ใบกระท่อม ประโยชน์ทางยา ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยง – Kratom

กระท่อม เป็นพืชที่พบมากในป่าธรรมชาติทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และพบในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี พืชกระท่อมได้รับการปลดออกจากสถานะยาเสพติด มาเป็นพืชที่ประชาชน ปลูกเพื่อการบริโภค และขายได้ทั่วไป ในวันที่ 24 ส.ค. 2564 : บทความ กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ทางยา การนำไปใช้ ข้อถึงระวังและหลีกเลี่ยง

กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ทางยา

ใบกระท่อมนิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา บ้างก็นำเอาใบมาย่างให้เกรียม และตำผสมกับน้ำพริก รับประทานเป็นอาหาร สรรพคุณเด่นๆ ทำให้มีเรี่ยวแรงทำงาน สามารถทนตากแดด อยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานานโดยไม่รู้สึกเหนื่อย ในประเทศไทยมีการนำมาใช้เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และปวดมวนท้อง บางพื้นที่กล่าวกันว่า สามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้

การใช้ใบกระท่อมในรูปแบบต่างๆ

เคี้ยวใบสด : นำใบกระท่อมมา 1 ใบ รูดก้านออก แล้วเคี้ยวให้ละเอียด (ประมาณ 10 นาที) จากนั้นให้ดื่มน้ำตาม ส่วนกากให้คายทิ้ง

กระท่อมผง : กระท่อมผง 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำร้อน แล้วเติมรสชาติด้วยน้ำผลไม้ เพื่อให้ดื่มได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากกระท่อมมีรสขมมาก

นำไปต้มเป็นชา : นำใบกระท่อมไปต้ม แล้วนำมาจิบดื่มเหมือนการดื่มชา

โปรดระมัดระวังการใช้ในปริมาณมาก

กระท่อม สรรพคุณ ประโยชน์ต่อสุขภาพ

จากงานวิจัยพบว่า ในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกาย การใช้กระท่อมในปริมาณต่างๆ ส่งผล ช่วยในการรักษาอาการเหล่านี้

กระท่อมแบบผง

ผลข้างเคียง จากการเสพกระท่อมมากเกินไป

ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยง การใช้ใบกระท่อม

ข้อมูลอื่นๆ ของต้นกระท่อม

กระท่อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitragyna speciosa Korth. วงศ์ Rubiaceae มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละที่ เช่น ในประเทศไทย ภาคเหนือเรียกอีด่าง อีแดง กระอ่วม ภาคใต้ เรียกท่อม หรือท่ม

ในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ 1. แตงกวา (ก้านเขียว) 2. ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) 3. ก้านแดง

ข้อมูลจาก

ใบกระท่อมที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ราคา 20-30 บาท

บทความอื่นๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง