ว่านดอกทอง ว่านโบราณที่ใกล้สูญพันธุ์ | เกร็ดความรู้ ละครนาคี

เมื่อคืนแฟนๆ ที่ได้ชมละครเรื่อง นาคี คงจะได้เห็นการพูดถึงเรื่อง “ว่านดอกทอง” หรือ”ว่านราคะ” ซึ่ง ลำเจียก (อุ้ม-ลักขณา วัธนวงส์ศิริ) โดนบริวารของเจ้าแม่นาคีปลอมตัวเป็นคนแก่มาขายดอกไม้ เพื่อต้องการให้ลำเจียกดมแล้วเกิดอาการกำหนัด (หรือเกิดความใคร่) จุดประสงค์ของนางบริวารคือต้องการให้ลำเจียกไปทำลายพรหมจรรย์ของท่านหมออินทร์ (ร่ายมาซะยาว อยากรู้มากกว่านี้ไปเปิดย้อนดูกันต่อนะจ๊ะ) กลับมาที่เรื่อง “ว่านดอกทอง” เป็นเกร็ดความรู้จากละครในวันนี้ที่เรานำมาฝากค่ะ น้องๆ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ ว่ามันเป็นว่านโบราณที่มีอยู่จริง และตอนนี้ก็ใกล้สูญพันธ์แล้วด้วย..

ว่านดอกทอง

ว่านดอกทอง ภาพ:: www.flickr.com

ชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ

นอกจากเรียกว่า ว่านดอกทอง แล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่าง ว่านมหาเสน่ห์,รากราคะ, ว่านรากราคะ, ว่านมหาเสน่ห์ดอกทอง, ว่านดอกทอง, ว่านดอกทองแท้, ว่านดอกทองตัวผู้, ว่านดอกทองตัวเมีย, ว่านดินสอฤาษี, ว่านดอกทองกระเจา เป็นต้น

หลงไหลโทนเสียงของเลื่อมประภัส เป็นดอกทองที่เสนาะหูเหลือเกิน #นาคี pic.twitter.com/UQ0EJ5mdJ8


ว่านดอกทอง มีชื่อเรียกวิทยาศาสตร์ Curcuma spp. จัดอยู่ในวงศ์ขิง
(ZINGIBERACEAE)

ภาพ:: ว่านดอกทองตัวเมีย

ลักษณะของ ว่านดอกทอง

ว่านดอกทอง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

โดยรวมแล้ว ทั้งว่านตัวผู้และตัวเมีย จัดเป็นไม้ล้มลุก ว่านมีลักษณะเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นรูปทรงกลม และแตกแขนงเป็นไหลขนาดเล็ก มีขนาดยาวประมาณ 5-10 นิ้วส่วนรากเป็นเส้นใหญ่ ไม่แตกเป็นรากฝอย มีความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ออกดอกในช่วงฤดูร้อนต่อเนื่องไปจนถึงฤดูฝนของทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ

1.ว่านดอกทองตัวผู้ หรือ ว่านดอกทอง

จุดเด่นๆ เนื้อในหัวของว่านตัวผู้จะมีสีเหลือง เส้นกลางใบ และกาบใบจะมีสีแดงเรื่อ ดอกสีเหลือง สำหรับหัวว่านเมื่อนำมาหักหรือผ่าดูจะได้กลิ่นหอมเย็น และมีกลิ่นคาวๆ เจืออยู่ด้วย

ภาพ:: saimherbal.blogspot

ว่านดอกทองตัวผู้สังเกตที่ใบจะมีสีแดงๆ ว่านตัวเมียจะไม่มี

2. ว่านดอกทองตัวเมีย หรือ ว่านดินสอฤาษี

เนื้อในหัวมีสีขาว ลำต้น และใบจะมีลักษณะคล้ายกับขมิ้น มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม ลำต้น และใบเป็นสีเขียว ไม่มีสีแดงเจือปน เหมือน “ว่านดอกทองตัวผู้” กลิ่นของว่านดอกทองตัวเมียจะมีกลิ่นที่แรงกว่า กลีบปากดอกสีขาวมีแถบกลางเป็นสีเหลือง นอกจากนี้ยังมี “ดอกทองกระเจา” ซึ่งดอกจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย มีกลิ่นคาวเหมือนกัน แต่จะไม่รุนแรงเท่าว่านดอกทองตัวเมีย

สรรพคุณ ว่านดอกทอง

ว่านดอกทอง ใกล้สูญพันธุ์ พบได้ไม่กี่ที่ในไทย

ว่านดอกทอง จัดเป็นว่านโบราณหายาก และใกล้จะศูนย์พันธุ์ ในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นของที่หายากมาก นั้นหายากยิ่ง ผู้รู้มักไม่เปิดเผย เพราะเกรงว่าจะมีผู้นำไปใช้ในทางไม่ดี โดยอาจสามารถพบว่านชนิดได้ทางภาคตะวันตก ภาคเหนือ อย่างเช่นใน จังหวัดกาญจนบุรี ลำปาง และตาก

ภาพจากในละคร นาคี

ความเชื่อโบราณ เกี่ยวกับ ว่านดอกทอง

คนโบราณนิยมปลูกว่านดอกทอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านเมตตามหานิยม, เสริมสร้างเสน่ห์ รวมถึงการนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค นอกจากนั้น ยังจัดเป็นไม้ดอกไม้ประดับสำหรับปลูกตามแปลงจัดสวนหรือปลูกในกระถางเพื่อชมใบ และดอก ด้วย

วิธีการปลูกว่านดอกทองตามแบบโบราณ ควรปลูกวันจันทร์ข้างขึ้น แล้วรดน้ำที่เสกด้วยคาถา นะโมพุทธายะ 3 จบ การปลูกจะใช้กระถางใบเล็กทรงเตี้ยในการปลูก ใส่ดินดำ หรือดินดินทรายผสมกับใบไม้ผุ และรดน้ำให้มาก แต่อย่าให้ดินแฉะ หากใส่ปุ๋ยคอกลงไปด้วยเล็กน้อยจะช่วยทำให้ว่านงอกงามเร็ว เมื่อใบตั้งตรงแข็งแรงแล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกในกระถางใหญ่ เพื่อให้หัวว่านมีขนาดใหญ่ขึ้น และควรจัดวางไว้ในที่ที่มีแสงแดดรำไรพอสมควร

ยังมีความเชื่ออีกว่า หากใครได้สูดกลิ่นดอกว่านทองนี้ จะกระตุ้นความต้องการทางเพศขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล สำหรับผู้ที่ปลูกว่านชนิดนี้ จึงนิยมเก็บดอกก่อนที่จะบาน เพราะเชื่อว่าหากผู้ใดได้กลิ่น หรือได้สัมผัสจะเกิดกามราคะ ทำให้เกิดพลังทางเพศที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีเพศ จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “ว่านดอกทอง” นั่นเองค่ะ

ขอบคุณที่มาจาก:: medthai.compuechkaset.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง