มาตราการชั่งตวง กิโลกรัม ปอนด์ ออนซ์ ลิตร ภาษาอังกฤษ

การชั่งตวงเป็นหลักการเบื้องต้นของการให้ได้มาซึ่งปริมาณสารที่เหมาะสมที่จะใช้ในการผลิตการชั่ง ตวง ที่ถูกต้อง เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอตรงความต้องการ ผู้ผลิตจึงควรจะมีความรู้พื้นฐานในการชั่ง ตวง เป็นอย่างดี

มาตราชั่งตวง กิโลกรัม ปอนด์ ออนซ์ และอื่นๆ

มาตราชั่ง ตวงมีหลายมาตรา เช่น มาตราเมตริก (Metricsystems) และ มาตราอังกฤษ (English systems) สำหรับประเทศไทย นิยมใช้มาตราชั่งตวงในระบบเมตริก ดังนั้นสูตรต่างๆ ที่ใช้เป็นหน่วยของมาตราเมตริกเป็นหลัก

อย่างไรก็ตามผู้ผลิตควรจะเรียนรู้วิธีการเปรียบเทียบมาตราชั่ง ตวงต่างระบบกัน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตอาจมีสูตรพื้นฐานในมาตราหน่วยอื่นๆ ซึ่งต้องการเปลี่ยนให้อยู่ในหน่วยที่จะสามารถชั่งตวงได้อย่างสะดวก

มาตราชั่ง มาตราเมตริก

1 กิโลกรัม (kilogram, kg) = 1000 กรัม (gram, g)

1 กรัม = 1000 มิลลิกรัม (milligram, mg)

1 กิโลกรัม = 10 ขีด (หรือ 10 ขีด เท่ากับ 1 กิโลกรัม)

1 ขีด = 100 กรัม

มาตราอังกฤษ (Avoirdupois)

1 ปอนด์ (pound lb) = 16 ออนซ์ (ounce.oz.)

1 ออนซ์ = 437.5 เกรน (grain. gr)

เปรียบเทียบมาตราเมตริก กับ อังกฤษ

1 กิโลกรัม = 2.2 ปอนด์

1 ปอนด์ = 454.0 กรัม

1 ออนซ์ = 28.4 กรัม

มาตราตวง มาตราเมตริก

1 ลิตร (liter , l) = 1000 มิลลิลิตร (milliliter , ml)

1 มิลลิลิตร = 1 ซีซี (c.c.)

การเปรียบเทียบมาตรา

1 แกลลอน (British Imperial) = 4.55 ลิตร

1 แกลลอน (US Liquid Measure) = 3.79 ลิตร

1 แกลลอน (US Liquid Measure) = 4 ควอท

1 ควอท = 2 ไพน์ (pint)

1 ไพน์ = 2 ถ้วย

1 ถ้วย (fluidounce, Fluid oz.) = 8 ออนซ์

1 ออนซ์ (Fluid oz.) = 2 ช้อนโต๊ะ (ช.ต.)

1 ออนซ์ (Fluid oz.) = 30 มิลลิลิตร

1 ช้อนโต๊ะ = 3 ช้อนชา (ช.ช.)

1 ช้อนโต๊ะ = 15 มิลลิลิตร

1 ช้อนชา = 5 มิลลิลิตร

ข้อควรระวัง

1. หน่วย ช้อนโต๊ะและช้อนชา ในที่นี้ไม่ใช่ช้อนโต๊ะที่ใช้รับประทานอาหาร หรือช้อนชาที่ใช้ชงกาแฟ ช้อนโต๊ะที่ใช้รับประทานอาหารนั้นจะมีปริมาตรบรรจุเพียง 8-15 มิลลิลิตร (ขึ้นอยู่กับขนาดของช้อน) และช้อนชาที่ชงกาแฟจะมีขนาดเพียง 3 มิลลิลิตร เท่านั้น ดังนั้นควรใช้ช้อนตวงมาตรฐานที่ใช้สำหรับการตวงโดยเฉพาะ โดยอาจใช้ช้อนตวงมาตรฐานที่ใช้ทำอาหารทดแทนกันได้

2. หน่วยของออนซ์ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งหน่วยของน้ำหนัก (เป็น oz.) และหน่วยของปริมาตร (เป็น Fluid oz.) ซึ่งมีค่าไม่เท่ากัน และไม่ควรใช้สลับกัน

3. หน่วยของแกลลอน ก็มีอยู่ 2 ชนิด คือ อังกฤษ และอเมริกาซึ่งก็มีปริมาตรที่ต่างกันอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.archeep.com

ตัวอย่างการชั่งน้ำหนักต่างๆ

ภาพจาก www.myfirstbrain.com

มาตราการตวง ภาษาอังกฤษ Measurement

หน่วยเมตริก

ในประเทศไทยนิยมใช้หน่วยเมตริก

gram กรัม
kilo (คำย่อของ kilogram) กิโล
tonne ตัน

millimetre มิลลิเมตร
centimetre เซนติเมตร

metre เมตร
kilometre กิโลเมตร

hectare เฮกเตอร์
millilitre มิลลิลิตร
centilitre เซนติลิตร
litre ลิตร

หน่วยอิมพีเรียล

ounce ออนซ์
pound ปอนด์

stone สโตน
ton ตัน

inch นิ้ว
foot ฟุต

yard ยาร์ด
mile ไมล์

acre เอเคอร์
pint ไพนท์
gallon แกลลอน

ที่ชั่งน้ำหนัก ภาษาอังกฤษ Weighing

ที่มา https://th.speaklanguages.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง