Nudge Theory ใช้ทฤษฎีช่วยเก็บเงิน – มีเงินเก็บเหมือนคนอื่นสักที

ใช้ ทฤษฎีช่วยเก็บเงิน – หลายๆ ครั้งที่ตั้งใจไว้ว่า ปีนี้จะเก็บเงินไปญี่ปุ่น ไปยุโรป ไปคอนเสิร์ต แต่สุดท้ายความหวังก็พังทลาย สิ้นเดือนก็ใช้หมดทุกบาท ทุกสตางค์ แผนที่อยากจะทำนั่นทำนี่ หรือไปโน่นไปนี่ ก็ต้องล้มเลิกไป วันนี้ Campus-Star นำวิธีดีๆ ช่วยให้การเก็บเงินเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น 

Nudge Theory – ทฤษฎีช่วยเก็บเงิน

Nudge Theory คืออะไร ?

เป็นทฤษฎีของ ดร.ริชาร์ด เอช. เธเลอร์ (Richard H. Thaler) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน โดยอธิบายคร่าวๆ ได้ว่า เป็นการออกแบบสถานการณ์หรือทางเลือก ที่จะผลักดันให้เราทำในสิ่งที่ต้องการ หรือคาดหวังไว้ แต่ไม่ใช่การบังคับ ปกติแล้วเราจะไม่คิดถึงเป้าหมายระยะยาว แต่คิดถึงเป้าหมายระยะสั้นๆ มากกว่า และการบังคับให้ตัวเองเก็บเงินก็อาจจะทำให้คุณเครียดเกินไป ทฤษฎีนี้จึงสามารถนำมาประยุกต์กับเก็บเงินได้ดี

ให้รางวัลตัวเอง

ทุกคนๆ ชอบที่จะได้รับรางวัลเมื่อทำความดี ฉะนั้นถ้าคุณอยากจะมีพฤติกรรมการใช้เงินที่ดีขึ้น คุณต้องเริ่มกำหนดรางวัลที่จะให้กับตัวคุณเองเมื่อคุณสามารถเก็บเงินได้ถึงเป้าหมายที่ต้องการ จะทำให้คุณมีกำลังใจ มีแรงบันดาลใจในการเก็บเงินมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ควรที่จะใช้เงินที่เก็บไว้ไปกับรางวัลจนหมดนะจ๊ะ

เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน

ถ้าคุณตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะไปเที่ยวให้ได้ภายในครึ่งปีนี้ คุณก็ควรที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของคุณ จากที่ดื่มกาแฟแพงๆ ทุกเช้า เปลี่ยนมาเป็นกาแฟที่ถูกลงมาหน่อยเพื่อที่จะได้เก็บเงิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรเปลี่ยนสิ่งที่คุณคิดว่าเปลี่ยนแล้วไม่ทำให้ลำบากใจ ถ้าคุณเป็นคอกาแฟ คุณอาจจะอึดอัดและทำได้ไม่นาน และควรตั้งเป้าหมายไว้ว่าในทุกๆ วัน หรือทุกๆ เดือนจะเก็บเงินเท่าไหร่ ไม่ใช่แค่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะใช้เงินให้น้อยที่สุด

แยกเงินออกเป็นส่วนๆ – ทฤษฎีช่วยเก็บเงิน

คุณควรที่จะแยกเงินออกเป็นส่วนๆ ว่าส่วนไหนที่เป็นเงินเก็บ และส่วนไหนที่ใช้ได้ โดยแยกในใจ หรือทำให้เป็นรูปธรรม แต่การทำออกมาให้เป็นรูปธรรมเลยจะดีกว่า โดยแยกเงินเก็บ ไว้ในบัญชีธนาคารอีกบัญชี ถ้าคุณนำเงินเก็บไว้ในบัญชีเดียวกัน คุณจะคิดว่ายังมีเงินอยู่อีกเยอะเลย ใช้อีกหน่อยก็ได้ ไม่เห็นเป็นอะไร และสุดท้ายสิ้นเดือนก็ไม่เหลือเงินเก็บ

ตรวจดูยอดเงินเสมอ

ตรวจดูยอดเงินของคุณสม่ำเสมอ อย่างน้อยๆ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถึงแม้ว่าจะทำให้คุณเจ็บปวดใจแค่ไหน กับตัวเลขที่เห็นในบัญชี แต่นั่นก็เป็นสิ่งเตือนใจชั้นยอด ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้ออะไร และเมื่อคุณได้เงินเดือนมา ให้แยกเงินที่จะเก็บไว้ก่อน และทำให้สม่ำเสมอทุกเดือน ถ้ากลัวจะลืมให้ตั้งเตือนทุกๆ เดือน ในวันที่เงินเดือนออก

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.theguardian.com และ www.marketinginblack.net

บทความแนะนำ :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง