1 พฤษภาคม ประวัติ วันแรงงานแห่งชาติ วันกรรมกรสากล

ประวัติความเป็นมาวันสำคัญของไทย 1 พฤษภาคมของทุกปี ถือเป็นวันแรงงานแห่งชาติ หรือ วันกรรมกรสากล ไปอ่านประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันแรงงานกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

ประวัติ วันแรงงานแห่งชาติ วันกรรมกรสากล

วันแรงงาน ( Labour Day) เป็นวันหยุดประจำปีให้ผู้ใช้แรงงาน ได้หยุดไปทำการเฉลิมฉลอง เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน เพื่อที่จะฉลองผลงานทางการเศรษฐกิจ และสังคมของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งก็มีหลายประเทศทั่วโลกที่หยุด และฉลองกันในวันที่ มีรายชื่อดังต่อนี้คือ

ประเทศที่ฉลองในวันที่ 1 พฤษภาคม

  1. ประเทศอินเดีย
  2. ประเทศโปแลนด์
  3. ประเทศสวีเดน ประเทศฟินแลนด์ และ ประเทศนอร์เวย์
  4. ประเทศอิตาลี
  5. ประเทศเนเธอร์แลนด์
  6. ประเทศไอร์แลนด์
  7. ประเทศไทย
  8. ประเทศเวียดนาม
  9. ประเทศลาว
  10. ประเทศอียิปต์
  11. ประเทศกรีซ
  12. ประเทศบัลแกเรีย
  13. ประเทศเดนมาร์ก
  14. ประเทศเยอรมนี
  15. ประเทศศรีลังกา
  16. ประเทศจีน
  17. ไต้หวัน
  18. ฮ่องกง
  19. ประเทศเลบานอน
  20. ประเทศสิงคโปร์
  21. ประเทศไอซ์แลนด์
  22. สหรัฐอเมริกา
  23. อิหร่าน

ประวัติ ความเป็นมา วันแรงงานแห่งชาติ

แต่เดิมวันแรงงาน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “เมย์เดย์” เป็นวันเริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ ที่เกษตรกรในประเทศแถบยุโรปจะหยุดงาน เพื่อจัดพิธีเฉลิมฉลองและบวงสรวงเทพเจ้าแห่งการเกษตร ต่อมาไม่นานเมื่อเศรษฐกิจหลักของประเทศพัฒนา เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม ประเพณีวันหยุดประจำปีจึงถูกยกเลิก ขณะที่แรงงานมนุษย์ถูกมองเสมือนเครื่องจักรประเภทหนึ่ง ที่ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 10-16 ชั่วโมง ในสิ่งแวดล้อมที่ย่ำแย่ ด้วยเหตุนี้ประชาชนในสหราชอาณาจักรจึงเริ่มเรียกร้องการปรับปรุงเวลา และเงื่อนไขการทำงาน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “วันแปดชั่วโมง” หรือ “Eight-hour day” ในปี พ.ศ. 2360

พาเหรดวันแรงงานในโทรอนโตในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1900 : ภาพ วิกิพีเดีย

ในปี 2399 หรืออีก 39 ปีต่อมา แรงงานชาวออสเตรเลียก็พร้อมใจกันประกาศให้วันที่ 21 เมษายน เป็นวันหยุดประจำปีของแรงงานทุกคน เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ต่อสู้ในวันแปดชั่วโมง และต่อมาสหพันธ์สหภาพแรงงานจึงประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคม 2429 เป็นวันระลึกวันแปดชั่วโมงทั่วโลก

เมื่อได้ยินเช่นนั้น แรงงานในสหรัฐฯ ทั่วประเทศจึงนัดหยุดงานและออกประท้วงเพื่อสนับสนุนวันดังกล่าว แต่เหตุการณ์บานปลายจนเกิดการปะทะระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุมในเมืองชิคาโก้ จนเป็นเหตุให้ตำรวจและผู้ชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก

จนถึงปี 2447 ระหว่างการประชุมสังคมนิยมระหว่างประเทศที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ก็เกิดกรณีเรียกร้อง ให้องค์กรพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและสหภาพแรงงานทั่วโลก ประท้วงเรียกร้องสิทธิแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม และกำหนดให้องค์กรกรรมการทั่วโลกหยุดทำงานในวันเดียวกัน

ในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ มีการขยายกิจการด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับแรกในปี พ.ศ. 2508 และในปีเดียวกันนั้นได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ปัจจุบัน การบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมมีงานสำคัญเกี่ยวข้องกับแรงงานดังนี้

ความเกี่ยวข้องของ กระทรวงแรงงาน

1. การจัดหางาน

ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน

2. งานแนะแนวอาชีพ

ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความ สามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ

3. การพัฒนาแรงงาน

ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงาน และเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด

4. งานคุ้มครองแรงงาน

วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ

5. งานแรงงานสัมพันธ์

ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจน วิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ

อ้างอิงจาก: คลังปัญญาไทย,วิกิพีเดีย,news.voicetv

ภาพจาก: youinc.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง