สาระจากละคร กาหลมหรทึก กับภาษาไทยในยุคสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม

สิ้นสุดการรอคอย สำหรับละครสืบสวนสอบสวนชวนติดตามเรื่อง “กาหลมหรทึก” (อ่านว่า กา-หน-มะ-หอ-ระ-ทึก) จากช่อง ONE (วัน) ที่เพิ่งออกอากาศตอนแรกก็ได้รับความนิยมและพูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล จนติดเทรนด์อันดับหนึ่งในโลกทวิตเตอร์

สาระจากละคร กับภาษาไทยในอดีต

ด้วยความที่ละครเป็นการย้อนยุคไปในสมัยของนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภาษาพูดของตัวละครนั้นมีความคล้ายคลึงกับในยุคปัจจุบัน แต่ในด้านของภาษาเขียน มีการใช้ตัวสะกดที่แตกต่างกับในปัจจุบัน เช่น พุทธสักราช พงส์ เป็นต้น จึงทำให้ผู้ชมละครหลายคนสงสัย ว่าทำไมจึงมีการสะกดที่แตกต่างกัน วันนี้แคมปัส-สตาร์ มีคำตอบมาให้ทุกท่านหายสงสัยกันแล้วค่ะ

ในยุคสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ.2485 กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้ามาในประเทศไทยและต้องการให้รัฐบาลไทยเปิดโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น อีกทั้งบังคับให้คนไทยเรียนภาษาญี่ปุ่นเช่นเดียวกับคนจีนในเกาะไต้หวัน (ช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน) ทำให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม เรียกประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต เพื่อปรึกษาหาแนวทางแก้ไขและแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยขึ้น

โดยได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้สระและตัวหนังสือไทย โดยให้ตัดพยัญชนะ ตัวสระที่มีเสียงซ้ำออก และให้ใช้เลขสากล (เลขอาราบิก) แทนเลขไทย เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารทั้วไป ซึ่งสามารถรวบรวมหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงหลักๆ ได้ดังนี้

1.ยกเลิกใช้ตัวอักษรที่มีเสียงซ้ำกันออก ได้แก่ ฃ ฃ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ และฬ และให้ใช้ตัวอักษรแทนดังนี้

2.ยกเลิกใช้สระ ใ ฤ ฤา ฦ ฦา และให้ใช้ตัวแทน ดังนี้

3.ยกเลิกใช้ -รร (ร หัน) ในแม่ กก กบ กด กม ให้ใช้ไม้หันอากาศแทน เช่น อุปสัค วัธนา กัมการ เป็นต้น

4.ยกเลิกใช้สระใอไม้ม้วน (ใ-) เปลี่ยนเป็นสระไอไม้มลายทั้งหมด (ไ-)

5.ยกเลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง เป็น จิง / ทรง เป็น ซง / ทราบ เป็น ซาบ / ทรุดโทรม เป็น ซุดโซม เป็นต้น

6.ตัวอักษร ญ ตัดเชิงออกกลายเป็น ณ

7.ตัว ย ที่มี อ นำ ให้เปลี่ยนเป็น ห นำ เช่น อยู่ อย่าง อย่า อยาก เป็น หยู่ หย่าง หย่า หยาก เป็นต้น

8.ให้ใช้เครื่องหมายวรรคเช่นเดียวกับภาษาต่างประเทศ เช่น ใช้มหัพภาค (.) เมื่อจบประโยค ใช้จุลภาค (,) เมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี ใช้อัฒภาค (;) เชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น

9.พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจากคำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เป็น อาด / สมควร เป็น สมควน / บรรจุ เป็น บันจุ / เจริญ เป็น จเริน / ทหาร เป็น ทหาน เป็นต้น

10. คำ “กระ” ให้เขียนเป็น “กะ” เช่น กระจ่าง เป็น กะจ่าง / กระทิ เป็น กะทิ  เป็นต้น

ภายหลังการพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2487 นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ประกาศยกเลิกการใช้กกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทำให้กลับไปใช้กฎเกณฑ์แบบเดิม และใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก th.wikipedia.orgm-culture.go.th, th.wikipedia.org/wiki, @BellNaRaK_V, @onehdthailand, เพจ กาหลมหรทึก

บทความแนะนำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง