เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ เครื่องสำรองไฟ UPS (Uninterruptible Power Supply)

เราอาจได้ยินคำว่า UPS หรือเครื่องสำรองไฟอยู่บ่อย ๆ ว่า เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยดูแลและป้องกันอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์) จากเหตุการณ์ไฟตก ไฟกระชาก หรือกระแสไฟฟ้าขัดข้อง โดยเครื่องสำรองไฟจะมีแบตเตอรี่สำรอง เพื่อช่วยให้สามารถทำงานได้ต่อไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ให้เราได้จัดการกับงาน หรือจัดการปิดระบบให้เรียบร้อยก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์นั่นเอง UPS ย่อมาจากคำว่า Uninterruptible Power Supply ที่หมายถึงเครื่องสำรองพลังงานไฟฟ้า วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับอุปกรณ์ชิ้นนี้กับ เรื่องควรรู้เกี่ยวกับเครื่องสำรองไฟ UPS

เครื่องสำรองไฟ UPS

หน้าที่ของเครื่องสำรองไฟ UPS

หน้าที่ของ UPS เครื่องสำรองไฟ คือ ช่วยสำรองพลังงานไฟฟ้า โดยการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้ต่อ หากเกิดกรณีไฟตก ไฟดับ ไฟเกิน ไฟกระชาก ฯลฯ หรือหากมีเหตุจากความผิดปกติของแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องสำรองไฟทำงานอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน บริษัทที่ทำงาน โรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ไฟฟ้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น ไฟดับ ไฟตก ไฟกระชาก หรือแหล่งจ่ายไฟมีสัญญาณผิดปกติ แล้วส่งผลให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ดับลงหรือหยุดทำงาน ซึ่งการหยุดทำงานกะทันหันจะทำให้เกิดความเสียหายกับงาน ตัวอุปกรณ์ได้

การทำงานของเครื่องสำรองไฟ UPS ก็คือการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ AC ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC แล้วเก็บสำรองพลังงานไฟบางส่วนไว้ในแบตเตอรี่ เมื่อเกิดปัญหาจากระบบไฟฟ้าผิดปกติ ไม่มีไฟจ่ายเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า UPS ก็จะเปลี่ยนไฟกระแสตรงจากแบตเตอรี่ เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างปกติ เป็นการช่วยทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

ส่วนประกอบของเครื่องสำรองไฟ UPS

ประจุแบตเตอรี่ (Charger) ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าสลับ จากแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั่วไป เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง และจัดเก็บประจุพลังงานไว้ในแบตเตอรี่สำรอง โดยพลังงานไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่ง จะถูกจ่ายไปยัง Inverter หรือเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า

เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้าตรงจาก Charger เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรง ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา

แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่บรรจุเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง เอาไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ โดยจะจ่ายไฟออกไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ทันที เช่น กรณีไฟฟ้าดับ หรือขัดข้อง

ระบบปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (Stabilizer) ทำหน้าที่คอยปรับแรงดันกระแสไฟฟ้า ให้ทำงานคงที่และสม่ำเสมอ เพื่อให้การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นไปอย่างปลอดภัย ไม่ส่งผลเสียต่ออุปกรณ์

ประเภทของเครื่องสำรองไฟ มีอะไรบ้าง

UPS หรือ Uninterruptible Power Supply แบ่งออกโดยการทำงานหลักเป็น 3 ชนิด 

  1. Standby UPS หรือ Off Line UPS มีคุณสมบัติในการป้องกันปัญหา กรณีเกิดไฟฟ้าดับเพียงอย่างเดียว เป็น UPS ที่ราคาถูกกว่าประเภทอื่น ไม่เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ที่กระแสไฟฟ้าขัดข้องบ่อย ๆ หรือเกิดกระแสไฟฟ้าแปรปรวนบ่อย ๆ 
  2. Line Interactive UPS หรือ On Line UPS เป็นเครื่องสำรองไฟที่นิยมใช้งานมากที่สุด เพราะมีระบบ Stabilizer ช่วยป้องกันแรงดันจากปัญหากระแสไฟฟ้าขาด หรือเกินได้เป็นอย่างดี ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้รับการปกป้องดูแลอย่างเต็มที่ ระบบ Stabilize ช่วยให้ Online UPS ไม่ต้องจ่ายไฟสำรองจากแบตเตอรี่ทุกครั้ง ทำให้มีพลังงานไฟสำรองมากพอ เมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้องขึ้นมา
  3. True Online UPS เป็น UPS ที่คุณภาพมาตรฐานสูงสุด ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าต่อเนื่อง และมีความแม่นยำสูง ป้องกันปัญหาจากสัญญาณรบกวนกระแสไฟได้ดี เป็นระบบที่ป้องกันการเกิดปัญหาจากไฟฟ้าขัดข้องได้ทุกกรณี True Online UPS จะมีราคาสูงกว่า UPS ประเภทอื่น ๆ

คุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของเครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการช่วยดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเรา ให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ ควรเลือกจากแบรนด์ที่มีคุณภาพมาตรฐานน่าไว้วางใจ เพื่อป้องกันความเสียหายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ของเรา 

ใครที่กำลังมองหาหรือต้องการข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับเครื่องสำรองไฟ รวมถึงบริการหลังการขายที่รวดเร็ว ขอแนะนำให้เข้าไปที่เว็บไซต์ Chuphotic ผู้มีประสบการณ์ในการผลิตจัดจำหน่าย และให้บริการผลิตภัณฑ์ประเภทปรับปรุงและแก้ไขคุณภาพไฟฟ้า ให้คุณเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟ UPS ได้อย่างมั่นใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง