เรียนรู้คำราชาศัพท์ คำศัพท์ที่น้องๆ นักเรียน นักศึกษา และทุกๆ คนควรรู้และศึกษา เวลาเปิดฟังข่าวจากพระราชสำนัก หรือมีการเขียนบทความ ทำการบ้าน ทำรายงาน จะได้นำไปใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม วันนี้แคมปัส-สตาร์ ขอนำ คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย มาให้เรียนรู้กันก่อนค่ะ ครั้งต่อไปจะนำหมวดอื่นๆ มาให้อีกแน่นอน มีคำว่าอะไรบ้างไปอ่านกันได้เลย
คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย
- พระเจ้า ความหมาย หัว ศีรษะ ของพระมหากษัตริย์
- พระเศียร ความหมาย หัว ศีรษะ
- พระสิรัฐิ, พระสีสกฏาหะ ความหมาย กะโหลกศีรษะ กะโหลกพระเศียร
- เส้นพระเจ้า ความหมาย เส้นผมของพระมหากษัตริย์
- พระเกศา, พระเกศ, พระศก ความหมาย เส้นผม
- ไรพระเกศ, ไรพระเกศา, ไรพระศก ความหมาย ไรผม
- ขมวดพระศก, ขมวดพระเกศา ความหมาย ขมวดผมที่เป็นก้นหอย
- พระโมลี, พระเมาลี ความหมาย จุก หรือมวยผม
- พระจุไร ความหมาย ไรจุก ไรผม
- พระจุฑามาศ ความหมาย มวยผม ท้ายทอย
- พระเวณิ ความหมาย เปียผม ช้องผม
- พระนลาฏ ความหมาย หน้าผาก
- พระขนง, พระภมู ความหมาย คิ้ว
- พระอุณาโลม ความหมาย ขนหว่างคิ้ว
- พระเนตร, พระนัยนะ, พระจักษุ ความหมาย ดวงตา
- พระเนตรดำ, ดวงพระเนตรดำ ความหมาย ตาดำ
- พระเนตรขาว, ดวงพระเนตรขาวความหมาย ตาขาว
- พระกนีนิกา, พระเนตรดารา ความหมาย แก้วตา
- หนังพระเนตร, หลังพระเนตร ความหมาย หนังตา เปลือกตา หรือหลังตา
- พระโลมจักษุ, ขนพระเนตร ความหมาย ขนตา
- ขอบพระเนตร ความหมาย ขอบตา
- ม่านพระเนตร ความหมาย ม่านตา
- ต่อมพระเนตร ความหมาย ต่อมน้ำตา ท่อน้ำตา
- พระอัสสุธารา, พระอัสสุชล, น้ำพระเนตร ความหมาย น้ำตา
- พระนาสิก, พระนาสา ความหมาย จมูก
- สันพระนาสิก, สันพระนาสา ความหมาย สันจมูก
- ช่องพระนาสิก ความหมาย ช่องจมูก
- พระโลมนาสิก, ขนพระนาสิก ความหมาย ขนจมูก
- พระปราง ความหมาย แก้ม
- พระกำโบล, กระพุ้งพระปราง ความหมาย กระพุ้งแก้ม
- พระมัสสุ ความหมาย หนวด
- พระทาฐิกะ, พระทาฒิกะ ความหมาย เครา หนวดที่คาง
- พระโอษฐ์ ความหมาย ปาก ริมฝีปาก
- พระตาลุ, เพดานพระโอษฐ์ ความหมาย เพดานปาก
- พระทนต์ ความหมาย ฟัน
- พระทันตมังสะ, พระทันตมังสา ความหมาย เหงือก
- ไรพระทนต์ ความหมาย ไรฟัน
- พระทาฐะ, พระทาฒะ ความหมาย เขี้ยว
- พระกราม ความหมาย ฟันกราม
- พระชิวหา ความหมาย ลิ้น
- ต้นพระชิวหา, มูลพระชิวหา ความหมาย ต้นลิ้น ลิ้นไก่ โคนลิ้น
- พระหนุ ความหมาย คาง
- ต้นพระหนุ ความหมาย ขากรรไกร ขากรรไตร หรือขาตะไกร
- พระกรรณ ความหมาย หู ใบหู
- ช่องพระโสต, ช่องพระกรรณ ความหมาย ช่องหู
- พระพักตร์ ความหมาย ใบหน้า
- พระศอ ความหมาย คอ
- พระกัณฐมณี ความหมาย ลูกกระเดือก
- ลำพระศอ ความหมาย ลำคอ
- พระชัตตุ ความหมาย คอต่อ
- พระรากขวัญ ความหมาย ไหปลาร้า
- พระอังสา ความหมาย บ่า ไหล่
- พระอังสกุฏ ความหมาย จะงอยบ่า
- พระพาหา, พระพาหุ ความหมาย แขน (ตั้งแต่ไหล่ถึงศอก)
- พระกร ความหมาย ปลายแขน (ตั้งแต่ข้อศอกถึงข้อมือ)
- พระกัประ, พระกโบระ ความหมาย ข้อศอก
- พระกัจฉะ ความหมาย รักแร้
- พระกัจฉโลมะ ความหมาย ขนรักแร้
- พระหัตถ์ ความหมาย มือ
- ข้อพระกร, ข้อพระหัตถ์ ความหมาย ข้อมือ
- ฝ่าพระหัตถ์ ความหมาย ฝ่ามือ
- หลังพระหัตถ์ ความหมาย หลังมือ
- พระองคุลี, นิ้วพระหัตถ์ ความหมาย นิ้วมือ
- พระอังคุฐ ความหมาย นิ้วหัวแม่มือ
- พระดัชนี ความหมาย นิ้วชี้
- พระมัชฌิมา ความหมาย นิ้วกลาง
- พระอนามิกา ความหมาย นิ้วนาง
- พระกนิษฐา ความหมาย นิ้วก้อย
- ข้อนิ้วพระหัตถ์, พระองคุลีบัพ ความหมาย ข้อนิ้วมือ
- พระมุฐิ กำพระหัตถ์ ความหมาย กำมือ กำหมัด กำปั้น
- พระนขา, พระกรชะ ความหมาย เล็บ
- พระอุระ, พระทรวง ความหมาย อก
- พระหทัย, พระกมล ความหมาย หัวใจ
- พระถัน, พระเต้า, พระปโยธร ความหมาย เต้านม
- ยอดพระถัน, พระจูจุกะ ความหมาย หัวนม
- พระกษิรธารา ความหมาย น้ำนม
- พระครรโภทร, พระคัพโภทร ความหมาย มีครรภ์ มีท้อง
- พระอุทร ความหมาย ท้อง
- พระนาภี ความหมาย สะดือ ท้อง
- พระสกุน, พระครรภมล ความหมาย รก สิ่งที่ติดมากับสายสะดือเด็กในครรภ์
- สายพระสกุน ความหมาย สายรก
- กล่องพระสกุน ความหมาย มดลูก
- พระกฤษฎี, บั้นพระองค์, พระกฏิ ความหมาย สะเอว เอว
- พระปรัศว์ ความหมาย สีข้าง (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศ์ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า ปรัศว์ แปลว่า สีข้าง ใช้แก่พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
- พระผาสุกะ ความหมาย ซี่โครง
- พระปฤษฎางค์, พระขนอง ความหมาย หลัง
- พระโสณี ความหมาย ตะโพก
- พระที่นั่ง ความหมาย ก้น ที่นั่งทับ
- พระวัตถิ ความหมาย กระเพาะปัสสาวะ
- พระคุยหฐาน, พระคุยหประเทศ ความหมาย องค์ที่ลับชาย
- พระโยนี ความหมาย องค์ที่ลับหญิง
- พระอัณฑะ ความหมาย ลูกอัณฑะ
- พระอูรุ ความหมาย ต้นขา โคนขา ขาอ่อน
- พระเพลา ความหมาย ขา ตัก
- พระชานุ ความหมาย เข่า
- พระชงฆ์ ความหมาย แข้ง
- หลังพระชงฆ์ ความหมาย น่อง
- พระโคปผกะ ความหมาย ตาตุ่ม
- นิ้วพระบาท ความหมาย นิ้วเท้า
- พระบาท ความหมาย เท้า
- ข้อพระบาท ความหมาย ข้อเท้า
- หลังพระบาท ความหมาย หลังเท้า
- ฝ่าพระบาท ความหมาย ฝ่าเท้า
- พระปัณหิ, พระปราษณี, ส้นพระบาท ความหมาย ส้นเท้า
- พระฉวี ความหมาย ผิวหนัง ผิวกาย
- พระฉายา ความหมาย เงา
- พระโลมา ความหมาย ขน
- ผิวพระพักตร์, พระราศี ความหมาย ผิวหน้า
- พระมังสา ความหมาย เนื้อ
- กล้ามพระมังสา ความหมาย กล้ามเนื้อ
- พระอสา ความหมาย สิว
- พระปีฬกะ ความหมาย ไฝ ขี้แมลงวัน
- พระปัปผาสะ ความหมาย ปอด
- พระยกนะ (ยะ-กะ-นะ) ความหมาย ตับ
- พระวักกะ ความหมาย ไต (โบราณว่าม้าม)
- พระปิหกะ ความหมาย ม้าม (โบราณว่าไต)
- พระอันตะ ความหมาย ไส้ใหญ่
- พระอันตคุณ ความหมาย ไส้น้อย, ไส้ทบ
- พระกุญชะ ความหมาย ไส้พุง
- พระนหารู ความหมาย เส้น เอ็น
- เส้นพระโลหิต, หลอดพระโลหิต ความหมาย เส้นเลือด หลอดเลือด
- หลอดพระวาโย ความหมาย หลอดลม
- พระกิโลมกะ ความหมาย พังผืด
- พระองคาพยพ ความหมาย ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- พระมัตถลุงค์ ความหมาย มันในสมอง
- พระธมนี ความหมาย เส้นประสาท
- พระลสิกา ความหมาย น้ำในไขข้อ
- พระปิตตะ ความหมาย ดี น้ำดี
- พระเขฬะ ความหมาย น้ำลาย
- พระเสมหะ ความหมาย เสลด
- มูลพระนาสิก ความหมาย น้ำมูก
- มูลพระนขา ความหมาย ขี้เล็บ
- พระเสโท ความหมาย เหงื่อ
- พระเมโท ความหมาย ไคล
- พระบุพโพ ความหมาย น้ำหนอง น้ำเหลือง
- พระอุหลบ, พระบุษปะ ความหมาย เลือดประจำเดือนหญิง
- พระอัฐิ ความหมาย กระดูก
- พระอังคาร, พระสรีรางคาร ความหมาย เถ้ากระดูก
- พระอังสัฐิ ความหมาย กระดูกไหล่
- พระหนุฐิ ความหมาย กระดูกคาง
- พระคีวัฐิ ความหมาย กระดูกคอ
- พระพาหัฐิ ความหมาย กระดูกแขน
- พระอุรัฐิ ความหมาย กระดูกหน้าอก
- พระผาสุกัฐิ ความหมาย กระดูกซี่โครง
- พระปิฐิกัณฐกัฐิ ความหมาย กระดูกสันหลัง
- พระกฏิฐิ ความหมาย กระดูกสะเอว
- พระอูรัฐิ ความหมาย กระดูกขา
- พระชังฆัฐิ ความหมาย กระดูกแข้ง
- พระปาทัฐิ ความหมาย กระดูกเท้า
- พระหัตถัฐิ ความหมาย กระดูกมือ
- พระยอด ความหมาย ฝี, หัวฝี
- พระบังคนหนัก ความหมาย อุจจาระ
- พระบังคนเบา ความหมาย ปัสสาวะ
- พระปัสสาสะ ความหมาย ลมหายใจเข้า
- พระอัสสาสะ ความหมาย ลมหายใจออก
- พระชีพจร ความหมาย ชีพจร
- อุณหภูมิพระวรกาย ความหมาย อุณหภูมิของร่างกาย
- พระวาโย ความหมาย ลม
บทความแนะนำ
- คำราชาศัพท์ หมวดเครือญาติ | พระบรมวงศานุวงศ์ พระยศเจ้านายไทย
- พระนามเต็ม พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 1-10 (ราชวงศ์จักรี สมัยรัตนโกสินทร์)
- วัดประจำรัชกาลที่ 1-10 | วัดประจำรัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี
- ลำดับราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ 1-9 | ขึ้นครองราชย์ และสิ้นสุดการครองราชย์ในปีบ้าง
- พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี ตอนทรงพระเยาว์
- รายพระนามสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง กรุงรัตนโกสินทร์
- พระนามแรกประสูติ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ความเป็นมาพระนามต่างๆ