ตำแหน่ง อาลักษณ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่จารึกพระนามลงบนแผ่นทองคำ – งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

กำหนดการงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีกำหนดงาน 3 วัน คือวันที่ 4-5-6 พฤษภาคม 2562 โดยงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีรายละเอียดต่างๆ มากมาย ทั้งพิธีการ ขั้นตอน อุปกรณ์และสิ่งต่างๆ ที่ต้องเตรียม เป็นงานที่สำคัญอย่างมากของประเทศไทยและคนไทย (ตำแหน่ง อาลักษณ์)

ทำความรู้จัก ตำแหน่ง อาลักษณ์

ถ้าใครได้ติดตามงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเคยได้ยินชื่อตำแหน่ง อาลักษณ์ ผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่เขียนพระนามลงบนแผ่นทองคำ หลายคนอาจจะสงสัยว่าตำแหน่งนี้คือตำแหน่งอะไร ทำหน้าที่อะไรในส่วนงานสำนักพระราชวัง วันนี้แคมปัส-สตาร์จะมาไขข้อข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ

ประวัติของตำแหน่ง อาลักษณ์

ในอดีตสมัยที่ยังไม่มีการพิมพ์ตัวหนังสือภาษาไทย ต้องใช้วิธีชุบหมึกเขียน ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีลายมือสวยงาม เรียบร้อย ไม่ว่าใครมาอ่านก็สามารถอ่านได้อย่างไม่ติดขัด สำนักพระราชวังจึงตั้ง “กรมพระอาลักษณ์” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่คัดลอกใบบอกและหนังสือรายงานข้อราชการเพื่อกราบบังคมทูล ตลอดจนคัดประกาศพระบรมราชโองการ และยกร่างหนังสือพระราชหัตถเลขา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แจ้งไปยังหน่วยงานต่างๆ หรือเรียกได้ว่าเป็น ‘ผู้ทำหน้าที่จดหรือเขียนตามคำสั่งของพระมหากษัตริย์’ นั่นเอง

ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกรมพระอาลักษณ์ จะต้องมีลายมือที่สวยงาม เรียบร้อย และต้องรักษาความลับในราชการได้ เพราะเรื่องราวที่บันทึกบางครั้งจะเป็นความลับ โดยผู้รับผิดชอบกรมนี้จะใช้ชื่อว่า “สุนทรโวหาร” หรือ “สารประเสริฐ”

กรมพระอาลักษณ์จึงเป็นหน่วยงานของผู้ที่รู้หนังสือแตกฉาน มีลายมือสวยงามและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย โดยวังหลวง วังหน้า และวังหลัง ต่างมีกรมพระอาลักษณ์ของตนเอง อาทิ สุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ ๔ (ข้อมูลจาก museumthailand.com)

หน้าที่ของตำแหน่ง อาลักษณ์

ผู้ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการทํางาน ปฏิบัติงานด้านอาลักษณะภายใต้การกํากับ แนะนํา ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (ข้อมูลจาก ocsc.go.th) โดยมีงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้แก่

(2) เสนอความเห็นและตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจน

(3) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น จัดทําสถิติ ศึกษาวิเคราะห์ และปรับปรุงหรือจัดทําฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศในงานอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของส่วนราชการและช่วยสนับสนุนการพิจารณากําหนดนโยบายแผนงาน หลักเกณฑ์มาตรการต่างๆ

(4) จัดทําเอกสารคู่มือเกี่ยวกับการปฏิบัติงานอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

(5) วางแผนการทํางานที่รับผิดชอบ ร่วมดําเนินการวางแผนการทํางานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กําหนด

(6) ประสานการทํางานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กําหนด

(7) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดําเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย

(8) ให้คําแนะนํา ตอบปัญหา ชี้แจง เกี่ยวกับงานอาลักษณ์ในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการหรือสาธารณชนทั่วไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถดําเนินการได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง อาลักษณ์

ขอบคุณข้อมูลจาก ocsc.go.th

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง