มาหัดอู้กั๋นเต๊อะ!! ภาษาเหนือ ภาษาคําเมือง – รวมคำอ่าน และความหมาย

กระแสละคร กลิ่นกาสะลอง มาแรง!! โดยเฉพาะภาษาคำเมืองหรือภาษาเหนือ ที่นักแสดงใช้พูดในละคร เป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์การพูดที่อ่อนหวาน ไพเราะ  น่ารัก ในบทความนี้ รวบรวม ภาษาเหนือ ภาษาคำเมือง มาให้เพื่อน ๆ ชาวแคมปัส-สตาร์ ได้หัดอู้กันนะจ้าววววววว

รวมคำอ่าน ความหมาย – ภาษาเหนือ ภาษาคําเมือง

มาเริ่มกันที่ความหมายของชื่อนางเอกในละครกลิ่นกาสะลองกันก่อน โดยในเรื่อง ญาญ่า อุรัสยา รับบทแสดงเป็นฝาแฝดมีชื่อว่า กาสะลอง และซ้องปีบ

กาสะลอง ความหมาย ดอกปีป ที่มีลักษณะสีขาว กลิ่นหอม

ซ้องปีบ  ความหมาย ดอกปีบที่นำมาประดับผม

รวมคำศัพท์ ภาษาคำเมือง ภาษาเหนือ ในหมวดต่าง ๆ

คำสรรพนาม คำนาม ภาษาเหนือ

เธอ = ตั๋ว (สุภาพ)

เธอ = คิง (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

ฉัน = เปิ้น (สุภาพ)

ฉัน =  ฮา (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

เขา = เปิ้น (สรรพนามบุรุษที่ 3)

ผู้ชาย = ป้อจาย

ผู้หญิง = แม่ญิง

พวกเขา = หมู่เขา

พวกเธอ = สูเขา (สุภาพ)

พวกเธอ = คิงเขา (ไม่ค่อยสุภาพส่วนใหญ่ใชักับเพื่อนผู้ชาย)

พวกเรา = หมู่เฮา, เฮาเขา

พ่อ = ป้อ

พี่ชาย = อ้าย,ปี่

ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา = อุ้ย (เช่น แม่อุ้ย ป้ออุ้ย)

พี่สาว = ปี่

ขอบคุณภาพจาก: ibees_ipr

คำกริยาภาษาเหนือ

กิน = กิ๋น

กำปั้น หมัด = ลูกกุย

ก่าย = ปาด อิง

กางร่ม = กางจ้อง

โกหก = วอก ขี้จุ๊

โกรธ = โขด

กลับ = ปิ๊ก ( เช่น “เฮาปิ๊กบ้านละหนา”)

ขี้เหนียว = ขี้จิ๊

ขโมย = ขี้ลัก

ขี่หลังคน (เกาะ) = เก๊าะ

เครียด = เกี้ยด

คิด = กึ๊ด

เจ็บ = เจ๊บ

จริง = แต๊ (เช่น “แต๊ก๊ะ” หมายถึง”จริงหรอ”)

ใช้ = ใจ๊

เด็ก = ละอ่อน

ดู = ผ่อ

ตกคันได = ตกบันได

ทำ = ยะ (เช่น “ยะหยัง” หมายถึง “ทำอะไร”)

เที่ยว = แอ่ว

นั่งขัดสมาธิ = นั่งขดขวาย

นั่งพับเพียบ = นั่งป้อหละแหม้

นั่งไขว่ห้างเอาเท้าข้างหนึ่งพาดบนเข่า = นั่งปกขาก่ายง้อน

นั่งยอง ๆ = นั่งข่องเหยาะ,หย่องเหยาะ

นั่งลงไปเต็มที่ตามสบาย(โดยไม่กลัวเปื้อน) = นั่งเป้อหละเหม้อ, นั่งเหม้อ

นั่งวางเฉย นั่งหัวโด่ = นั่งคกงก(ก๊กงก)

พูด = อู้

รู้ = ฮู้

รัก = ฮัก

ลื่นล้ม = ผะเริด

วิ่ง = ล่น

สวยจังเลยนะ = งามหลายน้อ

สะดุด = ข้อง

สวมรองเท้า = ซุบแข็บ

สบายอกสบายใจ = ซว่างอกซว่างใจ๋

เหนื่อย = อิด หม้อย

เหรอ = ก๊ะ

ห่วง = ห่วง (คำเมืองแท้ๆ คือ อ่วง ว้อง หรือ ข๋าง)

ให้ = หื้อ

อยากอ้วก อยากอาเจียน = ใค่ฮาก

อยาก = ไข

อย่าพูดมาก = จ๊ะไปปากนัก

อร่อย = ลำ

อร่อยมาก = จ๊าดลำ

อย่าพูดเสียงดัง = จ๊ะไปอู้ดัง

คิดไม่ออก = กึ๊ดหม่ะออก

อย่าคิดมาก = จ๊ะไปกึ๊ดนัก

ขอบคุณภาพจาก: noproblemfg

สีภาษาเหนือ

ดำคุมมุม = ดำสลัวอยู่ในความมืด

ดำคึลึ = คนอ้วนล่ำผิวดำ

ดำผืด = ฝูงนกฝูงกาขนดำอยู่เป็นฝูง

ดำคิมมิม = คนผอมกระหร่อง ผิวดำ

ดำขิกติ้ก = ดำซุปเปอร์

ดำเหมือนหมิ่นหม้อ = ดำเหมือนเขม่าติดหม้อดินที่ไหม้ไฟ

ดำเหมือนเเหล็กหมก = ดำเหมือนเหล็กไหม้ไฟ

ดำผึดำผึด = ดำมากๆทั่วๆไป

ดำผึด = ดำทั่วทั้งแถบ

แดงเผ้อเหล้อ = แดงเป็นจุดใหญ่จุดเดียว

แดงฮ่าม = แดงอร่าม

แดงปะหลิ้ง = แดงอมชมพู แดงเป็นจุดเล็กๆ

แดงปะหลึ้ง = แดงจัดมาก

เหลืองเอิ่มเสิ่ม = เหลืองอมส้ม

เหลืองฮ่าม = เหลืองอร่าม

เขียวปึ้ด = เขียวจัดมาก

เขียวอุ้มฮุ่ม = เขียวแก่

ขาวโจ๊ะโฟ้ะ = ขาวมากๆ

มอยอ้อดฮ้อด = สีน้ำตาลหม่น

ขาวจั๊วะ = ขาวนวล

ขาวเผื้อะขาวเผือก = มองไปทางไหนก็ขาวไปหมด

หม่นโซ้กโป้ก = หม่นสกปรกหรือสีเทาแก่

เปิดเจ้อะเห้อะ = สีขาวซีด

หม่นซ้อกป้อก = หม่นมัวหรือเทาอ่อน

เส้าแก๊ก = สีหม่นหมองมาก

หมองซ้อกต๊อก = ดูเก่า หรือซีด จืดไป

ใสอ้อดหล้อด = สดใสแบบอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ

เส้าตึ้มตื้อ = ใบหน้าหมองคล้ำ สีมืดไม่สดใส

ลายขุ่ยหยุ่ย = ลายพร้อย หรือลายเป็นดอกดวง

ใส่ยงยง = สว่างจ้า

ขอบคุณภาพจาก: noproblemfg

ข้าวของเครื่องใช้ภาษาเหนือ

ถุงเท้า = ถุงตี๋น

กระดุม = บะต่อม

เข็มขัด = สายแอว สายฮั้ง

รองเท้า = เกือก /เกิบ

กรรไกร = มีดยับ มีดแซม

ทับพี = ป้าก

ช้อน = จ๊อน

ยาสูบ = ซีโย

ผ้าเช็ดตัว = ผ้าตุ้ม

ผ้าห่ม = ผ้าต๊วบ

รองเท้าฟองน้ำ = แค็บ

ขอบคุณภาพจาก: aarshar

พืช ผัก ผลไม้ ภาษาเหนือ

มะละกอ = บะก้วยเต๊ศ

แตงล้าน = ม่ะแต๋งซั้ง ( ร้านที่ทำให้เครือแตงพันขึ้นไป ทางเหนือเรียกว่า ซั้ง )

กล้วยน้ำว้า = ก้วยอ่อง / ก้วยนิอ่อง

มะตูม = บะปีน

ส้มเขียวหวาน = ส้มเกลี้ยง เขียวหวาน

น้อยหน่า = ม่ะหน้อแหน้ / น้อยแหน้

บวบงู = ม่ะนอยงู

แตงกวา = บะแต๋ง

กล้วย = เชียงใหม่ เรียก ก้วยใต้ ลำปาง เรียก ก้วยลิอ่อง หรือ ก้วย โก๊ย

กล้วยน้ำว้า = ก้วยใต้

มะเขือเปราะ = บะเขือผ่อย

มะเขือยาว = บะเขือขะม้า – – ออกเสียง ม่ะเขือขะม่า / ม่ะเขือหำม้า

มะระขี้นก = บะห่อย

พุทรา = หม่ะตัน

ละมุด = หม่ะมุด

ขนุน = หม่ะหนุน,บ่ะหนุน

มะพร้าว = บะป๊าว

ส้มโอ = บะโอ

กระท้อน = บะตื๋น หมะต้อง

มะปราง = บะผาง

ฝรั่ง = บ่ะหมั้น,บะแก๋ว

ฟักทอง = บะฟักแก้ว /บะน้ำแก้ว/น้ำแก้ว

ฟักเขียว = บะฟักหม่น

มะเขือเทศ = บะเขือส้ม

กระท้อน = บะตึ๋น

ตะไคร้ = ชะไคร

มะแว้ง = บะแขว้งขม

มะเขือพวง = บะแขว้ง /บ่ะแขว้งกุลา

ผักตำลึง = ผักแคบ

ชะพลู = ผักแค ใบปูนา ปูลิง

ลูกยอ = หม่ะต๋าเสือ

คึ่นช่าย = ผักกะพึน,กำพึน (กะปึน)

สัตว์ภาษาเหนือ

ลูกอ๊อด = อีฮวก

ค้างคก = ค้างคาก กบตู่

กิ้งก่า = จั๊ก-ก่า

ปลาไหล = ปลาเอี่ยน ปลาเหยี่ยน

จิ้งหรีด = จิ้กุ่ง,จิ้หีด

จิ้งเหลน = จั๊ก-กะ-เหล้อ

ขอบคุณภาพจาก: noproblemfg

แสง-เสียง ภาษาเหนือ

มืดสลัวๆ  = มืดสะลุ้ม

มืดสนิท = มืดแถ้ก

มืดลางๆ ยังพอจำหน้ากันได้ = มืดวุ่ยวาย

มืดนิด ๆ = มืดซุ้มซิ้ม

สว่างจ้าสว่างเรืองรอง = แจ้งฮ่าม

สว่างลางๆเลือน ๆ = แจ้งฮุมหุฮุมหู่

สว่างปลอดโปร่งโล่งใจไม่มีอุปสรรค = แจ้งดีขวายงาม

สว่างโร่เห็นได้ชัด = แจ้งลึ้ง

เห็นเลือนๆ ลาง ๆ = หันวุยวาย

นั่งนิ่ง = ดั้กก๊กงก

เงียบกริบ = ดั้กปิ้ง

เงียบเชียบ = ดั้กปิ้งเย็นวอย

ไม่ได้ข่าวคราว = ดั้กแส้ป

เสียงดังก้องไปทั่ว = ดังทึดทึด

คำวิเศษณ์ และอื่น ๆ 

โง่ = ง่าว

ก็ = ก่อ

ถึง = เถิง

เช่น = เจ้น

เป็น = เป๋น

ไม่ = หมะ (เช่น หมะใจ๊ หมายถึง ไม่ใช้)

นะ = เน้อ (เช่น เน้อครับ หมายถึง นะครับ)

ร่ม = จ้อง หมายถึง ร่มกันแดด-กันฝน

ร่มเงา = ฮ่ม

เหนียว = ตั๋ง

ใหญ่ = หลวง (เช่น “หูหลวง” หมายถึง “หูใหญ่”)

แบบนั้น อย่างนั้น = จะอั้น

แบบนี้ อย่างนี้ = จะอี้

ทุก = กุ๊ (เช่น กุ๊ๆ คน หมายถึง ทุกๆ คน)

ยี่สิบบาท = ซาวบาท

ยี่สิบเอ็ด = ซาวเอ็ด

ปฏิทิน = ปั๊กกะตืน คำเมืองแท้ๆจะแปลว่าปฏิทิน

โรงเรียน = โฮงเฮียน

เรือน = เฮือน

คำเล่าลือ = กำสีเน

อิฐ = บ่าดินกี่

หัน แปลว่า เห็น

หื่อ แปลว่า ให้

ท่า แปลว่า คอย

ผ่อ แปลว่า มอง, ดู

บ่ แปลว่า ไม่

ยะ แปลว่า ทำ

ขี้จุ๊ แปลว่า โกหก

ไค้หัน แปลว่า อยากเห็น,อยากดู,อยากมอง

โตย แปลว่า ด้วย

จะอั้น แปลว่า อย่างนั้น

จะไปพั่ง แปลว่า อย่ารีบ

จะได แปลว่า อย่างไร

ขอบคุณที่มาจาก: zenzenji

ขอบคุณภาพจาก: aarsharibees_ipr, urassayas, noproblemfg

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง