ศาสตราจารย์ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
สลาตันของพ่อ .. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
พระนามเต็ม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
พระอิสริยยศ
– สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ (2 เมษายน พ.ศ. 2498 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520)
– สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 – ปัจจุบัน)
– ฐานันดรศักดิ์ : เจ้าฟ้าชั้นเอก
พระองค์ทรงสนพระทัยงานด้านการพัฒนา ซึ่งถือเป็นงานหลัก ที่พระองค์ทรงงานควบคู่กับงานวิชาการ พระองค์ทรงเรียนรู้งานทางด้านพัฒนาจากการตามเสด็จพระราชดำเนิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมประชาชนในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ ทั่วประเทศ
พระเทพทรงรัดหนังยางที่ขากางเกงของในหลวง ร.9 กันตัวทาก ตอนที่พระองค์เสด็จทรงงานที่นราธิวาส เส้นทางเป็นป่ารกทึบ บางช่วงต้องลงน้ำ มีทากดูดเลือดเป็นจำนวนมาก
จากการที่พระองค์ทรงได้เสด็จฯ ไปตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย พระองค์ทรงนำความรู้ที่ได้จากการลงพื้นที่จริงมาใช้ในงานด้านการพัฒนาสังคม นำไปสู่โครงการตามพระราชดำริส่วนพระองค์มากมาย
โดยโครงการตามพระราชดำริในระยะเริ่มแรกนั้น พระองค์ทรงงานเกี่ยวกับเด็กนักเรียนในพื้นที่ทุรกันดาร ที่มีปัญหาขาดสารอาหาร ดังนั้น จึงทรงพระราชดำริส่งเสริมให้นักเรียนปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แล้วนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันรับประทาน โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันนี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2523 โดยเริ่มที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ และได้ขยายออกไปยัง 44 จังหวัดในพื้นที่ทุรกันดาร โครงการในพระราชดำริ
ในระยะต่อมา พระองค์ทรงมุ่งเน้นทางด้านการศึกษามากขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงพระราชดำริว่า การศึกษาเป็นปัจจัยหลักในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ตลอดจนความประพฤติและคุณงามความดีของบุคคล โดยพระองค์ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับจากรัฐ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเทพฯ องค์หญิงที่ทรง ‘อ่อนน้อมถ่อมตน’ ที่สุดในโลก
เรื่องราวต่อไปนี้เป็นความประทับใจของอาจารย์ ดร. ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ที่ได้เขียนเล่าไว้เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นนิสิตอยู่ที่จุฬาฯ : lifestyle.campus-star.com/scoop/40146.html
พระเทพฯ เมื่อครั้งทรงศีกษาในมหาลัยไทย
เรื่องเล่าประทับใจ : สมเด็จพระเทพฯ เมื่อครั้งเป็นนิสิต > campus.campus-star.com/star/10632.html
ทรงรับพระราชทานปริญญาบัตร
วันที่ 15 กรกฎาคม 2520 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงรับพระราชทานปริญญาบัตร และนำบัณฑิตปฏิญาณตนต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันนั้นท่านยังทรงถามสมเด็จพระเทพฯ ว่า.. “พ่อแม่เขาต้องถ่ายรูปวันที่สำเร็จการศึกษาใช่ไหม เค้าไปถ่ายที่ไหน พาเราไปสิ” … ดูบทความนี้ campus.campus-star.com/variety/21620.html
ภาพจาก www.finearts.go.th
บทความแนะนำ
- 48 เรื่องที่อยากให้อ่าน .. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ | ทูลกระหม่อมน้อย
- ความประทับใจจากอาจารย์ ผู้เคยถวายการสอน สมเด็จพระเทพฯ สมัยเป็นนิสิต
- น้องน้อยของพี่ชาย พระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10
- เรื่องเล่าประทับใจ : สมเด็จพระเทพฯ เมื่อครั้งเป็นนิสิต
- พ่อเเม่เค้าต้องถ่ายรูป วันที่ลูกสำเร็จการศึกษาใช่ไหม เค้าไปถ่ายที่ไหนกัน พาเราไปสิ
- การมัวแต่ร้องไห้นั้นไม่มีประโยชน์ : สมเด็จพระเทพฯ ทรงตรัสสอนนักเรียนนายร้อย