ที่มาของคำว่า โอเค OK – ภาษามือ ที่มีความหมายถึงโอเค OK ของแต่ละประเทศ

คำว่า “โอเค” มาจากภาษาอังกฤษว่า “OK (okay)” และมีท่าทางการทำมือโดยการทำนิ้วโป้งและนิ้วชี้จรดกัน ส่วนอีก 3 นิ้วที่เหลือชี้ขึ้น

บางส่วนในเว็บไซต์วิกิพีเดียบอกว่าคำว่า โอเค ได้รับความนิยมอย่าง แพร่หลายในสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เริ่มจากวงการสื่อมวลชน โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ใช้คำย่อว่า OK แทนคำว่า “all correct” แปลว่าถูกต้องทั้งหมด เพื่อย่อให้ใช้คำหรือวลีสั้นลงและเพื่อหลีกเลี่ยงการสะกดผิดๆ ซึ่งสมัยก่อน คนมักเขียนคำว่า “all correct” ผิดไปหลายอย่าง เช่น “Oil korrect” “oll korrect” หรือ “ole kurreck”

ที่มาของคำว่า โอเค OK

ภาษามือ ที่มีความหมายถึงโอเค

อีกที่มาหนึ่ง บอกว่าในสมัยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ อเมริกาในปี 2383 ผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตพากันชูนิ้วทำมือเป็นรูปโอเค เพราะต้อง การสื่อถึงผู้สมัครที่มีชื่อว่ามาร์ติน แวน บูเรน ซึ่งมีชื่อเล่นว่า โอลด์ คินเดอร์ฮุก (Old Kinderhook) เพราะมีพื้นเพเป็นคนคินเดอร์ฮุก นิวยอร์กจึงทำมือเป็นท่าโอเคเพื่อเป็นสโลแกนในการหาเสียงเลือกตั้ง

นอกจากนี้ ในสมัยสงครามกลางเมืองอเมริกัน การใช้คำว่า โอเค หมายถึง “ไม่มีทหารเสียชีวิตในสนามรบ” หรือ Zero (O) Killed โดยทหารมักจะเขียนสั้นๆ บนกระดานว่า โอเค

ความหมายของคำว่า OK ของแต่ละประเทศ

ภาษามือ “โอเค” มีความหมายสากลในเชิงบวกหรือทุกสิ่งไปได้สวย แต่ท่าทางเดียวกันนี้ ก็มีการตีความหมายที่ต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ในหนังสือ “รู้ทันทุกความคิด ด้วยเทคนิคภาษากาย” ของอัลลันและบาร์บาร่า เพียซ รวบรวมความหมายท่ามือ “โอเค” จากทั่วโลก เช่น

ประเทศฝรั่งเศสและเบลเยียม ท่าทาง โอเค หมายถึง “ศูนย์หรือไร้ค่า” ถ้าบริกรถามว่าโต๊ะนี้พอใจไหมครับ แล้วทำท่าโอเคกลับไป บริกรจะตอบว่า “ถ้าไม่ชอบ เราจะหาโต๊ะใหม่ให้ครับ”

ที่ญี่ปุ่น หมายถึง “เงิน” หากคิดจะทำธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น พร้อมทำท่านี้ ชาวญี่ปุ่นคงคิดว่า คุณกำลังขอเงินใต้โต๊ะ

บางประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ท่านี้เป็นสัญลักษณ์ทางเพศมักใช้เพื่อบ่งบอกว่า คุณเป็นชายรักร่วมเพศ ยิ่งถ้าทำท่านี้กับชายกรีก จะทำคิดว่า กำลังประกาศตัวเป็นเกย์

ส่วนคนชาวตุรกีและบราซิล คิดว่าท่าโอเคนี้เป็นคำที่คุณกำลังด่าสุดแสบ ซึ่งสัญลักษณ์นี้มักไม่ใช้ในประเทศอาหรับ เพราะหมายถึงการข่มขู่หรือคำลามกหยาบคาย ครั้งหนึ่ง ก่อนที่นายริชาร์ด นิกสัน จะเป็นประธานาธิบดีไปเยือนละตินอเมริกา เพื่อกระชับความสัมพันธ์ แต่การเยือนครั้งนี้กลับทำลายความสัมพันธ์ไปได้

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง