ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับมือใหม่ (ภ.ง.ด.90/91)

ในช่วงเดือนมกราคมถึงประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นระยะเวลาของการยื่นภาษีสำหรับผู้มีเงินได้ทุกประเภท โดยการยื่นภาษีที่ง่ายและสะดวกที่สุดนั่นคือ ‘การยื่นภาษีออนไลน์’ สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเดินทางไปที่กรมสรรพากร สะดวก ง่าย และรวดเร็ว

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงาน เป็นมือใหม่และเพิ่งเคยยื่นภาษีครั้งแรก อาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับระบบการเก็บภาษีที่ผู้มีเงินได้ทุกคนจะต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.ง.ด.90/91 ซึ่งสามารถยื่นออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 เมษายน 2562 ดังนั้นวันนี้แคมปัส-สตาร์จะมาบอกขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ สำหรับมือใหม่ เพื่อให้มือใหม่เข้าใจและสามารถทำตามได้ง่ายๆ มาฝากค่ะ

ทำไมต้องยื่นภาษี?

ภาษี เป็นแหล่งรายได้สำคัญของของภาครัฐแทบทุกประเทศ เพราะรัฐต้องใช้จ่ายในด้านต่างๆ เช่น การลงทุน การรักษาความปลอดภัย การรักษาพยาบาล การดูแลรับรองแขกบ้านแขกเมืองเพื่อความสัมพันธ์อันดี เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถูกนำไปใช้เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนในประเทศ ถ้ารัฐมีรายจ่ายมากแต่มีรายรับที่ไม่เพียงพอ ประเทศชาติก็อาจมีปัญหาตามมาได้ ดังนั้น ประชาชนในประเทศจึงต้องช่วยกันสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อความกินดีอยู่ดีของคนทุกๆ คนในประเทศ

ใครต้องยื่นภาษีบ้าง?

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ตารางการเสียภาษีประจำปี 2561

การเสียภาษีจะคำณวนจากเงินได้ของบุคคลนั้นๆ หากมีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,0000 บาท จะได้รับการยกเว้นเสียภาษี แต่หากมีเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท จะต้องเสียภาษีดังตารางที่แสดง

การลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อนภาษี คือสิทธิประโยชน์ที่ช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลงเมื่อคำนวณภาษี หรืออาจช่วยให้ได้เงินคืนภาษีเพิ่มขึ้น โดยจะขึ้นอยู่กับสถานะโดยรวมไม่เกี่ยวข้องกับเงินได้ที่หามาได้ เช่น การมีครอบครัว การทำประกันชีวิต กู้เงินซื้อบ้าน เป็นต้น โดยมีรายละเอียดประเภทของการลดหย่อนภาษี ดังนี้

  1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว ได้แก่ ค่าลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ค่าลดหย่อนบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
  2. ค่าลดหย่อนจากประกันชีวิตและเงินออม ได้แก่ ค่าเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันภัย เบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ เงินสมทบประกันสังคม
  3. ค่าลดหย่อนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย เที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด ช็อปช่วยชาติ
  4. ค่าลดหย่อนจากการบริจาคเงิน ได้แก่ เงินบริจาคทั่วไป เงินบริจาคให้พรรคการเมือง เงินสนับสนุนการศึกษา

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์

1. เข้าเว็บไซต์ rd.go.th คลิกที่ ‘ยืนแบบผ่านอินเทอร์เน็ต’

2. คลิก ‘ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’ 

3. หากเป็นครั้งแรกที่ยื่นภาษีออนไลน์ ต้องลงทะเบียนก่อน โดยคลิกที่ ‘ลงทะเบียน’

4. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน

5. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ให้กรอก Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบ

6. เข้าสู่พาร์ทของการบันทึกข้อมูล โดยจะมีรายละเอียดทั้งสิ้น 6 หน้า ได้แก่

กรอกข้อมูลใน’หน้าหลัก’ให้ครบถ้วน จากนั้นคลิก ‘ทำรายการต่อไป’

7. จะปรากฏหน้า ‘เลือกเงินได้/ลดหย่อน’ ให้เลือกประเภทของเงินได้ หากเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานและมีเงินเดือนเป็นรายได้อย่างเดียว ให้ทำเครื่องหมายที่ ‘มาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัส ฯ’ ส่วนด้านเงินลดหย่อนให้ทำเครื่องหมายถูกต้องและครบถ้วน จากนั้นคลิก ‘ทำรายการต่อไป’

8. จะปรากฏหน้า ‘บันทึกเงินได้’ ใส่ข้อมูลเงินได้, ภาษี ณ ที่จ่าย และเงินกองทุนให้ถูกต้องและครบถ้วน (ตามที่ระบุในใบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือ 50 ทวิ) จากนั้นคลิก ‘ทำรายการต่อไป’

9. จะปรากฏหน้า ‘บันทึกลดหย่อน’ ซึ่งระบบจะแสดงข้อมูลรายการลดหย่อนและยกเว้นตามที่เลือกไว้ในขั้นตอนที่ 9 และกรอกข้อมูลเงินสมทบกองทุนประกันสังคม จากนั้นคลิก ‘ทำรายการต่อไป’

10. จะปรากฏหน้า ‘คํานวณภาษี’ ระบบจะสรุปข้อมูลการคํานวณภาษีและเงินที่ได้รับการลดหย่อน ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง และเมื่อเลื่อนมาด้านล่างจะมีคำถามว่าต้องการอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองหรือไม่ หากต้องการให้ระบุพรรคและจำนวนเงิน จากนั้นคลิก ‘ทำรายการต่อไป’

11. จะปรากฏหน้า ‘ยืนยันการยืนแบบ’ ระบบจะแสดงหน้าแบบแสดงรายการภาษีตรวจสอบข้อมูลและจํานวนภาษีทีชําระเพิมเติมหรือจํานวนภาษีทีชําระไว้เกิน และทำเครื่องหมายช่อง ‘มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี’ จากนั้นคลิก ‘ยืนยันการยื่นแบบ’

12. จะปรากฏหน้า ‘ผลการยื่นแบบ’ สามารถเลือก ‘พิมพ์แบบ’ เพื่อเก็บเอกสารไว้เป็นหลักฐาน หรีอเลือก ‘นำส่งเอกสารขอคืนภาษี’ ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังระบบบริการข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (EDSS)

13. เมื่อเข้ามาสู่หน้าระบบบริการข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (EDSS) แล้ว ให้เลือก Upload เอกสารที่ต้องการนําส่ง จากนั้นคลิก ‘นําส่งเอกสารประกอบการพิจารณาคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก rdserver.rd.go.thth.jobsdb.com, เพจกรมสรรพากร ( Revenue Department )estopolis.commoneyguru.co.thrd.go.thitax.in.th

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง