5 เทรนด์วิถีชีวิตใหม่ของคนไทยหลังยุค Covid-19 ที่นักการตลาดต้องรู้

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาด แม้สถานการณ์จะค่อยๆ ผ่อนคลายลง แต่ก็ยังคงต้องตั้งการ์ดให้มั่นอย่าได้ตก และต้องศึกษาเทรนด์วิถีชีวิตใหม่ของคนไทยหลังยุค COVID-19 เพื่อให้ทำ Digital Marketing ได้ตรงใจ ยิงโฆษณาไปตรงจุด ซึ่งในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาดที่ผ่านมาได้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เลยก็ว่าได้

New Normal เทรนด์ใหม่ของคนไทย หลัง Covid-19

มีสถิติจากกระทรวงดิจิตอลตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิด-19 เผยออกมาว่า จากประชากรชาวไทย 66.4 ล้านคนมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 47.5 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 70% หากนับจาก 9 ปีที่ผ่านมาจะสังเกตเห็นเลยว่า มีการเติบโตสูงกว่า 150% เลยทีเดียว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้มีแนวโน้มว่า จะเป็นพฤติกรรมใหม่ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบเดิม แม้ว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วก็ตาม

1. การใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น

แม้จะดูเหมือนเป็นพฤติกรรมปกติ แต่เปอร์เซ็นต์กิจกรรมออนไลน์ยอดฮิตที่ครองแชมป์อย่างต่อเนื่องและสูงขึ้นเรื่อยๆ ยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้โซเชียลมีเดีย เนื่องจากช่วงกักตัวทำให้รู้สึกเหงามากยิ่งขึ้น ทำให้คนเลือกใช้โซเชียลมีเดียในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ มีหลายแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงกักตัวแบบก้าวกระโดด เช่น TikTok, Minds ฯลฯ เพิ่มแหล่งทำ Digital Marketing ที่น่าสนใจได้หลากหลายยิ่งขึ้น

2. การซื้อขายผ่านทางออนไลน์มากขึ้น

เนื่องด้วยคนส่วนใหญ่อยู่ภายในบ้านมากขึ้น และหลังจากที่มีมาตรการปิดศูนย์การค้าเป็นเวลานานทำให้ตลาดออนไลน์กว้างขึ้น คนส่วนใหญ่นิยมซื้อของออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากหาของได้ง่าย มีของให้เลือกหลากหลาย สะดวกสบาย และทั้งค่าของ+ค่าส่งมีราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับการเลือกซื้อสินค้าบนห้างสรรพสินค้า และต้องเสียเวลาไปเดินเลือกซื้อ โดยช่องทางที่ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกใช้มักจะเป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับซื้อขายมากก ว่า เช่น Shopee, Lazada ฯลฯ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์กว่า 60-70% และใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการทำ Digital Marketing รวมไปถึงการทำโฆษณาให้เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เว็บติดอันดับด้วย SEO หรือการโปรโมทแบบจ่ายเงินที่เรียกว่า Google Ads ก็กำลังจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในโลกธุรกิจ

3. การให้ความสำคัญของสุขภาพมากขึ้น

ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มหันมาใส่ใจเกี่ยวกับการเลือกทานอาหารมากยิ่งขึ้น และเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ภายในที่พักมากขึ้น เนื่องจากตัดเวลาที่ต้องใช้เดินทางไปทำงานหรือทำกิจกรรมอื่นๆ นอกที่พัก ทำให้มีเวลาที่จะใส่ใจเรื่องสุขภาพของตัวเองเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่า แพลตฟอร์มที่เกี่ยวกับสุขภาพจะเข้ามามีบทบาทและทำออนไลน์มาร์เก็ตติ้งกับชีวิตของผู้คนในปัจจุบันและอนาคตมากขึ้น

4. การปรับเปลี่ยนจากทำงานที่ออฟฟิศมาทำงานที่บ้าน

องค์กรต่างๆ มีแนวโน้มที่จะวางแผนทำงานที่บ้านในบางหน่วยที่สามารถทำที่บ้านได้บ้าง เช่น งานเกี่ยวกับเอกสาร หรืองานการตลาด ฯลฯ หลังจากที่ผ่านมาช่วงที่ต้องปิดออฟฟิศชั่วคราว แล้วต้องเปลี่ยนมาเป็น Work From Home เพื่อลดการใช้ทรัพยากร และเน้นที่ผลของงานที่ได้มากกว่าเวลาเข้าทำงาน นอกจากนี้สายอาชีพที่น่าจับตามองส่วนใหญ่ยังคงมุ่งไปที่กลุ่มงานที่สามารถทำได้ อย่างอิสระ เช่น ฟรีแลนซ์, การหารายได้ด้วยการทำ Digital Marketing ผ่าน Adsense/Affiliate ฯลฯ

5. ข้อมูลส่วนตัวกับความปลอดภัยด้านสุขภาพ

ผู้คนส่วนใหญ่เลือกให้ข้อมูลส่วนตัว และความเป็นส่วนตัวของตัวเองเพื่อแลกกับความปลอดภัยด้านสุขภาพ เช่น การใช้แอปพลิเคชั่นไทยชนะ ฯลฯ แต่ถึงอย่างนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้คนมีการเลือกตั้งคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยมากขึ้นว่า ความเป็นส่วนตัวที่ต้องเสียไปคุ้มกับความปลอดภัยด้านสุขภาพหรือไม่

เมี่อวิถีชีวิตใหม่ของคนไทยหลังยุค COVID-19 เปลี่ยนไป หากคิดที่จะทำ Digital Marketing ก็อย่าลืมที่จะศึกษาถึง 5 เทรนด์วิถีชีวิตดังกล่าว ไม่ว่าจะเรื่องของการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น , การซื้อขายผ่านทางออนไลน์ที่มีมากขึ้น, การดูแลสุขภาพที่มากขึ้นและการเลือกวิธีดูแลตัวเอง, การปรับเปลี่ยนจากทำงานที่ออฟฟิศมาทำงานที่บ้าน และข้อมูลส่วนตัวกับความปลอดภัยด้านสุขภาพ

ขอบคุณ ETDA เผย ปี 62 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาที , noria.co.th/th/seo-services , ภาพจาก pixabay.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง