ่าน บางคนมองไม่สวย บางคนบอกว่าสวย และอาจจะมีบางคนที่บอกว่า สวยแบบน่ากลัวนิดๆ ..นี่คือความคิดของคนที่แตกต่างกัน

อ่านเพิ่มเติม www.nationejobs.com , www.gotoknow.org , ชีวิตแบบปรนัย , แนวการเขียนตอบข้อสอบอัตนัย , อัตนัยนิยม , สัญลักษณ์พิเศษ , ความแตกต่างระหว่างบุคคล2

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง