การฉีดพ่นสาร De-ice ที่เครื่องบิน ป้องกันน้ำแข็งที่เกาะเครื่องบิน (และการกำจัดน้ำแข็งออก)

ประเทศไทยไม่มีหิมะ หรือแถบๆ เอเชียเรามักไม่มีปัญหานี้ แต่ที่ยุโรปหรือเขตเมืองหนาวต่างๆ ในฤดูฝนต้องคอยกำจัดหิมะ ที่บางทีสูงกันท่วมรถ ท่วมบ้าน ในบางเขตถ้าหิมะตกหนามากๆ จะมีเจ้าหน้าที่เอารถไปตักหิมะออก หรือเอาเกลือคลิกหินดำๆ มาโรยที่พื้นถนนในตอนเช้า ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวถนนเป็นน้ำแข็ง ซึ่งที่ยุโรปมีกฎหมายคือ ในหน้าหนาวนั้นรถทุกคันต้องเปลี่ยนเป็นยางทั้งชุดสำหรับหน้าหนาว หากเอารถที่มีล้อธรรมดาช่วงหน้าร้อนมาขับในวันที่หิมะตก คือผิดกฎหมาย (แต่ยางล้อรถหน้าหนาวสามารถวิ่งในหน้าร้อนได้)

การฉีดพ่นสาร De-ice ที่เครื่องบิน

ความอันตรายของหิมะยังไม่เท่าตอนที่หิมะละลายเป็นน้ำ เพราะพื้นผิวถนนจะลื่นมาก และเครื่องบินก็ยังมีภาวะที่เสี่ยงกับเรื่องพวกนี้เช่นกัน จึงเป็นที่มาของการพ่นสาร De-ice (การฉีดสารป้องกันน้ำแข็งเกาะเครื่องบิน) ที่เครื่องบิน การฉีดสารเคลือบนี้มักจะทำตามสนามบิน ที่มีรายงานด้านอุณหภูมิเข้าใกล้จุดน้ำแข็งก่อตัว หรือเกิดหิมะนั่นเอง เช่น ยุโรป สแกนดิเนเวีย ซึ่งก่อนออกบินในฤดูหนาวที่ยังมีหิมะตก ผู้โดยสารอาจจะได้เห็นภาพแบบนี้ (บางทีเราก็อาจจะได้เห็นที่ สนามบินสุวรรณภูมิด้วยเหมือนกันค่ะ)

การฉีดพ่นสาร De-ice ที่เครื่องบิน

ตรวจสอบก่อนบิน

ก่อนเครื่องบินจะ Take off จากสนามบิน ในประเทศที่มีอากาศหนาว นักบินจะต้องตรวจส่วนต่างๆของเครื่องบิน ให้แน่ใจว่าไม่มีน้ำแข็งเกาะ หากพบว่ามีน้ำแข็งเกาะก็จะต้องขอให้จัดการละลายน้ำแข็ง เรียกว่า การทำ De-icing

การทำ De-icing นั้นคือ การฉีดน้ำยาละลายน้ำแข็ง ไปตามส่วนต่างๆ ของเครื่องบิน เช่น ปีก แพนหาง หรือ ลำตัว โดยการจะเลือกฉีดน้ำยาทั้งหมดลำตัว หรือเฉพาะปีกกับแพนหางนั้นสามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนักบิน

น้ำยาละลายน้ำแข็งนี้มีสัดส่วนความเข้มข้นหลายระดับ ให้เลือกใช้ตามสภาพของอากาศและอุณหภูมิ น้ำยานี้จะถูกผสมและปรับอุณหภูมิให้อุ่นประมาณ 60 องศา C เมื่อฉีดไปที่เครื่องบินแล้วจะมีผลทำให้น้ำแข็งที่เกาะอยู่นั้นละลายไป นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติป้องกันการจับตัวของน้ำแข็งขึ้นมาใหม่อีก โดยมีเวลาจำกัดประมาณ 10-35 นาทีขึ้นอยู่กับส่วนผสมและสภาพอากาศ หลังจากฉีดน้ำยาแล้วหากเลยเวลาที่กำหนดเครื่องบินยังไม่ Take off จะต้องกลับมาฉีดน้ำยากันใหม่อีกครั้ง / ข้อมูลจาก The Beluga 

การฉีดสารเคลือบป้องกันน้ำแข็ง

การฉีดสารเคลือบไปบนพื้นผิวโครงสร้างเครื่องบิน เพื่อป้องกันน้ำแข็งเกาะ (Ice formation) หรือการปนเปื้อนต่างๆ เช่น Frost ,  Snow อันเป็นวิธีหนึ่ง ของการต่อต้านการก่อตัวของน้ำแข็ง (Anti-icing) ที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินนะ เนื่องจากน้ำแข็งมีศักย์อันตราย (High Potential Hazard) ต่อเครื่องบินสูงมาก ซึ่งสารเคลือบนี้จะมีระยะเวลาของมัน เรียกว่า Holdover Time ถ้าหากว่าหมดเวลาไปนั้น จะต้องฉีดกันใหม่ นั่นหมายถึงเสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงเอาการ

Ice Hazard มีอันตรายสูง

สำหรับ Ice Hazard นั้น ถูกจัดอยู่ในศักย์อันตรายสูง เนื่องจากเมื่อน้ำแข็งเกาะเครื่องบิน จะทำให้รูปร่างและคุณลักษณะทางด้านอากาศพลศาสตร์เสียไปมากมาย อีกทั้งมันเพิ่มน้ำหนักให้กับเครื่องบินอีกด้วย จากการที่มันชอบไปก่อตัวตามซอกเล็กหลืบน้อย หรือจุดโครงสร้างที่ล่อแหลมต่างๆ ดังนั้นมันไม่น่าพิศมัยเอาเสียเลยในช่วงที่วิกฤติ (Critical Flight Phase) อย่างการวิ่งขึ้น (Take off) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการพยากรณ์ระดับความสูงแข็งตัว (Freezing Level)

Cr: training.deicinginnovations.com : De-icing Aircraft during a snowstorm

การป้องกันน้ำแข็งเกาะเครื่องบินมี 2 ระบบคือ De-ice และ Anti-ice

De-ice คือการละลายน้ำแข็งที่เกาะแล้วออกไป
Anti-ice คือการป้องกันน้ำแข็งไม่ให้เกาะ
เวลาบินจากบ้านเราหรือเขตเมืองร้อนไปยังไม่มีน้ำแข็งเกาะจึงยังไม่จำเป็นต้องทำ De-ice

Air Ontario 1363

โศกนาฏกรรมจาก Ice Hazard นั้น เป็นกรณีของ Air Ontario 1363 จากแคนาดา > blog.rudypont.be

อ้างอิง De-icepantip.com/topic/34685399 , www.youtube.com , abm-thai.blogspot.com , Facebook Thai Flight Simulator

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง