17 ความจริง เกี่ยวกับรถโดยสารของไทย การขนส่งในเมืองไทย – คำย่อ ความหมายจริงๆ

หากใครเคยใช้บริการรถโดยสารเป็นประจำ อ่านกระทู้นี้แล้วจะต้องเข้าใจอย่างแน่นอน มาร่วมกันแชร์ประสบการณ์ที่เคยเจอระหว่างใช้บริการรถโดยสารไทยกันครับ คุณเคยเจอกันเหมือน 17 ข้อต่อไปนี้บ้างมั้ย?

17 ความจริง เกี่ยวกับรถโดยสารของไทย

1. รถเมล์ – ก. รถประจำทาง พาหนะสำหรับผู้รักการผจญภัย หรือ พาหนะที่มัจะไม่มาเมื่อคุณรอ และวิ่งให้ว่อนเมื่อไม่ต้องการ

2. พขร. – พนักงานแข่งรถ

3. พกส. – พนักงานเก็บเงินผู้ที่ใหญ่ที่สุด มีอำนาจสั่งการให้ผู้โดยสารไปไหนก็ได้และเป็นคนเดียวที่คุยกับพขร.รู้เรื่อง

4. ผู้โดยสาร – บุคคลผู้เจียมเนื้อเจียมตัว

5. นายตรวจ – คนเดียวที่ พกส. กลัว

6. ค่าโดยสาร – จำนวนเงินที่ต้องจ่าย กรุณาจ่ายเป็นเศษสตางค์ ไม่รับเหรียญสลึงและแบงค์ที่ใหญ่กว่าแบงค์100   ฝ่าฝืนอาจถูกสรรเสิญจาก พกส. และอาจลามปามไปถึงบุพการีที่นอนอยู่ที่บ้านได้

7. ป้าย – ไป ( สังเกตจาก พกส. ดพราะจะพูดเมื่อถึงป้ายทุกครั้ง )

8.ที่นั่งสำหรับ ภิกษุ สามเณร – ที่นั่งสำหรับป้า:-) หรือตาบอดสีโดยเฉพาะสีเหลือง

9.ที่นั่งสำหรับคนพิการ – ดูที่ข้อ 8. คล้ายกัน

10. เด็ก สตรี และคนชรา – ประชาชนส่วนใหญ่ที่ประชาชนส่วนน้อยต้องเอื้อเฟื้อ จึงมักจะ (ดูที่ข้อ 11)

11. แกล้งหลับ – วิธีหลีกเลี่ยงจากข้อ 10

12. คนดีมีน้ำใจ – คนประหลาดในสายตาของคนข้อ 11

13. กริ่ง – กด สองทีฟรี  2 ป้าย

14. รถไฟฟ้า – เครื่องช่วยหายใจของคนกรุงเทพ สามารถไปได้ทุกที่ยกเว้นบ้านคุณ

15. เรือด่วน – เครื่องช่วยหายใจอีกอย่างนึง เหมาะสมหรับคนว่ายน้ำเป็นและน้ำหนักตัวน้อย

16. แท็กซี่ พาหนะที่จะช่วยพาคุณอ้อมไปจากเส้นทางจริง

17. สามล้อ – พาหนะสำหรับผู้มีสุขภาพปอดดี เคลื่อนที่ทุกๆที่มีที่กว้าง 2 นิ้ว

ขอบคุณรูปภาพจาก: Xeon Ludivius

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง