ไหว้ศาลพระนางเรือล่ม สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ริมแม่น้ำ วัดกู้

พระนางเรือล่ม หรือ “สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี” คือ พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ลำดับที่ 50 ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน ปีวอก พ.ศ. 2403 ณ พระบรมมหาราชวังทรงถวายองค์เป็นพระมเหสี เจ้าเหนือหัวในรัชกาลที่ 5 เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 17 พรรษา ด้วยมีพระสิริโฉมงดงาม พระสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น “พระอัครมเหสี” และยังเป็นที่โปรดปรานสนิทเสน่หายิ่งกว่าพระอัครมเหสีองค์อื่น ๆ

สมเด็จพระนางเรือล่ม

เหตุสลดในวันนั้นเล่ากันว่า…

สาเหตุที่ทำให้เรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ล่ม เนื่องเพราะเรือพระพันปีหลวง หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทรา-บรมราชินีนาถ-บรมราชชนนี พันปีหลวงแล่นแซง ประกอบกับนายท้ายเรือของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ เมาเหล้า ขาดสติในการควบคุมเรือเรือจึงล่ม และทั้งที่พระองค์ก็ทรงว่ายน้ำได้ แต่เพราะความที่ทรงห่วงพระราชธิดา จึงต้องสิ้นพระชนม์ไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งพระพี่เลี้ยง รวมทั้งสิ้น 4 ศพ ที่จมอยู่ใต้ท้องเรือโดยที่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย เพราะติดอยู่ที่กฎมณเฑียรบาลว่า ห้ามผู้ใดแตะต้องพระวรกายพระมเหสีมิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งโคตร

การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ ในครั้งนั้น มีเสียงร่ำลือในวังหลวงอย่างอื้ออึงว่า เพราะเป็นแผนการที่จงใจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ จากความอิจฉาริษยาของบรรดามเหสี และสนมนางในที่คิดหาหนทางกำจัด จนทำให้พระนางอันเป็นที่รักของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ต้องมาสิ้นพระชนม์ท่ามกลางข้อกังหา และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของชาวบ้าน และชาววังในยุคนั้น ก็ยังมีเรื่องน่าพิศวง อันเกิดจากอาถรรพณ์ของดวงพระวิญญาณตามมาด้วย

เล่ากันว่า ขณะกำลังงมค้นหาพระศพในวันที่เรือพระที่นั่งล่ม โดยชาวบ้านแถวนั้นทนเห็นเหตุการณ์ไม่ไหว พยายามช่วยลงมางมค้นหาพระศพ ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ที่หาเท่าไหร่ก็ไม่พบ ถึงขนาดทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ก็ไม่สามารถพบพระศพ ..จึงต้องไปเชิญหลวงจีนท่านหนึ่งนามว่า “สกเห็ง” ซึ่งเชี่ยวชาญทางวิปัสสนานั่งทางใน มาทำการเสี่ยงทาย โดยเสกถ้วยน้ำชาให้ลอยไปตามกระแสน้ำหากถ้วยชาจมลงตรงจุดใด ก็ให้ชาวบ้านและทหารช่วยกันลงไปงมหา ซึ่งในที่สุดก็สามารถหาพระศพจนพบ ลักษณะพระศพที่เห็น นำความเศร้าสลดมาสู่สายตาผู้พบเห็นยิ่งนัก เป็นภาพพระนางโอบพระธิดาไว้แนบอก และพระศพที่พบก็จมอยู่ใต้ซากเรือพระที่นั่งนั่นเอง

พระราชบุตรในพระครรภ์

พระนางเธอพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม ณ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (ปัจจุบันนี้คือ วัดกู้) พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อัครวรราชกุมารี พระราชธิดา และพระราชบุตรในพระครรภ์ ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาอีกด้วย ระหว่างการตามเสด็จฯ พระบรมราชสวามีแปรพระราชฐานไปประทับยังพระราชวังบางปะอิน

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ดำรงพระฐานันดรศักดิ์พระอัครมเหสี พระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระศพ

พระศพของ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ ตั้งบำเพ็ญพระราชกุศลที่หอธรรมสังเวช ภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันทิวงคต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระโกศทองใหญ่ ซึ่งเป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสีและพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ ให้ทรงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ซึ่งถือเป็นการพระราชทานพระเกียรติยศแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ เป็นอย่างยิ่ง

หลังจากนั้น ได้มีการจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพทั้ง 2 พระองค์ขึ้น ณ กลางทุ่งพระเมรุ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2424 และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2424

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

หรือที่ชาวบ้านเรียกพระนามว่า สมเด็จพระนางเรือล่ม (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 — 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423) มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์” เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา

ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 เป็นพระเจ้าลูกเธอรุ่นเล็ก ลำดับที่ 50 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระขนิษฐาร่วมพระโสทรทั้ง 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกของพระองค์ โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้มีพระตำหนิเด่นชัด คือ มีติ่งที่พระกรรณข้างขวามาแต่แรกประสูติ จึงพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนียลักษณ์ อัครวรราชกุมารี

(จากซ้าย) พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา, พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ , พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ และ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย

พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย , พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ ,vพระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา, พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

Facebook : วัดกู้ (พระนางเรือล่ม) จ.นนทบุรี

เที่ยวชมวัดกู้

อาถรรพ์

วัดกู้ (พระนางเรือล่ม)

วัดกู้ หรือวัดท่าสอน หรือวัดหลังสวน วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นศิลปะแบบมอญ ภายในโบสถ์หลังเก่ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบมอญ เป็นภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องราวพุทธประวัติ วิหารประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่

พระพุทธไสยาสน์ (พระใหญ่) วิหารพระพุทธไสยาสน์ ยาว 33 เมตร

พระอุโบสถวัดกู้ พระอุโบสถวัดกู้มีรูปทรงฐานแอ่นโค้งรูปสำเภาแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย เพดานภายในเขียนเป็นลายดอกไม้ มีจิตรกรรมฝาผนังแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบนสุดเล่าเรื่องอดีตพระพุทธเจ้า ส่วนตอนกลางเป็นรูปพุทธประวัติและส่วนล่างเป็นรูปเล่าเรื่องการรบของชาวมอญซึ่งแสดงรูปแบบเจดีย์มอญ เสาหงส์ ส่วนซุ้มใบเสมาเป็นซุ้มโค้งมีใบเสมาประกบกัน

ด้านข้างวิหาร เป็นที่เก็บเรือพระที่นั่งของพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

เรือพระที่นั่งของพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่อับปาง อยู่ด้านหลังวิหารพระพุทธไสยาสน์เป็นที่เก็บเรือพระที่นั่งที่อับปางซึ่งชาวบ้านได้กู้ขึ้นมา

ศาลสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ มีพระตำหนักที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ มีศาลพระนางเรือล่ม ซึ่งจำลองแบบจาก ศาลาจตุรมุขของพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ที่พระราชวังบางปะอิน

หลวงพ่อสมปรารถนา

ไหว้พระขอพร หลวงพ่อสมปรารถนา ในอุโบสถเก่า อยู่ติดกับพระอุโบสถใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง