ความรู้เกี่ยวกับ แอร์โฮสเตส-สจ๊วต | อาชีพในฝันหนุ่มสาวหลายคน

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือ “แอร์โฮสเตส-สจ๊วต” นั้น โดยคร่าวๆ อาชีพนี้มีหน้าที่คือ ต้อนรับ ให้บริการด้านความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน ดูแลอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย สาธิตอุปกรณ์ดังกล่าวก่อนเดินทาง ช่วยเหลือผู้โดยสารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน คอยดูแลให้ความสะดวกสบาย แจ้งข้อมูลที่จำเป็นในการเดินทาง ให้บริการอาหารเครื่องดื่มวารสาร หนังสือพิมพ์ ช่วยเหลือผู้โดยสารที่เดินทางกับเด็กเล็ก ให้การปฐมพยาบาลแก่ผู้โดยสารที่เจ็บป่วย ดูความเรียบร้อยภายในห้องผู้โดยสารเพื่อความปลอดภัย ตั้งแต่ก่อนขึ้นเครื่องจนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทาง

ความรู้เกี่ยวกับ แอร์โฮสเตส-สจ๊วต

ก่อนอื่นอยากเป็นแอร์โฮสเตส – สจ๊วต ควรวางแผน เตรียมความพร้อม ดังนี้

1. เตรียมตัว ร่างกายด้วยข้อจำกัดต่างๆ ที่สายการบินได้ระบุ

2.. ควรเลือกเรียนสาขาที่มีการใช้ภาษาสูงอย่าง สายศิลป์ภาษา อาทิ คณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ

3. เลือกติวหรืออบรมคอร์สแอร์โฮสเตสเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้รู้ขั้นตอนเกือบทั้งหมดในการสมัครอาชีพแอร์โอสเตส

4. ที่สุดแล้วต้องดูข้อจำกัด รายละเอียด หรือต้องติดต่อกับสายการบินต่าง ๆ โดยตรง เพราะบางสายการบินรับสมัครผู้สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพหรือสายสามัญ เข้าปฏิบัติงานและควรเรียนภาษาอังกฤษ ในสถาบันที่มีการสอบเทียบคะแนน ทั้ง TOEIC และ TOFEL ตามที่ทางสายการบินกำหนดไว้ ถ้ามีสายตาสั้นควรทำการศัลยกรรมช่วย เพราะบางสายการบินระบุในการประกาศรับสมัครไว้เช่นนั้น บางสายการบินอาจประกาศรับสมัครแต่พนักงานต้อนรับหญิงเท่านั้นและการกำหนดส่วนสูงอาจแตกต่างกัน

คุณสมบัติโดยทั่วไป แอร์โฮสเตส – สจ๊วต

1. หากเป็นผู้ชายต้องมีส่วนสูง 165 ซม. ขึ้นไป ผู้หญิงต้องมีส่วนสูง 160 ซม. ขึ้นไป (บางสายการบินก็รับที่ 150 ซ.ม. กว่าๆ)

2. ทั้งนี้ทั้งแอร์โฮสเตส และ สจ๊วต ควรมีน้ำหนักที่สัมพันธ์กับส่วนสูง โดยมีอัตราน้ำหนักขั้นต่ำของชาย ต้องลบส่วนสูงด้วย100 / หญิง ลบส่วนสูงด้วย 110

3. มีบุคลิกภาพที่ดี สุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายไม่เป็นผู้ทุพลภาพ ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคที่สังคมรังเกียจ และโรคที่อาจเป็นผลเสียในการทำงานบนเครื่องบิน

4. ความรู้ขั้นต่ำ คือควรจบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 – ปริญญาตรีทุกสาขา

5. ถ้าเป็นชายต้องมีใบสำคัญผ่านทหาร

6. อายุของผู้ชายที่จะมาสมัครต้องมีอายุระหว่าง 21 – 28 ปี ผู้หญิงต้องมีอายุ 21 – 26 ปี อันนี้คือค่าเฉลี่ย แต่ก็มีบางสายการบินเหมือนกันที่จะรับคนที่มีอายุมากกว่านี้

7. ต้องเป็นผู้ที่สายตาดีไม่สั้น แต่ถ้าสายตาสั้นก็สามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ห้ามใส่แว่นตาเด็ดขาด

8. มีสุขภาพฟันดี ถ้าฟันเสียต้องไปทำฟันมาให้เรียบร้อย ควรขูดหินปูนเป็นประจำ

9. ต้องมีความรู้ภาษาต่างประเทศ ภาษาบังคับ คือ ภาษาอังกฤษ มีผลสอบโทอิคอย่างต่ำ 600 คะแนน (จากคะแนเต็ม 990 คะแนน)

10. บางสายการบินอาจให้มีการสอบว่ายน้ำด้วย เช่น มีความสามารถว่ายน้ำฟรีสไตล์โดยไม่หยุด หญิง 50 เมตร , ชาย 100 เมตร

11. ควรหัดแต่งกายให้มีความเคยชิน เพราะการแต่งกายที่ดีทำให้เป็นที่สนใจแก่ผู้ที่พบเห็น ดังนั้นผู้ชายต้องสวมเสื้อเชิ้ตขาว กางเกงสแล็คสีดำ ผูกเน็คไท ส่วนผู้หญิงต้องสวมประโปรงชุดทำงานแบบสาวออฟฟิศ ทำผมให้สุภาพ เช่น รวบผมให้ตึง เก็บมวยผมห้ามปล่อย สวมรองเท้าคัชชูหุ้มส้นสูงไม่เกิน 2 นิ้ว สวมถุงน่อง

12. ควรเป็นโสด ผู้หญิงที่มีแฟนแล้วไม่เป็นไร แต่ถ้าจดทะเบียนสมรสแล้วอาจจะหมดสิทธิ์ได้

13. ไม่มีรอยสักในจุดที่มองเห็นได้อย่างเปิดเผย

14. หูไม่ตึง

15.ไม่ติดยาเสพติด

16. ไม่เคยมีประวัติอาชญากรรม

17. มีบุคลิกดี และมีมนุษยสัมพันธ์ดี รวมถึงมีไหวพริบ และปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

ที่มา flight-attendant-thai.blogspot.com ภาพหน้าปก สายการบิน Air China , ข่าวสารจาก สายการบิน NewGen Airways , กรมการจัดหางาน และ Unigang.com

ตารางเปรียบเทียบส่วนสูง และ น้ำหนัก

เกณฑ์ความสูงของแต่ละสายการบิน สูงเท่าไหร่กัน? รวบรวมมาให้สาวๆ ได้ฟิตเตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ ดังนี้

1. THAI AIRWAYS – ส่วนสูงหญิง 160 ซม. ชาย 165 ซม.

2. CATHAY PACIFIC – ต้องสามารถเอื้อมแตะถึง ในระดับนิ้วโป้งให้ได้ถึง 208 ซม.

3. KOREA AIR – 162 ซม.

4. EVA AIR – 160 ซม.

5. THAI AIRASIA – 162 ซม.

6. CHINA AIRLINE – 160 ซม.

7. EMIRATE – ดูจากการเอื้อมแตะถึง ในระดับนิ้วโป้งให้ได้ถึง 212 ซม.

8. SINGAPORE AIRLINE – 158 ซม.

9. BANGKOK AIRWAYS – 162 ซม.

10. JAPAN AIRLINE – 156 ซม. และวัดจากการเอื้อมแตะถึง ในระดับนิ้วโป้งให้ถึง 208 ซม.

11. FIN AIR – 160 ซม.

12. NOK AIR – 160 ซม.

13. ROYAL BRUNEI AIRLINE – 162.5 ซม.

ที่มา www.krumontree.com

แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับแอร์โฮสเตส

กลุ่ม “อยากเป็นแอร์เหรอ ได้!!!” : กลุ่มที่พูดคุย ข่าวสารเกี่ยวกับแอร์โฮสเตส ด้วยประสบการณ์ตรงจากพี่ๆ แอร์สาวสวย

Cabin Crew Maker : เตรียมแอร์โฮสเตส/สจ๊วต ฝึกสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษ สอบแอร์ เรียน พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ เพิ่มความมั่นใจ พัฒนาบุคลิกภาพ สอนแต่งหน้าทำผมแอร์ ฝึก Group discussion ให้คำปรึกษาอย่างเป็นกันเองทุกขั้นตอน เรียนกับ Interview Coach ที่มีประสบการณ์ตรงหัวหน้าลูกเรือ สนุก เรียนง่าย เทคนิคจากครูปุ๊ก cabin crew maker

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง