ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทยหันมาเลี้ยงกระต่ายกันมากขึ้น เพราะนิสัยที่ไม่ดุร้าย เชื่องคน สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของได้ รักสะอาด ไม่ส่งเสียงดังและกลิ่นเหม็นรุนแรง ไม่เป็นพาหะนำโรคสู่มนุษย์ เลี้ยงดูง่าย ใช้พื้นที่น้อย และใช้งบประมาณเลี้ยงที่ต่ำเมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ กระต่ายจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเด็ก ๆ และผู้อาศัยอยู่ในพื่นที่จำกัด เช่น อาพาร์ตเมนท์ คอนโดมิเนี่ยม เป็นต้น
ทุกข้อมูลน่ารู้ วิธีเลี้ยงกระต่าย
ซึ่งต้องการเพื่อนตัวเล็กไว้คลายเหงา ยังได้มีการนำเข้ากระต่ายสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ดูน่ารักแปลกตามาจากต่างประเทศมากขึ้น เช่น พันธุ์ไลอ้อนเฮท, เจอรี่วู้ดดี้, เทดดี้แบร์, ล๊อป, ดัชท์, กำมะหยี่ แคระ เป็นต้น ทำให้มีกระต่ายที่หลากหลายนอกจากพันธุ์พื้นเมืองซึ่งคุ้นหูคุ้นตาดีอยู่แล้วให้เลือกซื้อหาตามความชอบพอของแต่ละคน สำหรับผู้ต้องการเลี้ยงกระต่าย มีข้อมูลต่างๆ น่าสนใจมาฝาก
งบประมาณ
เริ่มแรก ควรเตรียมงบประมาณไว้สัก 1,500-4,000 บาท เพื่อเป็นทั้งค่าตัว ค่าอุปกรณ์ และค่าอาหารของเจ้าตัวน้อย
ค่าตัวกระต่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับอายุและสายพันธุ์ ในสายพันธุ์เดียวกันตัวที่อายุมากกว่าราคาก็จะสูงกว่า ถ้าเป็นคนละสายพันธุ์ก็อยู่ที่ว่า เป็นสายพันธุ์อะไร เป็นสายพันธุ์แท้หรือผสม เป็นสัญชาติไทยหรือเทศ เช่น กระต่ายพันธุ์พื้นเมืองอายุ 2 เดือนราคาไม่เกิน 100 บาท ไลออนเฮทสัญชาติไทยราคาประมาณที่ 200-300 บาท ขณะที่มินิล๊อปนำเข้าราคาอาจสูงถึง 3000 บาท
ในการเลือกซื้อกระต่าย
ควรคำนึงถึงความน่าเชื่อถือของฟาร์ม หรือผู้ขายและสุขภาพของกระต่ายเป็นสำคัญ กระต่ายที่มีสุขภาพดีสังเกตได้ง่าย ๆ จากดวงตาที่ใสสะอาด ไม่มีขี้ตา ปลายเนื้อจมูกชื้นเล็กน้อยไม่แห้งและไม่เปียกชุ่ม ใต้คางแห้งสนิท บริเวณก้นและอวัยวะเพศสะอาด ไม่มีอุจจาระติดเลอะเทอะเพราะอาจจะท้องเสียหรือเคยท้องเสีย บริเวณจมูก ใบหู และเท้าทั้งสี่ข้าง ไม่มีแผลหรือผิวหนังตกสะเก็ดเป็นขุย
ควรเลือกซื้อกระต่ายมีอายุประมาณ 45-90 วัน
ถ้าน้อยกว่านั้นก็จะอ่อนแอเกินไป ถ้าแก่กว่านั้นก็อาจทำความคุ้นเคยกันกับเราได้ยากขึ้น
เงินที่เหลือจากนั้นก็นำไปซื้อกรง ที่ใส่อาหาร ที่ใส่น้ำและที่แปรงขน (สำหรับพันธุ์ขนยาว) ซึ่งรวมแล้วไม่น่าจะเกิน 600 บาทด้วยซ้ำ
กรงเลี้ยงกระต่าย
กรงนั้นก็ควรซื้อเป็นกรงลวดกันสนิม หรือกรงไม้ที่แข็งแรง มีถาดรองมูล ขนาดมาตรฐาน 45 x 70 x45 ซ.ม. พื้นกรงมีช่องกว้างไม่เกิน 1 ซ.ม. ไม่ควรซื้อกรงเคลือบพลาสติก เพราะเขาจะแทะกรงเนื่องจากขากรงชอบแทะโดยธรรมชาติของกระต่ายเป็นสัตว์ชอบแทะโดยธรรมชาติ (ห้ามกันไม่ได้) ซึ่งพลาสติกที่แทะออกมาก็จะเป็นอันตรายต่อเขาอย่างแน่นอน
ที่ใส่อาหาร และน้ำ ของกระต่าย
ก็ควรซื้อแบบที่มีฐานกว้าง เพื่อเวลาที่เพื่อนตัวน้อยของเราซุกซนอาหาร และน้ำจะได้ไม่หกเลอะเทอะไงคะ
–วิธีการดูแลที่เหมาะสม–
เมื่อได้กระต่าย อุปกรณ์ต่างๆ แล้ว สิ่งสำคัญต่อมา ก็คือ วิธีการดูแลที่เหมาะสมเพื่อให้เพื่อนตัวน้อยและเรา อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีอะไรกันบ้าง มาดูกันค่ะ
ที่ตั้งกรง
ควรตั้งอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีหลังคาบังแดดบังฝนค่ะ เพราะหากปล่อยให้ถูกแดด หรือละอองฝนจะทำให้กระต่ายน้อยของเราเครียดหรือเป็นหวัดได้ และถ้าเขามีความคุ้นเคยกับเรามากขึ้นก็ควรเปิดกรงให้เขาออกมาวิ่งเล่นบ้างหรือบ่อย ๆ ก็ดีนะคะ เพราะนั่นจะเป็น ผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเขา
วิธีสร้างความคุ้นเคยกับกระต่าย
การสร้างความคุ้นเคยทำได้ไม่ยากเลยค่ะ โดยการเรียกชื่อที่เราตั้งให้ซ้ำ ๆ การลูบคลำ การให้อาหารจากมือ และการอุ้ม
การอุ้มกระต่าย
สำหรับการอุ้มที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าให้อุ้มโดยยกที่หูของกระต่ายนั้น ถือเป็นวิธีการที่ผิดอย่างยิ่งค่ะ เพราะหูของกระต่ายเป็นส่วนที่ เปราะบางมาก เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ซึ่งการจับ หรืออุ้มกระต่ายที่หูนั้น จะทำให้เกิดความบอบช้ำได้
วิธีที่ถูกต้อง คือ ควรใช้มือจับที่สันหลังกระต่ายอย่างนุ่มนวลแต่กระชับ แล้วใช้อีกมือหนึ่งจับบริเวณสะโพกเพื่อกันไม่ให้เขาหลุดจากมือค่ะ
การให้อาหารกระต่าย
การให้อาหารกระต่าย ที่สะดวกและปลอดภัยที่สุด คือ การให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปค่ะ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอาหารสัตว์ทั่วไป ราคาก็เพียงกก.ละ 15-50 บาทเท่านั้น เพราะในอาหารเม็ดแต่ละชนิดจะมีการผสมสารอาหารที่ครบถ้วนเพียงพออยู่แล้ว นอกจากนั้นเราก็สามารถกะปริมาณอาหารให้พอดีในแต่ละวันได้ง่ายกว่า ไม่ควรปล่อยให้อาหารค้างเหลือในแต่ละวัน เพราะจะทำให้กระต่ายน้อยอาจท้องเสียได้
การทำความสะอาดกระต่าย
ในส่วนของการทำความสะอาด เพื่อนตัวน้อยของเรานั้น ไม่มีความจำเป็นมากนัก เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่รักความสะอาดอยู่แล้ว ดังนั้นเขาจะเลียขนตัวเองเพื่อทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา เราจึงแทบไม่ต้องดูแลในส่วนนี้เลย แต่ถ้าต้องการจะอาบน้ำให้เขาจริง ๆ ก็สามารถทำได้แต่ต้องรอให้อายุเกิน 3 เดือนขึ้นไปก่อน เพราะถ้าเด็กกว่านั้นร่างกายจะยังไม่แข็งแรงอาจเป็นหวัดหรือปอดบวมได้
การอาบน้ำกระต่าย
ควรเลือกวันที่อากาศร้อน และมีแดดจัด ใช้แชมพูแบบอ่อน ๆ จะเป็นแชมพูสำหรับหนู แมวหรือสุนัขก็ได้ ห้ามใช้แชมพูคนหรือแชมพูกำจัดเห็บหมัดเพราะเขาค่อนข้างไวต่อสารเคมีค่ะ ใช้สำลีอุดหูกันน้ำเข้าหูก่อนอาบ เมื่ออาบเสร็จก็เช็ดด้วยผ้าสะอาด แล้วเป่าด้วยไดร์เป่าผมจนแห้งสนิท ถ้าเป็นพันธุ์ขนยาวก็ต้องแปรงขนด้วยแปรงอีกครั้งหนึ่งค่ะ
กระต่ายที่อยู่ตามธรรมชาติ
กระต่ายที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ จะต้องออกเดินทางหาอาหาร ต้องหลบหนีจากการถูกตามล่า โดยผู้ล่า เช่น หมาป่า เหยี่ยว และต้องต่อสู้กับอากาศที่หนาวเย็นหรือร้อนจัดตามธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ล้วนต้องอาศัยพลังงาน ดยต้องดึงเอาพลังงานจากอาหารที่กินเข้าไปเอาออกมาใช้ จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องอ้วน แถมอาหารก็ยังไม่ใช่พวกแป้งเหมือนอาหารสำเร็จรูป แต่เป็นหญ้า และผักตามธรรมชาติ
กระต่ายบ้าน
แต่กระต่ายบ้าน หรือกระต่ายที่เราเอามาเลี้ยงเป็นเพื่อน ส่วนมากจะโดนขังในกรง บางตัวเจ้าของแทบไม่เคยปล่อยออกมาวิ่งเล่นออกกำลังกายนอกกรงเลย ทั้งๆที่กระต่ายควรจะได้รับอิสรภาพ ได้ออกกำลังกายวิ่งเล่นข้างนอกกรงบ้าง และอาหารก็ยังไม่เคยต้องหาเอง มีเจ้าของหาอาหารมาให้ บางตัวก็ได้กินแต่อาหารเม็ด ส่วนพวกหญ้า หรือผักใบเขียวแทบจะไม่ได้แตะเลยก็มี ยังงี้จะไม่ให้อ้วนได้ยังไงเนอะ แถมบางตัวก็ยังจะโดยตอนหรือทำหมันเสียอีก ผลก็คือ เจ้ากระต่ายตัวน้อยก็เลยอ้วนปั๊ก
กระต่ายอ้วนไม่ใช่กระต่ายแข็งแรง
แต่กระต่ายอ้วนถึงจะดูน่ารักแต่ไม่ใช่ว่าจะดีนะคะ กระต่ายอ้วนก็เหมือนกับคนอ้วนๆ สุขภาพจะไม่แข็งแรงค่ะ ไม่เหมือนคนที่สุขภาพดีที่ออกกำลังกายอยู่เสมอ ผลที่ตามมาจากการที่กระต่ายอ้วนมากเกินไปก็คือ ทำให้มีปัญหาเรื่องหลอดเลือด และก็ยังมีผลกับพวกข้อต่อต่างๆที่ต้องรับน้ำหนักมากเกินความจำเป็น นอกจากนี้ กระต่ายทีอ้วนมากจนเกินไปจะทำความสะอาดตัวเองได้ไม่สะดวกด้วย การจะก้มไปยังบริเวณก้น เพื่อที่จะกินอึพวงองุ่นก็ทำได้ยาก ยิ่งทำให้กระต่ายไม่ได้รับสารอาหารที่ควรจะได้จากอึพวงองุ่นไปเสียอีก
รู้ได้อย่างไรว่า กระต่ายผอมไป ?
กระต่ายบางตัวที่เป็นกระต่ายขนยาวอาจจะดูยากหน่อย เพราะขนที่ยาวฟูจะหลอกตาให้ดูเหมือนอ้วน แต่ถ้าใครจับอาบน้ำจะเห็นว่าตัวนืดเดียว อันนี้ก็ควรต้องพยายามสังเกตกันหน่อยค่ะ แต่ถ้าเป็นกระต่ายขนสั้นจะสังเกตเห็นได้ง่ายกว่ากันเยอะเลย วิธีดูง่ายๆว่ากระต่ายผอมไปหรือเปล่าให้ใช้มือคลำดูค่ะ โดยลูบไปบริเวณสันหลัง ถ้าหากเราคลำเจอโครงกระดูกแปลว่าผอมไปเสียแล้วหละ
รู้ได้ยังไงว่าอ้วนไป ?
กระต่ายที่มีหัวกลม ตัวมักจะป้อมๆ กระต่ายที่อ้วนมักมีเหนียงที่คอมาก นอกจากนี้เราจะเห็นด้วยตาได้ว่า ช่วงไหล่ ขา ว่าใหญ่มีเนื้อมากไปหรือไม่
กระต่ายอ้วนเกินไปทำยังไง ?
ควรจะลดอาหารเม็ด และให้หญ้าจำพวก Timothy หญ้า hay หรือ หญ้าขนแทน โดยใส่ไว้ในกรงให้กระต่ายสามารถจะกินได้ทั้งวัน และอาจจะเสริมผักใบเขียวต่างๆ หรือ แครอท เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ถ้ากระต่ายทำท่าไม่ยอมกินเลย เราอาจจะให้ต้องใจแข็งค่ะ อย่าใจอ่อนเพราะกระต่ายจะเรียนรู้เองว่าไม่กินก็อด แล้วก็จะพยายามกินเองในที่สุด (แต่การเปลี่ยนอาหารให้เปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปนะคะ ไม่ใช่เปลี่ยนที่เดียวหมด)
การออกกำลังกาย
นอกจากนี้ก็ควรปล่อยให้กระต่ายได้ออกมาวิ่งเล่น ออกกำลังกาย นอกกรงบ้างค่ะ (แต่ระวัง สายไฟ ยาฆ่าแมลง พืชมีพิษ สุนัข แมว หรือผู้ล่าอื่นๆ