หลังจากที่ผู้คนในโลกออนไลน์ต่างทวีตข้อความพร้อมติด #รัฐประหาร ในช่วงตั้งแต่คืนวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา จนถึงในช่วงเช้าของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 นั้น ก็ทำให้แฮชแท็ก #รัฐประหาร ติด 1 ใน 5 อันดับเทรนด์ทวิตเตอร์ของไทยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทำไม? #รัฐประหาร พุ่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์ไทย
และล่าสุด!! เมื่อเวลา 10.00 น. แฮชแท็ก #รัฐประหาร ก็พุ่งขึ้นสูงอยู่ในอันดับที่ 2 ของเทรนด์ทวิตเตอร์ไทย สำหรับแฮชแท็กนี้เริ่มเป็นที่พูดถึงกัน หลังจากที่มีการแชร์ภาพรถถังวิ่งอยู่บนท้องถนน ทำให้ประชาชนที่ได้พบเห็นเกิดอาการตกใจและสงสัยว่าจะเกิดการรัฐประหารขึ้นหรือเปล่า…
ซึ่งในเวลาต่อมา พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชากรกอลทัพลทหารบกที่ 2 รักษาพระองค์ ออกมาชี้แจงว่า ภาพและคลิปดังกล่าว เป็นยานพาหนะของพล ร.2 รอ. ส่วนหนึ่งที่กำลังเดินทางเคลื่อนย้ายหน่วยเพื่อเข้าร่วมการฝึกหน่วยทหารรักษาพระองค์ ประจำปี 2562 ที่ จังหวัดลพบุรี เท่านั้น
ถึงแม้ว่าจะมีคำชี้แจงออกมาแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะคลายความกังวลของประชาชนหรือผู้คนที่สงสัยว่า จะมีการเตรียมการทำรัฐประหารเกิดขึ้นหรือไม่
ทั้งนี้ ในโลกออนไลน์ต่างก็มีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดในแฮชแท็ก #รัฐประหาร กันอย่างมากมาย ซึ่งก็มีทั้งคนที่เชื่อว่าอาจจะเกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในประเทศไทย แต่ก็มีผู้คนบางส่วนไม่เชื่อว่าจะเกิดรัฐประหารขึ้น เพราะก็มีข่าวเรื่องนี้ออกมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถึงในขณะนี้ก็ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัดเกี่ยวกับข่าวรัฐประหารแต่อย่างใดออกมา…
การฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ครั้งที่ 3
โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นี้ จะมีการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ครั้งที่ 38 ประจำปี 2562 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย อีกด้วย เช่น ท่าเรือจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี, ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์ฝึกบรรเทาสาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และสนามฝึกกองทัพภาคที่ 3 อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เป็นต้น
โดยจะมีประเทศต่าง ๆ รวม 29 ประเทศเข้าร่วมการฝึกและเข้าร่วมสังเกตการณ์ และมีกำลังพลจากสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมฝึกทั้งบนบกและบนผิวน้ำประมาณ 4,500 นาย การฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกซ้อมทางทหารเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่งคงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และเป็นส่วนสำคัญของพันธกิจของสหรัฐอเมริกาในการเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาค
จัดขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศที่ร่วมการฝึกในด้านการวางแผนและดำเนินงานปฏิบัติการร่วม/ผสม สร้างสัมพันธภาพกับประเทศที่ร่วมการฝึกทั่วภูมิภาค และเพิ่มพูนความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันผ่านหลากหลายกิจกรรม ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเล การป้องกันและบรรเทาสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ และการตอบสนองต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่
ซึ่งการฝึกในครั้งนี้ยังประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ได้แก่ การฝึกฝ่ายเสนาธิการ โครงการช่วยเหลือประชาชน และการฝึกภาคสนามที่ประกอบด้วยกิจกรรมฝึกซ้อมหลากหลายรูปแบบ เพื่อยกระดับความสามารถในการทำงานร่วมกันและเสริมสร้างสัมพันธภาพระดับภูมิภาค
รัฐประหาร ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย
1. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
2. วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
3. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
4. วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
5. วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
6. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
7. วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
8. วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
9. วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
10. วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
11. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
12. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
13. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีหลังยิ่งลักษณ์ ชินวัตรถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง)
ทั้งนี้ บางตำราระบุว่า การปิดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และมิได้แยกเหตุการณ์วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 เป็นรัฐประหารอีกครั้ง
อ้างอิงข้อมูลจาก : www.matichon.co.th, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, th.usembassy.gov