5 สินค้า สิ่งประดิษฐ์ที่ได้มาด้วยความบังเอิญ – ไม่ได้ตั้งใจจริง ๆ !

หลายครั้งที่ ‘ความบังเอิญ’ ก่อให้เกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ วันนี้แคมปัส-สตาร์จะพาทุกคนไปดู 5 สินค้าที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด ได้มาด้วยความบังเอิญล้วน ๆ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยดีกว่า

5 สินค้า สิ่งประดิษฐ์ที่ได้มาด้วยความบังเอิญ

https://www.post-it.com/3M/en_US/post-it/contact-us/about-us/

กระดาษโพสท์อิท – Post-it note (1968 และ1974)

สเปนเซอร์ ซิลเวอร์ (Spencer Silver) หนึ่งในทีมนักวิจัยของบริษัท 3M ได้รับมอบหมายให้พัฒนากาวที่ติดได้แน่น ทนทาน ถาวร แต่ผลที่ออกมานั้นกลับล้มเหลวเพราะเขาได้กาวที่ไม่เหนียว ติดง่าย และลอกได้ไม่ทิ้งร่องรอย

จนต่อมาในปี ค.ศ. 1974 นายอาร์เธอร์ ฟราย (Arthur Fry) นักวิจัยอีกคนก็นำกาวนี้มาใช้ติดกระดาษไว้คั่นคัมภีร์ไบเบิล บริษัท 3M จึงนำไปพัฒนาออกมาเป็นกระดาษโน้ตสีเหลือง ที่มีแถบกาวแบบลอกได้ออกมาวางขาย โดยให้ชื่อว่า “โพสต์อิทโน้ต” (Post-it Notes)

https://www.loc.gov/item/today-in-history/july-23/

โคนไอศครีม (1904)

ปลายศตวรรษที่ 19 ช่วงที่ไอศครีมมีราคาถูกลงจนคนทั่วไปสามารถซื้อกินได้ ทุกร้านจะใช้กระดาษ และแก้ว เป็นภาชนะสำหรับใส่ไอศครีม ในปี 1904 ที่งานแฟร์ระดับโลกที่มีร้านไอศครีมกว่า 50 ร้านมาร่วมออกงาน เรื่องมีอยู่ว่าร้านไอศครีมของอาโนลด์ ฟอร์นาโช (Arnold Fornachou) ขายดีจนถ้วยกระดาษหมด พ่อค้าร้านขายวาฟเฟิลข้าง ๆ ชาวซีเรีย ก็ได้ช่วยเขาโดยการเอาวาฟเฟิลที่ร้านมาม้วนให้เป็นกรวยเพื่อใส่ไอศครีมขาย และโคนไอศครีมก็ได้รับความนิยมตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

https://www.tapatalk.com/groups/fdsauk/microwave-ovens-t1163.html

เตาอบไมโครเวฟ (1946)

ขณะที่ทำการทดลองการใช้คลื่นรังสีไมโครเวฟในระบบเรดาร์ เพอร์ซี สเปนเซอร์ (Percy Spencer) วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านเรดาร์ ที่ทำงานอยู่ที่บริษัทเรธีออน (Raytheon) ได้สังเกตเห็นช็อกโกแลตในกระเป๋าเสื้อของเขาเริ่มละลาย เขาและเพื่อน ๆ จึงทำการทดลองอุ่นอาหารชนิดอื่น ๆ โดยอย่างแรกคือ ข้าวโพดคั่ว และต่อมาเป็นไข่ ซึ่งเกิดการระเบิดในขณะที่ทำการทดลอง ภายหลังบริษัทเรธีออนก็ได้ทำการจดสิทธิบัตรและผลิตเตาอบไมโครเวฟเครื่องแรกออกมาวางขายในปี 1947

https://edition.cnn.com/2016/01/18/health/gallery/artificial-sweeteners/index.html

ขัณฑสกร – สารให้ความหวาน (1887)

คืนหนึ่งเมื่อปี 1887 นักเคมีชาวรัสเซีย คอนสแตนติน ฟาวเบิร์ก (Constantin Fahlberg) ได้ทำการทดลองอยู่ที่ห้องแลป และเมื่อเสร็จเขาก็ รีบกลับบ้านไปกินข้าวมื้อเย็น จนลืมล้างมือ เมื่อไปถึงบ้านเขาหยิบขนมปังขึ้นมา แต่เมื่อกัดเข้าไปแล้วพบว่าขนมปังก้อนนั้นกลับมีรสหวาน ทั้งที่มันไม่ควรจะหวาน เขานั่งทบทวนด้วยความสงสัย และด้วยความตื่นเต้น ฟาลเบิร์กรีบกลับไปที่ห้องแลปและลองชิมสารทุกชนิดที่อยู่ในบีกเกอร์และจานทดลอง และสุดท้ายเขาก็เจอว่ามันคือขัณฑสกรนั่นเอง

ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าถ้าวันนั้นฟาล์ลเบิร์กล้างมือก่อนที่จะกลับบ้าน โลกของเราอาจจะไม่มีสารให้ความหวานที่ไม่ใช่น้ำตาลแบบนี้ก็เป็นได้…

โคค่าโคล่า – โค้ก (1886)

จอห์น เพมเบอร์ตัน เภสัชกร ชาวจอร์เจีย ได้ทำการปรุงยาหอมที่ทำจากไวน์และสารสกัดจากต้นโคคาเพื่อรักษาอาการปวดหัวและอาการเมาค้าง ต่อมาในปี 1885 เมืองแอตแลนตา ประเทศจอร์เจีย ก็ได้มีการสั่งห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เพมเบอร์ตัน (Pemberton) ไม่สามารถใช้ไวน์ในการปรุงยาอีกต่อไป เขาจึงต้องผลิตน้ำหวานจากต้นโคคา 100% แล้วนำมาทำให้เจือจางด้วยน้ำ

อยู่มาวันหนึ่งพนักงานของเขาก็เกิดก็ซุ่มซ่ามกดน้ำโซดาลงไปผสมกับน้ำหวานโคคาแทนที่จะเป็นน้ำเปล่า แต่หลายคนเชื่อว่า นั่นเป็นความตั้งใจของเพมเบอร์ตัน ที่ต้องการจะทดลองเปลี่ยนรสชาติของน้ำหวานโคคาจนได้เป็นเครื่องดื่มที่มี ‘รสชาติเยี่ยม’ แต่ถึงอย่างไรน้ำหวานโคคาผสมโซดาในครั้งนั้นก็ได้ครองใจผู้คนมาอย่างยาวนานจนถึงทุกวันนี้

ขอบคุณที่มาจาก: historyextra

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง