5 เรื่องจริง ที่มาพร้อมเฟซบุ๊ค | ข้อควรระวังในการใช้ Facebook

เคยแนะนำกระทู้ “10 เรื่องจริงของเฟซบุ๊คที่ควรรู้ไว้” และ กระทู้ “เฟซบุ๊ค กับคนขี้อิจฉา” จนเวลาผ่านไป มีคนกระชับนิยาม เรื่องจริง ที่มาพร้อมเฟซบุ๊คให้อ่านกัน ให้คิดตามกันขำๆ ว่า จริงหรือเปล่า

5 เรื่องจริง ที่มาพร้อมเฟซบุ๊ค

1. เจ้านายและลูกน้อง คู่ไม่ควรบนเฟซบุ๊ค

เป็นผลสำรวจจากอเมริกา ที่ว่า เจ้านาย ลูกน้อง ไม่ควรจะมาเจ๊าะแจ๊ะกันบนเฟซบุ๊ค เพราะเพื่อนเฟซบุ๊คสมัยนี้รู้เรื่องของอีกฝ่ายละเอียดยิบราวกับเป็นพยาธิใบไม้ในตับก็ไม่ปาน แต่ถ้าเจ้านายลูกน้องรู้ใส้รู้พุงกันมากเกินไป งานก็อาจจะไม่เป็นงาน เช่น ลูกน้องเอาเรื่องงี่เง่าที่เจ้านายทำมาแบล๊กเมล์ขอขึ้นเงินเดือน เจ้านายขู่จะแฉว่าลูกน้องมีกิ๊ก หรือทั้งสองฝ่ายสินทกันมากๆ ลูกน้องคนนั้นก็จะกลายเป็นคนโปรด ถึงจะทำงานไม่เอาอ่าว แต่ก็ยังก้าวหน้าพรวดๆ แซงหน้าคนอื่นที่ขยันแต่ไม่มีคะแนนพิศวาสเป็นแบ๊คอัพไปซะงั้น เพื่อความยุติธรรม เจ้านายลูกน้องจึงควรจะเจอกันเฉพาะในที่ทำงาน ส่วนในโลกอินเตอร์เน็ตน่ะ เก็บไว้ให้คนที่ไม่มีผลประโยชน์ต่อกันจะดีกว่า

2. เฟซบุ๊ค เป็นเครื่องมือสะบั้นรัก

ตั้งแต่เฟซบุ๊คแจ้งเกิด ก็มีคู่รักเลิกันนับไม่ถ้วน การขอเลิกซึ่งๆ หน้าเป็นซีนระทึกขวัญของหนุ่มๆ เพราะมันเสี่ยงกับการถูกอาละวาด ตบตี แต่การมาของเฟซบุ๊คเป็นโอกาสทองให้คนอยากเลิกสามารถตัดช่องน้อยแต่พอตัว พลิ้วหนีไปได้อย่างรวดเร็ว แค่พิมพ์ตัวหนังสือแล้วส่งไป เท่านั้น ต้นรักก็ถูกถอนโคนเพียงง่ายๆ ปลายนิ้วสัมผัส

3. แฟนเก่ารีเทิร์น เพราะเฟซบุ๊ค

การรีเทิร์นในที่นี้ไม่ไ่ด้หมายถึงคู่รักระหว่างรบ แต่ทั้งสองคนยอมกลับมาบมพัดหวนทวนความหลังกันใหม่ แต่มีสถิติยืนยันว่า บรรดาสาวๆ ช้ำรักทั้งหลาย ชอบใช้นามแฝงดดอเข้าไปตีซี้กับแฟนเก่าผ่านทางเฟซบุ๊ค หรือบางคนก็แค่เข้าไปแอบอ่านว่า ตอนนี้ชีวิตแฟนเก่าไต่ระดับสังคมไปถึงขั้นไหน ถ้าดีก็จะได้ริษยาให้ตาร้อนผ่าวๆ แต่ถ้าแฟนเก่าเป็นหนี้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด ก็จะได้ฮูเรยาสมน้ำหน้ากันให้สะใจไปเลย

4. คนปากร้ายกระจายตัว

ตั้งแต่มีเฟซบุ๊ค จะเห็นว่า คนปากร้ายกระจายตัวเพิ่มมากขึ้นอีกนับไม่ถ้วน เพราะการคุยกันแบบไม่เห็นหน้า ทำให้คนบางคนเกิดอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ สามารถปล่อยสัตว์เลื้อยคลานออกมาเพ่นพ่านได้ไม่จำกัดเวลา หนุ่มบางคนตัวเป็นๆ สุดแสนจะเรียบร้อยยิ่งกว่าผ้าพับไว้ ใครจะนึกว่า พอได้โดดเข้าไปในเฟซบุ๊ค พี่แกจะเปลี่ยนสถานะเป็นเจ้าของฟาร์มสุนัขไปได้หน้าตาเฉย ..นี่ล่ะนะที่เรียกว่า “รู้หน้าไม่รู้ใจ” หาตัวอย่างได้จากเฟซบุ๊คนี่เอง

5. เฟซบุ๊คทำให้เด็กเสี่ยงอันตราย

เป็นผลพวงมาจากกรณีที่คุณพ่อ คุณแม่เบอร์ห้า (บ้าเห่อ) ส่วนใหญ่ชอบโพสต์รูปถ่ายและประวัติส่วนตัวของลูกแบบละเีอียดยิบลงบนเฟซบุ๊ค เช่น วันนี้ 10 โมง น้องเต้ยไปเรียนบัลเลห์ที่ …. บ่ายโมงไปเรียนเปียโน มีคุณย่าพาไปส่งค่ะ ฯลฯ หารู้ไม่ว่าการปล่อยข้อมูลแบบนี้ ทำให้คนร้ายสามารถเก็บข้อมูลวางแผนอุ้มหนูน้อยไปได้ง่ายๆ หรือหากจะปล้นคุณแม่ ก็แค่มาดูดารางที่คุณแม่อัพเดทไว้ตลอดเวลา แล้วไปดักรอที่สถานที่นั้นๆ แค่นี้เอง ที่ทำให้ทั้งครอบครัวตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายซะงั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง