อยากฟันสวย เตรียมตัวให้พร้อม 5 ปัญหาสำคัญ ที่คนจัดฟันอาจต้องเจอ

แน่นอนใครๆ ก็อยากจะมีฟันสวย แข็งแรง สุขภาพดี เพราะฟันที่เรียงตัวสวยนอกจากจะส่งผลต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจ ยังมีส่วนช่วยให้โครงหน้ามีความบาลานซ์ขึ้นด้วย ไม่ว่าจะยิ้ม หรือจะพูดคุยก็ดูดีมีเสน่ห์ หลายๆ คนจึงเลือกที่จะ ‘จัดฟัน’ หรือ ‘ดัดฟัน’ ซึ่งเป็นการรักษาฟันที่อยู่ในประเภทของทันตกรรมเพื่อความงาม (Cosmetic Dentsity) นั่นเอง แต่การจัดฟันเพื่อให้ได้ฟันที่สวยงามก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยระยะเวลาและกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ว่าจะตรวจโครงสร้างฟัน วางแผนการรักษา การติดอุปกรณ์เครื่องมือ ไปจนถึงการถอดอุปกรณ์เครื่องมือ แถมระหว่างที่จัดฟันอยู่ ยังต้องเจอปัญหาและผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้มากมาย

5 ปัญหาสำคัญ ที่คนจัดฟันอาจต้องเจอ

สำหรับใครที่กำลังวางแพลนที่จะจัดฟันในอนาคต หรือกำลังจัดฟันอยู่แล้วรู้สึกว่ามีอาการแปลกๆ เกี่ยวกับฟันและภายในช่องปาก ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปสำรวจปัญหาและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังจากจัดฟัน สาเหตุของปัญหาคืออะไร พร้อมวิธีรักษาและแก้อาการเบื้องต้น จะได้เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อฟันที่สวยและสุขภาพดี ไปดูกันเลย!

1. ปัญหาพูดไม่ชัด

ปัญหาเบสิกเริ่มต้น ที่หลายๆ คนที่จัดฟันมักจะเจอ โดยเฉพาะคนที่จัดฟันแบบติดเครื่องมือ อย่างลวดดัด เหล็กดัด หรือยางไว้ที่บริเวณผิวหน้าฟัน โดยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้อาจไปขัดขวางการเคลื่อนไหวบริเวณริมฝีปาก ทำให้ขยับยากกว่าปกติ เปิดปากกว้างได้ไม่เต็มที่ รวมถึงในกรณีที่มีการใส่เครื่องมือพิเศษติดกับเพดานก็จะทำให้การเคลื่อนไหวบริเวณลิ้นมีการติดขัดไปด้วย ซึ่งส่งผลต่อการพูดและการออกเสียงโดยตรง ทำให้เราพูดได้ไม่ชัด และออกเสียงได้ไม่เต็มคำนั่นเอง แต่ปัญหานี้จะค่อยๆ หายไป หากเรามีการฝึกพูดบ่อยๆ พยายามอ้าปากกว้างๆ เปล่งเสียงให้ชัดในขณะที่จัดฟันอยู่ ริมฝีปากและลิ้นจะสามารถปรับตัวได้ และกลับมาพูดได้อย่างชัดเจนขึ้นนั่นเอง

2. ปัญหาปวดกรามและปวดฟัน

หลังจากการติดหรือปรับเครื่องมือจัดฟันในช่วงแรกๆ หลายคนอาจมีอาการปวดกรามและปวดฟันแปลบๆ ซึ่งมีสาเหตุมากจากการที่หลอดเลือดถูกกดจากแรงของเครื่องมือที่ใช้จัดฟัน เพื่อดันฟันให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ทันตแพทย์วางแผนการรักษาเอาไว้ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของระบบชีวภาพที่ทำให้ฟันเคลื่อนที่ไปได้นั่นเอง โดยทั่วไปแล้วอาการปวดกรามและปวดฟันจะค่อยๆ บรรเทาลงใน 3-7 วันหลังทำการจัดฟัน แต่หากรู้สึกว่าปวดมากๆ สามารถแก้ไขและรักษาอาการเบื้องต้นได้ตามนี้เลย

การรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการแก้ปวด แต่ต้องเช็กให้ดีว่ามีอาการแพ้ยาหรือไม่

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ต้องใช้กรามหนัก หรือเน้นการเคี้ยว เช่น อาหารแข็ง อาหารที่เหนียว เพราะอาจไปกระตุ้นให้เครื่องมือจัดฟันกระทบกระทั่งกับฟัน แถมยังเสี่ยงเครื่องมือที่อยู่ในช่องปากหลุดอีกด้วย

3. ปัญหาแผลร้อนใน

รู้หรือไม่ เครื่องมือที่ใช้ดัดฟันยังทำให้เกิดแผลร้อนในหรือการเป็นแผลในปากด้วยได้ เพราะบ่อยครั้งเครื่องมือต่างๆ มักจะข่วนกระพุ้งแก้มและเหงือกในขณะที่เราเคี้ยวอาหาร หรือพูด จนทำให้เกิดอาการเจ็บและระคายเคือง และเกิดเป็นแผลร้อนในภายในปาก ซึ่งส่งผลต่อการทานอาหาร การพูด และการใช้งานของช่องปากอย่าง วิธีป้องกันและรักษาแผลร้อนในที่เกิดจากการจัดฟัน ให้เรานำ ‘ขี้ผึ้งกันเจ็บ’ ที่ได้รับจากทันตแพทย์มาปั้นเป็นก้อนแล้วแปะทับบริเวณเครื่องมือที่แหลมคมเพื่อไม่ให้ข่วนเข้ากับปากของเรา โดยก่อนจะแปะให้เช็ดเครื่องมือบริเวณนั้นๆ ให้แห้งและสะอาดที่สุดด้วยทิชชูหรือสำลีสะอาด ส่วนการบรรเทาแผลร้อนใน ควรทาด้วยยาประเภท Triamcinolone Acetonide ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อาการของแผลร้อนในที่เกิดจากเครื่องมือจัดฟันจะลดลงในเดือนที่ 2 หรือ 3 หลังจากที่ปรับตัวเข้ากับเครื่องมือจัดฟันได้แล้ว

4. ปัญหาเหงือกร่น

อีกหนึ่งในปัญหาที่น่ากังวล คือหลังจากที่ติดเครื่องมือจัดฟันแล้ว หลายคนมีอาการฟันดูยาวมากกว่าปกติ เหงือกดูสั้นลง และมีร่องฟันปรากฏเห็นชัด แทนที่จะมีฟันเข้าที่ที่เรียงตัวสวยงาม นั่นอาจเพราะเกิดปัญหาเหงือกร่นระหว่างจัดฟันนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมากจากการใส่อุปกรณ์จัดฟันประเภทโลหะนานเกินไป หรือการแปรงฟันโดยใช้แปรงที่มีขนแข็ง ทำให้สภาพของเหงือกแย่ลง ร่นลงไปกว่าปกติ มาดูวิธีแก้ปัญหาและรักษาอาการเหงือกร่นสำหรับคนจัดฟันกัน

– เข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำ

สำหรับคนจัดฟันการเข้าพบทันตแพทย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุกเดือน ทุก 2 สัปดาห์ เพื่อให้ทันตแพทย์คอยเช็กอาการและสุขภาพช่องปากของเราว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ และหากอุปกรณ์จัดฟันทำให้รู้สึกแน่นมากเกินไป ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเพื่อทำการปรับให้พอดีกับลักษณะของฟันของเรานั่นเอง

– เลือกใช้แปรงสีฟันขนนุ่มสำหรับคนจัดฟันโดยเฉพาะ พร้อมแปรงฟันให้ถูกวิธี

เนื่องจากเราอยู่ในกระบวนการจัดฟันที่ต้องติดอุปกรณ์ไว้กับฟัน ฟันของเราจึงมีความบอบบางมากกว่าปกติ และเสียดสีได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม อ่อนโยนต่อฟันและเหงือก ยิ่งหากเป็นแปรงสีฟันที่ผลิตมาสำหรับคนจัดฟันโดยเฉพาะก็จะยิ่งเป็นผลดี นอกจากนี้ควรแปรงฟันให้ถูกวิธีด้วย เช่น การวางขนแปรงให้ทำมุม 45 องศากับขอบเหงือก หลังจากนั้นให้ออกแรงกดขนแปรงเข้ากับเหงือกและร่องฟันแต่ละซี่อย่างเบาๆ วนเป็นวงกลมสั้นๆ ไปทีละซี่จนกว่าจะครบทั้งด้านในและด้านนอก เป็นต้น

5. ปัญหาปากอูม

หลายๆ คนจัดฟันก็เพราะคาดหวังให้ได้รูปฟันที่สวย ใบหน้าคมชัดบาลานซ์เท่ากันมากขึ้น แต่ทราบหรือไม่ว่าการจัดฟันอาจมีผลกระทบที่ทำให้รูปปากและรูปหน้าของเราเปลี่ยนไปถาวรได้ แถมบางปัญหาที่ต้องเจอขณะจัดฟันยังอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจ อย่างเช่นปัญหาปากอูม เพราะเครื่องมือที่เราติดตั้งไว้ในช่องปากและฟันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เนื้อปากของเราดูอวบหนาและมีความอูมมากขึ้น แม้หลังจากการถอดเครื่องมือจัดฟันไปแล้วจะทำให้ความหนาและความอูมของริมฝีปากลดลง แต่รูปทรงปากก็อาจเปลี่ยนไปถาวร ไม่ว่าจะเป็นปากบนหรือปากล่าง ทำให้ปากดูอูมและยื่นออกมามากกว่าปกติ ซึ่งผลต่อรูปลักษณ์โดยรวมใบหน้า ทำให้ใบหน้าดูบึ้งตึงตลอดเวลา ดูมีอายุมากกว่าวัย แถมยังส่งผลต่อระบบการบดเคี้ยวภายในช่องปากอีก สำหรับวิธีแก้ปัญหาปากอูมมี 3 วิธีหลักๆ ดังนี้

– การแก้ปัญหาปากอูมด้วยการผ่าตัดศัลยกรรมปาก

วิธีแรกคือการผ่าตัดศัลยกรรมริมฝีปาก จะเป็นการผ่าตัดตกแต่งให้เราได้ริมฝีปากที่ได้สัดส่วนสวยงาม ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด เป็นการแก้ปัญหาปากอูมที่คงทนถาวร โดยเนื้อริมฝีปากหลังผ่าตัดไปจะไม่กลับคืนรูปเดิม มีอาการเจ็บที่ค่อนข้างน้อย แถมใช้เวลาพักฟืนไม่นานด้วย โดยทรงปากที่หลายๆ คนมักจะเลือกทำกันก็มีหลายอย่าง เช่น ทำริมฝีปากทรงกระจับ หากทำปากบาง การฉีดฟิลเลอร์ได้ให้รูปทรงปากอวบอิ่มเท่ากัน เป็นต้น

– การแก้ปัญหาปากอูมด้วยการจัดฟันใหม่อีกครั้ง

แม้ปัญหาปากอูมจะเกิดขึ้นจากการจัดฟัน แต่การจัดฟันก็สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องวางแผนการรักษาให้ตรงจุด โดยทันตแพทย์จะเป็นคนวินิจฉัยว่าปัญหาปากอูมของแต่ละคนเป็นอย่างไร มีอาการมากหรือน้อยแค่ไหน สามารถแก้ไขได้วยวิธีไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดฟันแบบธรรมดา การจัดฟันแบบดามอน หรือการจัดฟันแบบใส เพื่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ลดความหนาและอูมของริมฝีปาก ไม่ทำให้ใบหน้ายื่นไปมากกว่าเดิมนั่นเอง

– การแก้ปัญหาปากอูมด้วยการผ่าตัดโครงกระดูกขากรรไกร

เป็นวิธีการแก้ปัญหาปากอูมด้วยการจัดเรียงตำแหน่งของขากรรไกรและฟันให้สบกันอย่างเหมาะสม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยป้องกันและลดการเกิดปากอูมที่ผิดปกติได้ โดยการผ่าตัดโครงกระดูกขากรรไกรนั้นจะมีบาดแผลขนาดเล็กถึงเล็กมาก ซึ่งทางแพทย์จะใช้การตัดและเลื่อนกระดูกขากรรไกรไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมก่อนจะใช้สกรูเพื่อยึดเอาไว้นั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างกับปัญหาและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังจากจัดฟันที่เรานำมาฝากทุกคน บอกได้เลยว่า กว่าจะมีฟันที่สวยสุขภาพดี ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แถมปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถหายไปเองได้อีก อย่างปัญหาปากอูม ใบหน้ายื่นออกมามากกว่าปกติที่เกิดจากการติดตั้งเครื่องมือจัดฟันไว้ในปากเป็นเวลานาน ซึ่งหากไม่อยากมีใบหน้าที่ดูดุ ดูมีอายุกว่าวัย และสูญเสียความมั่นใจไปล่ะก็ เราแนะนำให้รีบวางแผนแก้ปัญหาปากอูมด่วน

และอย่าลืมดูด้วยว่าปัญหาที่เป็นอยู่เหมาะกับการรักษาแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดศัลยกรรมปาก การจัดฟันซ้ำ หรือการผ่าตัดโครงกระดุกขากรรไกร ซึ่งผลลัพธ์และระยะเวลาของแต่ละวิธีก็ย่อมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลนั่นเอง สำหรับสายจัดฟัน หรือใครที่ต้องการแก้ปัญหาปากอูม ที่ Better Me Clinic by Dr.Chanya คลินิกศัลยกรรมเสริมความงาม มีแพทย์ที่มีความถนัดและมีประสบการณ์ด้านการทำปากกระจับโดยเฉพาะ เราพร้อมวางแผนช่วยปรับแก้ไขปัญหาริมฝีปากอูม เพื่อให้คุณได้กลับมามีริมฝีปากที่สวยตรงใจอีกครั้ง สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line @Chanyaclinic หรือโทร 02-059-8118, 088-603-2641

ข่าวที่เกี่ยวข้อง