การหักและดึงนิ้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้าง นักวิจัยเผยคำตอบ

เคยหักและดึงนิ้วแบบมีเสียงก๊อกๆ กันมั้ย และเคยสงสัยมั้ยว่าการทำเช่นนั้นจะเกิดผลเสียกับนิ้วมืออย่างไรบ้าง บ้างก็บอกว่าจะทำให้กระดูกงอ บ้างก็บอกว่าไม่เป็นอะไร วันนี้มีผลงานวิจัยจากนักวิทย์ฯ ที่ได้หาคำตอบเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ จะมีผลเสียหรือไม่ลองไปอ่านกันค่ะ

การหักและดึงนิ้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้าง

มีงานวิจัยของนักวิทยาศาสตรหลายชิ้นที่หาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องการ หัก หรือดึงนิ้ว ที่เกิดเสียง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่หลายๆ คนชอบทำเล่น ว่าจะเกิดผลเสียอะไรร้ายแรงหรือเปล่า ลองไปอ่านผลวิจัยแต่ละชิ้นกันค่ะว่าจะมีผลออกมาอย่างไร?

เสียงที่ดังเมื่อหัก หรือดึงนิ้ว เกิดอะไร?

นักวิจัยจาก University of Alberta ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเสียงที่เกิดขึ้นจากการดึงนิ้ว โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) คำตอบที่ได้คือ เสียงที่ดังเมื่อหัก หรือดึงนิ้ว เกิดมาจากฟองอากาศในของเหลวระหว่างข้อต่อ ที่เรียกว่า ‘น้ำไขข้อ’

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้เครื่อง MRI อาจจะไม่ใช่การหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับเรื่องนี้ เพราะว่ายังมีเครื่องอัลตร้าซาวด์ที่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

จึงทำให้นักวิจัยอีกทีมหนึ่ง นำโดย Robert D. Boutin นักรังสีวิทยาจาก University of California ได้หาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน แต่จะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ตรวจสอบร่างกายแทนเครื่อง MRI เพื่อพิสูจน์ว่ามันให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับงานวิจัยก่อนหน้านี้หรือไม่…

วิธีการทดลองมีดังนี้

รวมผู้คนที่มีสุขภาพดีกว่า 40 คน (โดยในจำนวน 30 คนชอบดึงนิ้วของตัวเองเป็นประจำ และหนึ่งในนั้น มีคนที่ดึงนิ้วมากกว่า 20 ครั้งต่อวันมาเป็นเวลาติดต่อกันถึง 40 ปี)

ผู้เข้าร่วมทั้งหมดกว่า 40 คน จะถูกขอให้ทดสอบการดึงนิ้วในแต่ละนิ้วให้ดู ระหว่างนั้นทีมวิจัยจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ตรวจสอบกระดูกและข้อต่อระหว่างที่มีการหักนิ้ว

ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอง

นักวิจัยอธิบายว่าเมื่อมีการหักนิ้วเกิดขึ้น ภาพที่เห็นจากเครื่องอัลตร้าซาวด์ก็จะมีสีขาววูบวาบขึ้นมาคล้ายกับการจุดพลุในกระดูก และในระหว่างนั้นก็มีเสียงดังก็อกเกิดขึ้นมา และทำให้พวกเขาตั้งข้อสงสัยว่าเสียงที่เกิดขึ้นจากการหักนิ้ว น่าจะมาจาก การเปลี่ยนแปลงความดันอย่างเฉียบพลันในน้ำไขข้อที่ทำปฏิกิริยากับฟองอากาศที่อยู่ภายใน และไม่พบความแตกต่าง ระหว่างคนที่ดึงนิ้วเป็นประจำกับคนที่ไม่เคยดึงนิ้วด้วย

ยังมีอีกหนึ่งงานวิจัย Donald Unger ที่ศึกษาเรื่องการหักของข้อต่อมาเป็นเวลากว่า 60 ปีก็พบว่าไม่มีความแตกต่างเช่นเดียวกัน “หลังจากที่ข้อต่อมีการหักงอเกิดขึ้น ข้อต่อดูเหมือนจะมีการเคลื่อนไหวที่ดีมากขึ้นตามไปด้วย” Donald Unger กล่าวเอาไว้

อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ นักวิจัยยังไม่ยืนยันว่า สิ่งที่พวกเขาคิดนั้นเป็นความจริงเพียงใด เพราะเป็นการสันนิษฐานจากสิ่งที่เห็นในเครื่องอัลตร้าซาวด์เท่านั้น!!

ที่มา: www.catdumb.com, www.sciencealert.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง