ดร.ไซมอน เมอร์ฟี่ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เปิดเผยการ ค้นพบระบบสุริยะใหญ่สุดในกาแลคซี่ ถือว่าใหญ่กว่าที่เคยพบมา ตีพิมพ์ในวารสาร ข่าวสารรายเดือน ของราชสมาคมดาราศาสตร์ หลังพบว่าดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ได้โคจรรอบดาวฤกษ์ของมัน ในระยะห่างถึงหนึ่งล้านล้านกิโลเมตร และต้องใช้เวลา 900,000 ปี ในการโคจร รอบดาวฤกษ์ 1 รอบ
ระบบสุริยะใหญ่สุดในกาแลคซี่
ระบบดังกล่าวคือ TYC94869271 อยู่ห่างจากระบบสุริยะ ไปราว 104 ปีแสง มีดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงเป็นศูนย์กลาง เดิมทีแล้วระบบดาวนี้ไม่ได้มีความโดดเด่นใดๆ นัก จนกระทั่งล่าสุดที่นักวิทยศาสตร์พบว่า มีดาวยักษณ์ชื่อ 2 MASS J2126 โคจรรอบดาวเคราะห์ดวงนี้ ที่ระยะห่างประมาณ 1 ล้านล้าน กม. หรือห่างกว่าระยะห่างระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ 7 พันเท่า ดังนั้นแล้วจึงทำให้ระบบดาวดังกล่าวมีอาณาเขตกว้างใหญ่มากกว่าที่เคยพบมา
นักดาราศาสตร์ค้นพบระบบสุริยะนี้โดยบังเอิญ ในระหว่างการค้นพบดาวเกิดใหม่ และดาวแคชสีน้ำตาลที่อยู่ใกล้โลก ในการศึกษาเบื้องต้นพบว่าระบบสุริยะนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 10-45 ล้านปีที่แล้ว แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าระบบสุริยะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เชื่อว่าระบบสุริยะที่มีขนาดใหญ่แบบนี้ ไม่น่าเกิดจากการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของฝุ่น และก๊าซ เหมือนระบบสุริยะของโลกแน่นอน
ทั้งนี้นักดาราศาสตร์ยังระบุอีกว่าแทบจะไม่มีโอกาส ที่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ขนาดมหึมานี้ได้ เพราะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของมันมากเกินไป เดิมทีแล้ว 2 MASS J2126 ถูกค้นพบตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นหนึ่งในดาวแคระน้ำตาล และกลุ่มดาวอายุน้อย ที่มีอายุราว 45 ล้านปี ที่มนุษย์ได้ค้นพบ แต่แล้วเมื่อนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบการเคลื่อนที่ของมันอย่างละเอียดอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ กลับพบว่ามันโคจรรอบดาวเคราะห์แดง TYC94869271 ในระยะประมาณ 1 ล้านล้าน กม. นับเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจไม่น้อย เพราะก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ไม่เคยค้นพบดาวเคราห็ะดวงใดที่ห่างจากดาวโลกของมันไกลขนาดนี้มาก่อน
ที่มาข้อมูล: Mono29
ภาพประกอบจาก: http://pics-about-space.com/diagram-of-the-eight-planets?p=3