22 กันยายน วันแรดโลก – 13 เรื่องของแรด สรุปมาให้มนุษย์เข้าใจ

วันนี้ 22 กันยายน ของทุกปี องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ( World Wide Fund for Nature-WWF) แห่งแอฟริกาใต้ได้ประกาศให้วันนี้เป็น วันแรดโลก เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์แรดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ โดยมีลิซ่า เจน แคมป์เบล และซิงห์ เป็นผู้ผลักดันให้มีการจัดตั้งวันดังกล่าวเป็นวันแรดโลกขึ้น วันนี้เราขอสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับน้องแรด เป็นความรู้รอบตัวมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันค่ะ

22 กันยายน วันแรดโลก กับ 13 เรื่องของแรด ที่อยากให้มนุษย์ได้อ่าน

1.แรด เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้าง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง (ในวงศ์ Rhinocerotidae) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

2.แรดมีขนาดตัวยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร และน้ำหนักอาจจะมากถึง 2.3-3.6 ตัน

3.รูปร่างโดยทั่วไปคือ ตาเล็ก ปากงุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม มีหนังหนามาก บางชนิดอาจเห็นเป็นชั้นคล้ายเกราะ ลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ขอบงแรกด็คือ นอ ที่อยู่บริเวณสันจมูกและงอกแหลมยื่นยาวอกมา เป็นอาวุธของแรดที่ใช้พุ่งชนเพื่อป้องกันตัว

4.นอของแรดนับว่าเป็นเขา (horn) อย่างหนึ่ง มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร นอของแรดไม่ใช่กระดูก แต่มันทำมาจากเคราติน (keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบหลักของขน ผม และเล็บ หลายๆ คนมักเข้าใจผิดว่านอแรดเกิดจากขนที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นซึ่งไม่ใช่ แรดโดยทั่วไปจะมีนอ 2 นอ แต่บางชนิดอาจจะมีเพียงนอเดียวเท่านั้น!!

5.แรดเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นจึงชอบนอนแช่โคลนหรือแช่ปลักเหมือนหมูหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพื่อดับความร้อนและไล่แมลงที่มารบกวน

6.ชื่อสามัญของแรดในภาษาอังกฤษ คือ Rhinoceros มาจากภาษากรีกคำว่า ῥινός rhinos หมายถึง จมูก และ κέρας keras หมายถึง เขา ดังนั้นคำว่า rhinoceros อาจแปลได้ว่า “จมูกเขา”

7.หากินในเวลากลางคืน กลางวันนอนพักผ่อนซึ่งอาจนอนหลับในท่ายืนก็ได้

8.แรดเป็นสัตว์ที่มีสายตาแย่มาก แต่ประสาทรับกลิ่น และประสาทหูดีเยี่ยม จึงเป็นสัตว์ที่มีนิสัยฉุนเฉียวง่าย โกรธง่าย

9. ปัจจุบันมีแรดเหลืออยู่เพียง 5 ชนิด เท่านั้น!! และทุกชนิดใกล้สูญพันธุ์

พบในทวีปแอฟริกา 2 ชนิด คือ

1.แรดขาว (Ceratotherium simum) เป็นแรดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
2.แรดดำ (Diceros bicornis) เป็นแรดที่มีความใหญ่รองมาจากแรดขาว

ในเอเชียมี 3 ชนิด คือ

1.แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis) พบในภูมิภาคเอเชียใต้ เป็นแรกที่มีนอเดียว หนังหนา มีรอยย่นชัดมาก

2.แรดชวา (Rhinoceros sondaicus) พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คล้ายแรดอินเดีย เป็นแรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หายากที่สุดในโลก สำหรับในประเทศไทยเดิมเคยพบแรดชนิดนี้ด้วย แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปจนหมดแล้ว

3.กระซู่ หรือ แรดสุมาตรา (Dicerorhinus sumatrensis) แรดขนาดเล็กที่สุด พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเด่น มีขนปกคลุมทั้งตัว เป็นแรดที่หายากมากอีกชนิดหนึ่ง สำหรับในประเทศไทยหลงเหลือเพียงแห่งเดียว คือ ป่าดิบบริเวณชายแดนติดกับมาเลเซีย

10.ศัตรูของแรดเพียงอย่างเดียว คือ มนุษย์ ที่ล่าแรดเพื่อเอานอ เนื่องจากมีความเชื่อว่านอแรดมีสรรพคุณทางยา โดยเฉพาะยาจีนเชื่อว่าเป็นยาเย็น สามารถดับพิษไข้ได้

11.ในภาษาไทยยังมีศัพท์เรียก แรด อีกศัพท์หนึ่งว่า “ระมาด” โดยแผลงมาจากภาษาเขมร คือ คำว่า “รมาส” เป็นภาษาที่ใช้กันในวรรณคดี โดยในพื้นที่เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร มีแขวงที่ชื่อ บางระมาด สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของแรด

12.ในเทพปกรณัมของฮินดู แรด เป็นสัตว์พาหนะของพระอัคคี เทพเจ้าแห่งไฟ และเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาคเนย์

13.กระซู่ หรือ แรดสุมาตรา (Dicerorhinus sumatrensis) เป็นแรดขนาดเล็กที่สุด พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน มีลักษณะเด่นคือ มีขนปกคลุมทั้งลำตัว เป็นแรดที่หายากมากอีกชนิดหนึ่ง สำหรับในประเทศไทยหลงเหลือเพียงแห่งเดียว คือ ป่าดิบบริเวณชายแดนติดกับมาเลเซีย

ขอบคุณภาพจาก:: a.abcnews.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง