การบริจาคร่างกาย อวัยวะ ดวงตา มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ? รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

หลายๆ คนที่ไม่กล้าไปบริจาคร่างกาย บริจาคอวัยวะ หรือบริจาคดวงตา เนื่องจากมีความคิดที่ว่า เมื่อตายไปแล้ว ร่างกายตัวเองจะไม่สมบูรณ์ ไม่สมประกอบ คือไม่ครบ 32 ประการนั่นเอง แต่ในวันนี้มุมมองเหล่านั้นได้เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อคนเห็นแล้วว่าการบริจาคทั้งหลายนี้มีข้อดีอะไรบ้าง แล้วจะเริ่มต้นยังไง มีขั้นตอนอะไรบ้าง วันนี้ Campus-Star นำเสนอขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

การบริจาคร่างกาย อวัยวะ ดวงตา

Note :

– เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จะร่วมกับนักศึกษาแพทย์ปี 2 ทุกคน เป็นเจ้าภาพจัดงานพระราชทางเพลิงศพ ให้กับอาจารย์ใหญ่ทุกๆ ท่าน

การบริจาคแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ 1.ตา 2. อวัยวะ 3. ร่างกาย .. เราสามารถบริจาคได้ทั้ง 3 อย่าง แต่จะถูกเอาไปใช้ในแบบไหนขึ้นอยู่กับสาเหตุการเสียชีวิต / บริจาคอวัยวะ = สมองตาย / บริจาคร่างกาย = แก่ตาย

– การบริจาคร่างกาย –

อาจารย์ใหญ่ คือ ร่างกายของมนุษย์ ที่ได้แสดงเจตจำนงชัดเจนในการบริจาคร่างกายไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ใช้ร่างกายของตัวเองในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง มหกายวิภาคศาสตร์ หรือระบบของร่างกายนั่นเอง

คุณสมบัติอาจารย์ใหญ่ ผู้ที่บริจาคร่างกายให้เป็นอาจารย์ใหญ่นั้น ต้องไม่เสียชีวิตด้วยโรคร้ายแรง และต้องมีอวัยวะหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายครบถ้วน

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

รับบริจาคร่างกาย เปิดทำการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ เปิดทำการ 08.00-14.00 น. ค่ะ

ศาลาทินทัต ที่รับบริจาคร่างกาย เป็นอาจารย์ใหญ่ค่ะ

เอกสารเกี่ยวกับการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา

ตัวอย่าง บัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกาย เพื่อการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์

– การบริจาคอวัยวะ –

การบริจาคอวัยวะ คือ การบริจาคแค่อวัยวะภายในของผู้เสียชีวิตที่ใช้ประโยชน์ได้ เช่น หัวใจ ปอด ไต ตับ อื่นๆ ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่อวัยวะสำคัญเสื่อมสภาพ เมื่อหมอปลูกถ่ายอวัยวะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำร่างผู้เสียชีวิตส่งกลับคืนให้กับทางครอบครัว เพื่อนำไปประกอบพิธีทางศาสนาต่อไป

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย The Thai Red Cross Organ Donation Centre

เอกสารที่เกี่ยวข้อง** โปรดอ่านทำความเข้าใจ

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

การเดินทางไปโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS สถานนีศาลาแดง ออกประตู 5 / แต่การบริจาคร่างกาย บริจาคอวัยวะ บริจาคดวงตานี้ต้องไปติดต่อทีละตึก ทีละแผนกค่ะ คนที่ทำงานที่นี่นั้นใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความช่วยเหลือดีมากๆ

ที่มาข้อมูล อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.redcross.or.th/page/50113

ศูนย์รับบริจากอวัยวะสภากาชาดไทย

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

– บริจาคเลือด –

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

National Blood Centre Thai Red Cross Society

วิชาที่ทุกคนต้องผ่าน กับตำนานอาจารย์ใหญ่

ปี 2 จะต้องมีเรียนวิชาอาจารย์ใหญ่ค่ะ เรียนเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตอนแรกกลัวมาก เป็นคนไม่กลัวเลือด เข็ม แต่กลัวผี ขนลุกทุกครั้งที่เห็น แต่พอเรียนไปสักพัก ก็เริ่มสนุกขึ้นนะ เพราะเรารู้ว่าอาจารย์ท่านมาดี ท่านตั้งใจให้เราได้ศึกษา แล้วทุกครั้งเวลาที่เราเรียนเสร็จ พวกเราจะต้องรวมตัวทำพิธีที่คณะ แล้วก็แยกไปทำตามวัดต่างๆ สำหรับความเชื่อของหนู คืออาจารย์ท่านให้เรามากเหลือเกิน เราควรจะไปส่งท่านครั้งสุดท้าย เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณท่านเท่าที่เราจะทำได้ค่ะ อย่างเคยมีเรื่องเล่าของรุ่นพี่คนหนึ่งนะ ที่เขาไม่ไปทำ แล้วพูดจาแบบไม่ค่อยแคร์ ปรากฏว่า พี่เขาสอบไม่ผ่านตั้งแต่ปี 3 เลยค่ะ พี่เขาก็ต้องไปขอขมาท่าน ถึงจะสอบผ่านได้นะ..

เรื่องเล่าจาก ข้าวโพด-ณัฐฐา อินต๊ะซาว นิสิตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลจากจากนิตยสาร Campus star V.17 (สัมภาษณ์เมื่อ ตุลาคม 2014)

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง