ภาพถ่ายเก่าๆ บอกเล่าวิถีชีวิตคนไทยในอดีต สำหรับคนชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์ เราว่าคงต้องชอบบทความนี้ เพราะเหมือนได้นั่งย้อนเวลากลับไปดูบรรยากาศของประเทศไทยในสมัยอดีต จะได้เห็นถึงขนมธรรมเนียนประเพณี วัฒนธรรมการแต่งกาย รวมไปจนถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ หลากหลายมุมของผู้คนในยุคนั้น บางภาพเกิดขึ้นก่อนที่เราจะลืมตาออกมาดูโลกกันอีกนะ
ภาพถ่ายเก่าๆ บอกเล่าเรื่องราวในอดีตของไทย
ภาพถ่ายเก่าๆ บางภาพได้ใช้เทคนิคการลงสีใหม่เพื่อให้ดูสวยงามชัดเจนมากขึ้น แต่ทว่าไม่ได้ทำลายองค์ประกอบของภาพให้เปลี่ยนเลย… ไปเริ่มดูกันที่ภาพแรกเลยค่ะ
พระบรมฉายาลักษณ์ล้นเกล้าฯ ของรัชกาลที่ 7 กับชาวสยาม
บรรยากาศการขายของ ในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณหน้าวิหารซำปอกง (วัดพนัญเชิง) ในภาพพอจะเห็นได้ว่าแม่ค้าที่นุ่งโจงกระเบนสีม่วงนั้น นำปลาแห้งมาวางขาย
ห้องเครื่องตำหนักพระวิมาดาเธอสายสวลีภิรมย์ ในพระราชวังดุสิตสมัยรัชกาลที่ ถ
โรงงิ้วในสมัยอดีตนั้นใช้เพียงโครงสร้างตอม่อ มีเสาไม้ไผ่ พาดบนไม้กระดาน หลังคาก็ใช้ผ้าขึงแบบในรูปก็สามารถเป็นโรงงิ้วได้เช่นกัน จากภาพผู้คนที่สวมเครื่องแต่งกาย ที่มีทั้งนุ่งกางเกง ขาสั้น และขายาว อีกทั้งยังมีการนิยมสวมใส่หมวกด้วย จึงคาดว่าน่าภาพนี้น่าจะถูกบันทึกในช่วงยุคของจอมพล ป.พิบูลสงคราม
ภาพถ่ายจากสนามหน้าจักรวรรดิ์ เข้ามายังศูนย์กลางอำนาจการปกครอง ในช่วงรัชกาลที่ 4 – 5 ตอนต้น
ภาพคุณยายแต่งกายด้วยการใส่ชุดโจงกระเบน กำลังนั่งร้อยดอกไม้พวงมาลัย เพื่อนำไปใช้ในการตกแต่งเทียนบูชา ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นภาพในสมัยรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมมารดาเพ็ง ในรัชกาลที่ 4 แต่งกายในชุดสไตล์ยุโรป บ้างก็ให้ความเห็นว่าเป็นการแต่งกายเพื่อเล่นละคร บ้างก็ว่าแต่งการเพื่อต้อนรับคณะทูต
ภาพถ่ายกรมขุนวรจักร ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 (ขุนวรจักร คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าปราโมช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาอัมพา)
มอญ ปากลัด คือกลุ่มคนที่สืบเชื้อสายจากมอญ และได้อพยพเข้ามาอยู่ในไทย สำหรับภาพนี้เป็นชาวมอญ ปากลัด คาดว่าน่าจะในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5-6 จะเห็นได้ว่าวิธีการนุ่งผ้าของชาว มอญ ปากลัด มีวิธีการเหน็บที่ต่างจากไทย
ดูจากลักษณะการแต่งกาย มีหมวกคล้ายหมวกตำรวจ ใส่ผ้านุ่งดูดีสวยงาม และพกดาบญี่ปุ่นด้วย น่าจะเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้น บริเวณที่นั่งดังกล่าวเป็นตรงทางขึ้นพระอุโบสถวัดพระแก้ว
เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อน สนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) กำลังลงพายเรือ ณ พระราชวังดุสิต
(* สนมเอกของ ร.5 มีทั้งหมด 5 นาง มีชื่อเรียกว่า เจ้าจอมก๊กออ หรือ เจ้าจอมพงศ์ออ ซึ่งพระสนมทุกนางมีขึ้นต้นด้วยอักษร อ. อ่างทั้งหมด เจ้าจอมมารดาอ่อน, เจ้าจอมเอี่ยม, เจ้าจอมเอิบ, เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน นอกจากนี้ทุกนางยังเป็นสตรีจากสายราชินิกุลบุนนาค ซึ่งเป็นบุตรีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอู่ ภริยาเอก ด้วย)
แถวบน : เจ้าจอมแก้ว เจ้าจอมเอื้อน เจ้าจอมเอี่ยม
แถวล่าง : เจ้าจอมแส พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมมารดาอ่อน พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงฉายภาพร่วมกับ เจ้าจอมอาบ, เจ้าจอมเอี่ยม และเจ้าจอมเอื้อน
พระพักตร์ของ เจ้าจอมอาบ (ซ้าย) เจ้าจอมเอื้อน (ขวา)
จีวรลายดอก ที่ใช้โดยพระสงฆ์ในปลายรัชกาลที่ 4
พระบรมฉายาลักษณ์ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงฉายเมื่อปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4)
วิธีจัดการกับศพในสมัยรัชกาลที่ 5
สัปเหร่อจะแล่เนื้อศพ แล้วโยนให้แร้งกิน ส่วนกระดูกที่เหลือก็นำไปเผา ว่ากันว่าวิธีการนี้แหละเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศ’ นอกจากนี้ ป่าช้าวัดศระเกศยังเป็นที่ยอดฮิตเวลาชาวต่างชาติมาเยือนสยามจะต้องแวะชม
ประตูท่าแพ เมืองเชียงใหม่
ภาพ กรุงเทพฯ เมื่อ 150 ปีที่แล้ว
ที่มา: เพจสยาม