สิ่งที่ไม่ควรทำใน ขั้นตอนการบวชพระ | ประโคมดนตรี ร้องรำทำเพลง นาคขี่คอ

การบวชพระ เป็นประเพณีไทยที่มีมาอย่างยาวนาน ถือเป็นความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จุดประสงค์ในการบวชคือ เพื่อให้ผู้บวชได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีสติสัมปะชัญญะ เข้าใจความเป็นจริงของชีวิตที่มีการเกิดแก่เจ็บตาย เป็นการนำหลักธรรมมาใช้กับชีวิตประจำวันให้ดำรงชีวิตอย่างมีสติ อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดประเพณีต่อไปด้วย ในที่นี้จะหยิบยกพูดถึงเรื่องขั้นตอนการบวช เพราะในปัจจุบันมีหลายคนอาจจะเข้าใจผิดไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ที่แท้จริงในการบวช

ขั้นตอนการบวชพระที่ถูกต้อง

เหตุการณ์ #วัดสิงห์ ที่กลายเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ ทำให้เห็นว่ายังมีอีกหลาย ๆ คนที่ไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์ในการบวชที่แท้่จริง โดยขอสรุปเหตุการณ์คร่าวๆ ดั่งต่อไปนี้ค่ะช่วงในช่วงบ่ายเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 62 ที่ผ่านมา ทางวัดสิงห์ ถนนเอกชัย ซอย 43 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กทม. ได้มีพิธีอุปสมบท โดยในพิธีได้มีแตรวงมาร้องรำทำเพลงกัน ซึ่งในช่วงเวลานั้นโรงเรียนวัดสิงห์ที่อยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กับวัดสิงห์ ได้มีการสอบ GAT PAT  ของนักเรียนอยู่ด้วย ทางครูของโรงเรียนวัดสิงห์ขอความร่วมมือมาทางวัด ให้ช่วยลดเสียงจากเครื่องขยายเสียงลง เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเด็กที่กำลังสอบ GAT PAT กลุ่มแตรวงดนตรีงานบวชไม่พอใจ โดยให้เหตุผลว่าวงดนตรีที่จ้างมา ให้เงิน 2 หมื่นบาท จึงทำให้นักดนตรีในขบวนแตรวง และญาติๆ ของผู้อุปสมบท ประมาณ 50 คน  เข้าไปทำร้ายผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครูอาจารย์ รปภ. และนักเรียน จนได้รับบาดเจ็บ และยังได้มีการลวนลามนักเรียนหญิงด้วยการหอมแก้ม

ล่าสุด! มีอีกหนึ่งกรณีที่การเปิดเพลงเสียงดังในงานบวช รบกวนนักศึกษาธรรมศาสตร์ โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก Nantachai Yuennan ได้โพสต์ถึงสาเหตุเสียงรบกวนที่ดัง จนได้ยินมาบริเวณหอพัก ทำให้รบกวนนักศึกษาที่กำลังอ่านหนังสือเตรียมสอบกลางภาค โดยระบุว่า สำหรับสถานการณ์เพลงลูกทุ่งที่ส่งเสียงดังไปทั่วทั้งละแวกใกล้เคียงกับม.ธรรมศาสตร์ จากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว สืบทราบมาว่าเป็นการเปิดเพลงมาจากงานบวช ซึ่งจะมียาวนานไปจนถึงวันจันทร์ นั่นหมายความว่าเพลงก็อาจจะส่งเสียงยาวนานไปจนถึงวันจันทร์เช่นเดียวกัน

ในบทความนี้ขอเผยแพร่ขั้นตอนการบวชที่ถูกต้อง พร้อมทั้งขอสรุปว่ามีสิ่งใดที่ไม่ควรทำบ้างในพิธีการบวชให้ทุกคนได้อ่านเป็นเกร็ดความรู้กันค่ะ 

การบวชพระ ปัจจุบัน มีอยู่ 2 แบบ คือ

1. แบบอุกาสะ

โดยคำว่า “อุกาสะ” แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า “เอสาหัง” แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุ กาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล

2. แบบเอสาหัง

ใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า

ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงเฉพาะพิธีการบวชพระแบบอุกาสะเท่านั้น เนื่องจากเป็นการบวชแบบเดิมที่มีมาแต่โบราณ แม้ว่าการบวชในประเทศไทยจะมี 2 แบบ แต่ก็ยึดหลักการบวชตามพุทธบัญญัติทุกประการ ต่างกันเพียงข้อปลีกย่อยบางข้อเท่านั้น

ขั้นตอนการบวชพระแบบอุกาสะ มีดังนี้

1. โกนผมนาค-ที่วัดหรือที่บ้านก็ได้

การปลงผมจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงาน เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไปได้เลย ขั้นตอนการโกนผมเริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข

2. แต่งตัวนาค-ไม่ควรมีเครื่องประดับมากเกินไป

การแต่งตัวนาคควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด บ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช  สิ่งที่ไม่ควรทำคือ มีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป โดยเครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยมดังนี้

3. การเดินประทักษิณก่อนเข้าสู่พิธีอุปสมบท

ไม่ควรส่งเสียง หรือโห่ร้อง ร้องรำทำเพลง ประโคมดนตรี ไม่ควรให้นาคขี่คอ

การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

นอกจากนั้นการทำประทักษิณก่อนเข้าสู่พิธีอุปสมบท ยังเป็นช่วงเวลาให้นาคได้มีโอกาสทำสมาธิรวบรวมจิตใจไม่ให้ตื่นเต้นจนเกินเหตุ ญาติของนาคจึงไม่ควรส่งเสียงหรือโห่ร้อง ร้องรำทำเพลง ประโคมดนตรีอันจะเป็นการรบกวนสมาธิของนาค อีกทั้งไม่ควรให้นาคขี่คอ ขึ้นคานหาม หรือแบกหามซึ่งจะดูไม่เรียบร้อย หากพลัดตกลงมาอาจเป็นอันตรายจนถึงชีวิตทำให้นาคไม่ได้บวช

จึงควรให้นาคเดินตามปกติ โดยให้นาคประณมมือ มีดอกไม้ที่เตรียมไว้อยู่ในมือเดินทำประทักษิณเวียนขวารอบอุโบสถ 3 รอบ จะมีผู้กั้นสัปทนให้นาคก็ได้ การทำประทักษิณให้เริ่มต้นจากสีมาตรงกลางด้านหน้าอุโบสถ (เริ่มจากสีมาที่จะวันทา) ส่วนญาติๆ ถือบริขารพร้อมทั้งเครื่องไทยทานที่จัดเตรียมไว้ ตามความนิยมโดยทั่วไปบิดาจะสะพายบาตรถือตาลปัตร ส่วนมารดาถือพานแว่นฟ้าสำหรับใส่ผ้าไตรครองเดินตามหลังนาค แถวถัดมาเป็นธูปเทียนแพ เครื่องไทยทานสำหรับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด และเครื่องบริขารอย่างอื่นโดยลำดับ ในขณะเดินให้นาคสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ดังนี้ “อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯลฯ”

เมื่อเดินครบ 3 รอบแล้ว นาคต้องวันทาสีมาหน้าอุโบสถก่อนเข้าไปในเขตสีมา นาควางดอกไม้เครื่องสักการะไว้บนพานที่เตรียมไว้ บางแห่งให้จุดธูปเทียนด้วย แต่โดยมากนิยมให้ดอกไม้ธูปเทียนไว้บนพานหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่จัดเตรียมไว้ โดยมากไม่จุดธูปเทียน นาคกราบสีมา 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำวันทาสีมา จากนั้นให้นาคนั่งคุกเข่ากราบ 3 หน แล้วเข้าไปภายในอุโบสถ ในขณะเข้าประตูโบสถ์ไม่ควรยกนาคข้ามธรณีประตู หรือยกขึ้นเพื่อเอามือแตะคานประตู ตามที่นิยมปฏิบัติกันโดยขาดความเข้าใจ เพราะอาจพลัดตกลงมาแขนขาหักได้ ให้นาคเดินเข้าอุโบสถตามปกติ โดยบิดามารดาและญาติจะแตะที่ตัวนาคตามเข้าไปก็ได้

4. การบรรพชา (บวชสามเณร)

เมื่อนาคได้เข้าไปในอุโบสถแล้ว นาคจะวันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่) มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ 3 หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง 3 หน พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร กล่าวคำ ขอบรรพชา นาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆ พระอุปัชฌาย์เพื่อคล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์

5. การอุปสมบท (การบวชพระ) เริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง

การอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์ การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่างที่เรียกว่าบริขาร 8 จึงจะสามารถบวชได้ สามเณรรับบาตรจากบิดามารดาที่นำมาประเคนเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำขออุปสมบท

6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม อันตริยกธรรม

แปลว่า ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ เช่น ไม่เป็นโรคน่ารังเกียจ ไม่ทุพลภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่มีหนี้สินติดตัว มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น การซักซ้อมอันตรายิกธรรมเป็นการทำความเข้าใจระหว่างพระคู่สวดกับผู้ที่ขอ บวชเป็นพระภิกษุว่า หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์

จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประณมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์ การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง  ( อนุศาสน์ หมายถึง คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ คล้ายเป็นบทปฐมนิเทศ)

โดยสรุปแล้วสิ่งที่ไม่ควรทำในขั้นตอนการบวชพระ ได้แก่

ที่มาจาก: dmc.tv

ภาพจาก: @aleksiii, chrissie, Arisa Chattasa, Evan Krause

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง