วันนี้ (6 ธ.ค. 2559) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ให้ประกาศว่า โดยที่คณะองคมนตรีได้กราบบังคมลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี และทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรี อัพเดทเพิ่มเติม มีการแต่งตั้งเพิ่มองคมนตรีอีก 2 ท่าน ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559
ประวัติ รายชื่อองคมนตรี ร. 10 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “องคมนตรี” คนใหม่
แต่งตั้งองคมนตรี / วันที่ 2 ต.ค. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี ความว่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งองคมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ แล้วนั้น
บัดนี้ ทรงพระราชดำริ เห็นเป็นการสมควร แต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
๑. นาย อำพน กิตติอำพน เป็น องคมนตรี
๒. พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท เป็น องคมนตรี
๓. พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง เป็น องคมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑
เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรี
ข่าวเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 ที่มา MThai.com
////////
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบกับมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตร ๑๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะองคมนตรี ทั้งหมด 10 รายชื่อด้วยกัน มีองคมนตรีใหม่ 3 รายด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1.พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เกิดวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 องคมนตรี นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 เคยดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี ด้วย
ประวัติการศึกษา จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์, โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเลขประจำตัว ส.ก.12129 ก่อนเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 1 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12 โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2508 เมื่อเข้ารับราชการแล้วยังผ่านการอบรมในหลายหลักสูตรคือ
- พ.ศ. 2509 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ
- พ.ศ. 2509 หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศจู่โจม
- พ.ศ. 2511 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2516 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 52
- พ.ศ. 2517 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2517 หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2536 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
2.นายเกษม วัฒนชัย
เกิดวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2484 องคมนตรี นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในอดีตได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร สมรสกับคุณหญิง รัชนีวรรณ วัฒนชัย
ประวัติการศึกษา
- โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม จังหวัดพิจิตร
- โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 36
- 17 พฤษภาคม 2538 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- 20 กันยายน 2544 การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วิชาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- 17 พฤศจิกายน 2544 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- 13 ธันวาคม 2544 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 27 มีนาคม 2545 ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(บริหารการศึกษา) สถาบันราชภัฏเชียงใหม่
- 16 ธันวาคม 2545 ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(พัฒนศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 29 สิงหาคม 2546 รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
- 25 สิงหาคม 2548 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- 23 มกราคม 2549 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- 14 สิงหาคม 2551 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักด(วิชาการจัดการ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- 26 เมษายน 2553 ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 17 พฤศจิกายน 2553 ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- 21 กันยายน 2553 ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยคริสเตียน
- 19 กรกฎาคม 2555 ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.นายพลากร สุวรรณรัฐ
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นบุตรของนายพ่วง สุวรรณรัฐ อดีตปลัดและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และหม่อมราชวงศ์ประสารสุวรรณ สุวรรณรัฐ (ราชสกุลเดิมทองแถม บุตรีหม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม) สมรสกับท่านผู้หญิงทัศนียา สุวรรณรัฐ
การศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท M.A.I.A.(International Affairs, Southeast Asian Studies) จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ และผ่านการอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
4.นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
เกิดวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2487 องคมนตรี อดีตประธานศาลฎีกา (1 ต.ค. 2545 – 30 ก.ย. 2547) ประธานสมาคมกฎหมายอาเซียน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ประวัติการศึกษา
- เข้าศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2500 เลขประจำตัว 8526
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 3 ของสมัยที่ 18) ปี2508
- จบปริญญาโทด้านกฎหมาย จาก Harvard Law School ประเทศสหรัฐอเมริกา
5.นายศุภชัย ภู่งาม
เกิดวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2488 องคมนตรี และอดีตประธานศาลฎีกา เคยเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา นนทบุรี ก่อนเข้ามาเป็นผู้พิพากษาประจำกระทรวง ช่วยงานศาลแพ่ง หัวหน้าศาลประจำกระทรวง หัวหน้าศาลจังหวัดหนองคาย หัวหน้าศาลชลบุรี ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง ผู้พิพากษาศาลแพ่ง หัวหน้าคณะในศาลแพ่ง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม (ฝ่ายวิชาการ) รองอธิบดีศาลแพ่ง ผู้พิพากษาศาลฎีกา รองอธิบดีศาลอุทธรณ์ภาค 3 หัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี
ประวัติการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 39
6.นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เกิดวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2489 องคมนตรี อดีตประธานศาลฎีกา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตผู้พิพากษาอาวุโส
เป็นผู้มีบทบาทในการแก้ไขวิกฤตการเมือง อันเนื่องจากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 และกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 2 ที่มี พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภเป็นประธานก่อนที่จะเกิดการรัฐประหาร หลังจากที่เกษียณอายุราชแล้วได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้พิพากษาอาวุโสศาลแพ่งธนบุรี แต่ทำงานได้เพียง 2 วันจึงได้ลาออกจากตำแหน่ง
ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เคยถูกทาบทามจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ในที่สุดทาง คปค. ได้ตัดสินใจเลือกเลือกพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ต่อมาจึงถูกเลือกให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และได้รับพระบรมราชการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกาในปี พ.ศ. 2549
ภายหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว ชาญชัยยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา เพื่อขอกลับรับราชการเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน และยังเป็น 1 ใน 3 องคมนตรีที่ถูกตั้งเป้าลอบสังหาร แต่เจ้าตัวออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าไม่เคยทราบเรื่องมาก่อน
ประวัติการศึกษา
- จบการศึกษามัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดทรงธรรมจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- จบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2512
- จบเนติบัณฑิตไทย พ.ศ. 2514
7. พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข
เกิดวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2491 องคมนตรี เลขาธิการมูลนิธิพระดาบส อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศของไทย และอดีตรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 1
ประวัติการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนโยธินบูรณะ ปีการศึกษา 2505 เลขประจำตัว 4970
- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6
- โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 13
- โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 40
- โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 27
- วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 25
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41
- ผ่านหลักสูตรครูการบินไอพ่น (PILOT INSTRUCTOR T – 38) โดยทุน IMETP ที่ซานอันโตนิโอ รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา
8.พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
เกิดวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2496 เป็นองคมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน รองประธานกรรมการในคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และที่ปรึกษาและเลขานุการคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตเลขาธิการสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย และอดีตเสนาธิการทหารบก เป็นหนึ่งในนายทหารที่ ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ประวัติการศึกษา
- จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 (ตท.12 – รุ่นเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป, พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์)
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 (จปร.23)
- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
9.พลเอกธีรชัย นาควานิช
เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 เป็นองคมนตรี ราชองครักษ์พิเศษ ตุลาการศาลทหารสูงสุด ประธานกรรมการ การประปาส่วนภูมิภาค กรรมการการไฟฟ้านครหลวง และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ,นายทหารพิเศษประจำ หน่วยทหารรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ ประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด กรรมการ ธนาคารทหารไทย
ประวัติด้านการศึกษา
- จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน รุ่นที่ 15 รุ่นเดียวกับ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- จากนั้นเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 รุ่นเดียวกับ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ , นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
- ศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 รุ่นเดียวกับ พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม , พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, พลเอกประสูตร รัศมีแพทย์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
10.พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา
เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 เป็นองคมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตร พันธสัญญาที่เป็นธรรม , ประธานกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ, หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช.และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, แม่ทัพภาคที่ 1, อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์, อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และอดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ประวัติด้านการศึกษา
- จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนอู่ทอง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ
- จบจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15)
- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 (จปร.26) รุ่นเดียวกับพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม
แต่งตั้งองคมนตรี ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2559 เป็นปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
ทั้งนี้ องคมนตรีใหม่ 3 ราย ประกอบด้วย
1. พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ อดีตรองผบ.ทบ., อดีตรมว.ทรัพยากรฯ และรมว.ศึกษา
2. พลเอกธีรชัย นาควานิช อดีตผบ.ทบ.
3. พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา อดีแม่ทัพภาคที่ 1 และ รมว.ยุติธรรม
อัพเดทเพิ่มเติมล่าสุด! เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559 แต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มอีก 2 ท่าน ดังต่อไปนี้
11.วิรัช ชินวินิจกุล
วิรัช ชินวินิจกุล (เกิด 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495) เป็นองคมนตรี อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[2],รองประธานศาลฎีกา,เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม,เลขานุการศาลฎีกา,ผู้พิพากษาศาลฎีกา
ประวัติด้าน การศึกษา
- จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย จังหวัดราชบุรี
- จบปริญญาตรี นิติศาสตร์ เกียรตินิยม จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2516 และ เนติบัณฑิตไทย ในปี 2517
12. จรัลธาดา กรรณสูต
ดร.จรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี อดีตที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการ, อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตอธิบดีกรมประมง
ดร.จรัลธาดา กรรณสูต เป็นบุตรชายของนายปรีดา กรรณสูต อดีตอธิบดีกรมประมงและอดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ กับหม่อมราชวงศ์เติมแสงไข รพีพัฒน์ พระธิดาในหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ และ หม่อมเจ้าเริงจิตร์แจรง อาภากร จรัลธาดาจึงมีศักดิ์เป็นพระปนัดดา (เหลน) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ประวัติด้านการศึกษา
- จบการศึกษาจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลนิสิตเก่าดีเด่นประเภทบริหารภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2553 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น The Order of the Rising Sun,Gold Rays with Neck Ribbon จากสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นเช่นเดียวกับที่นายปรีดาผู้เป็นบิดาเคยได้รับ
ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย / เมื่อ ธันวาคม 2559