พาสปอร์ตสยาม หนังสือการเดินทางไทยในอดีต เคยเห็นกันหรือยัง?

หนังสือเดินทางไทย หรือที่ในปัจจุบันเราเรียกกันว่า พาสปอร์ต นั้น มีหลักฐานว่าคนไทยเริ่มใช้กันตั้งแต่ในยุคของพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในสมัยนั้นหนังสือเดินทาง เรียกกันว่า เอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง และภายในหนังสือมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสในการเขียนรายละเอียดต่างๆ ด้วย วันนี้เรามีเรื่องราว วิวัฒนาการของหนังสือการเดินทางไทย พร้อมภาพหนังสือตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้มาให้ชมกันค่ะ

วิวัฒนาการ พาสปอร์ตสยาม หนังสือเดินทางไทย

สำหรับหนังสือเดินทาง หรือที่สมัยก่อนเรียกว่า เอกสารเดินทางประเภทตราเดินทาง นั้น ในสมัยก่อนจะมีลักษณะ ออกเป็นหนังสือราชการที่เขียนด้วยลายมือ มีการกำหนดตราประทับคือตราพระคชสีห์น้อย ตราพระราชสีห์น้อย หรือตราสุครีพ มีกำหนดอายุ 1 ปี ในระยะเริ่มแรกเอกสารเดินทางที่ทางราชการออกให้ จะใช้ในการข้ามเขต เมือง มณฑลภายในประเทศ ซึ่งยังไม่มีเอกสารที่ใช้สำหรับเดินทางออกไปต่างประเทศ

จุดเริ่มต้นจริงๆ ของหนังสือเดินทางประเทศไทยที่ใช้กันในปัจจุบันสำหรับการเดินทางออกนอกประเทศนั้น ได้เริ่มในปีพ.ศ. 2460 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รัฐบาลได้มีการออก “ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตให้มีหนังสือเดินทาง โดยมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการสำหรับผู้เดินทางออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2460 ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาผู้เดินทางมักจะไม่มีหนังสือเดินทาง หรือตราเดินทาง (visa) ทำให้ถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ ถูกจับกุมกักขัง หรือถูกส่งกลับประเทศอันเนื่องมาจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มมีการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด โดยมีการลงในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน

หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้หนังสือเดินทางไปต่างประเทศในลักษณะเป็นหนังสือเดินทางที่พิมพ์ด้วยภาษาฝรั่งเศส 2 หน้า โดยหน้าแรกเป็นหนังสือราชการที่มีข้อความขออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทาง ส่วนหน้าสองแสดงรายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหนังสือเดินทาง ซึ่งประกอบด้วยรูปถ่าย อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทาง และมีอายุการใช้งาน 1 ปี สรุปลำดับได้ดังต่อนี้ค่ะ

ภาพจาก: เพจเฟซบุ๊ก ย้อนอดีต…วันวาน

ลำดับวิวัฒนาการ หนังสือเดินทางไทย 

-ในปีพ.ศ. 2460 รัฐบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการออก “ประกาศว่าด้วยผู้เดินทางไปนอกพระราชอาณาเขตร์ให้มีหนังสือเดินทาง” เมื่อวันที่ 17 กันยายน[2] เป็นการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการสำหรับผู้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อลดปัญหาผู้เดินทางมักจะไม่มีหนังสือเดินทาง หรือตราเดินทาง (visa) ทำให้ถูกกักกันไม่ให้เข้าประเทศ ถูกจับกุมกักขังหรือถูกส่งกลับประเทศอันเนื่องมาจากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มมีการตรวจตราหนังสือเดินทางของคนต่างชาติอย่างเข้มงวด โดยมีการลงในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 23 กันยายน

-ในปีพ.ศ. 2463 ได้มีการเรียกร้องให้ใช้รูปแบบหนังสือเดินทางให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นผลพวงจากการประชุมขององค์การสันนิบาตชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทางที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลไทยในสมัยนั้นได้เข้าร่วมประชุมและลงนามรับรองข้อมติของที่ประชุมดังกล่าว

-ในปีพ.ศ. 2470 รัฐบาลไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฉบับแรกของไทยในวันที่ 1 กรกฎาคม อันเนื่องมาจากข้อตกลงในมติในที่ประชุมขององค์การสันนิบาติชาติเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง

-ในปีพ.ศ. 2463 ทำให้เริ่มมีการปรับปรุงรูปแบบของหนังสือเดินทางใหม่ให้เป็นรูปเล่ม

หนังสือเดินทางไทยในปี 2482

-ในปีพ.ศ. 2482 มีการผลิตหนังสือเดินทางเป็นรูปเล่มปกแข็งมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ภายในเล่มข้อมูลใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสควบคู่กัน มีการติดรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทางพร้อมลายมือชื่อ หนังสือเดินทางมีจำนวน 32 หน้าโดยในสมัยนั้นมีแผนกหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบดูแล แต่ไม่สามารถออกหนังสือเดินทางหรือต่ออายุนอกพระราชอาณาเขตสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน) ได้ หนังสือเดินทางมีอายุเพียง 2 ปี แม้กระนั้นเมื่อหมดอายุสามารถต่ออายุได้ 1-2 ปีแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี โดยหนังสือเดินทางใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปยังประเทศที่ระบุไว้ในหนังสือเดินทางเท่านั้นแต่สามารถสลักเพิ่มเติมได้ในภายหลัง ค่าธรรมเนียมฉบับละ 12 บาทสำหรับออกเล่มใหม่ ส่วนการต่ออายุปีละ 6 บาท หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยงแปลงเล็กน้อยในส่วนของสี ตราครุฑบนปกนอก และลักษณะการจัดวางข้อมูลภายใน

-ในปีพ.ศ. 2520 มีการเปลี่ยนแปลงรายการข้อมูลผู้ถือหนังสือเดินทางจากที่เคยใช้ภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเป็นข้อมูลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

-ในปีพ.ศ. 2536 มีการพัฒนาในการพิมพ์รูปผู้ถือหนังสือเดินทางลงในหนังสือเดินทางด้วยระบบดิจิตอลแทนการติดรูปลงในหนังสือเดินทางโดยใช้ระบบ Digital Passport System (DPS) ทำให้อ่านได้ด้วยเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง (Machine Readable Passport)หนังสือเดินทางไทยอิเล็กทรอนิกส์หน้าแรกรูปหัวเรือสุพรรณหงส์ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทำให้ยากแก่การปลอมแปลง

-ในปีพ.ศ. 2538 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จึงมีการเปลี่ยนแปลงหนังสือเดินทางให้ข้อมูลอยู่ในหน้าเดียว

-ในปีพ.ศ. 2543 ระบบการทำหนังสือเดินทางเริ่มเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยเพื่อเรียกใช้ข้อมูลทะเบียนราษฎรผ่านทางคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนยื่นขอหนังสือเดินทาง นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาระบบการผลิตหนังสือเดินทางโดยนำเทคโนโลยีการถ่ายรูป การบันทึกข้อมูล และการพิมพ์ข้อมูลลงในเล่มโดยตรง ทั้งสองระบบนี้สามารถช่วยย่นเวลาการผลิตหนังสือเดินทางได้เป็นอย่างมากทำให้สามารถผลิตหนังสือเดินทางได้ภายในเวลา 3 วันทำการ

-ในปีพ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงรูปแบบและเล่มหนังสือเดินทางให้ได้มาตรฐานมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแบบเดียวกับการพิมพ์ธนบัตร ทำให้มีคุณลักษณะป้องกันการปลอมแปลงที่เพิ่มขึ้น คุณลักษณะนี้อาจจะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบ และคุณลักษณะบางอย่างที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็มีการแฝงไว้อย่างแนบเนียน นอกจากนี้ในขั้นตอนการผลิตเล่มหนังสือเดินทางจะผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและสารเคมีที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไป ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง และมีความปลอดภัยสูง

-ในปีพ.ศ. 2548 ถึง ปัจจุบัน เริ่มมีการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการบันทึกข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทาง มีการฝังไมโครชิปที่เป็นมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) มีการเพิ่มจำนวนหน้าเป็น 50 หน้า

ภาพพาสปอร์ตสยาม หนังสือการเดินทางไทยช่วงปี 2474 

 

หน้าปก พาสสปอร์ตสยาม หนังสือการเดินทางไทยในอดีต เมื่อ 80 ปีที่แล้ว

ข้อมูลด้านใน ก็มีรูปถ่ายผู้ถือหนังสือเดินทาง บอกรายละเอียด อายุ ความสูง สีผม ตา ใบหน้า ตำหนิ และลายมือชื่อผู้ถือหนังสือเดินทางมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสด้วย

เปิดมาด้านใน (คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่ได้)  หนังสือการเดินทางไทยในอดีต เมื่อ 80 ปีที่แล้ว

ตรวจลงตรา

หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบัน

มีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ หนังสือเดินทางประเภทธรรมดา,ราชการ,ทางการทูต และเดินทางชั่วคราว อีกทั้งยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ หนังสือเดินทางพระ และหนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์

ภาพ:http://www.thaiembassy.org/riyadh/contents/images/information_other-20140724-212218-0.jpg

หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีน้ำตาล)
ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี

ภาพจาก: http://2.bp.blogspot.com/-WoGD94MPrhU/UH143Fz_0fI/AAAAAAAABds/ct-S7cc5oOY/s1600/118_20110928144028..jpg

หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)
หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ

หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)
มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้

พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

ภาพจาก: http://www.thaikonsulatfrankfurt.de

หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)
หนังสือเดินทางชั่วคราว อายุ 1 ปี จะออกให้ในกรณีที่คนไทยทำหนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ และมีความจำเป็นเร่งด่วนจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ โดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทาง E-Passport ได้ อย่างไรก็ดี หนังสือเดินทางชั่วคราวมีข้อจำกัดคือ ไม่มี machine readable bar code ซึ่งหากนำไปขอวีซ่า บางประเทศอาจไม่ยอมรับ

นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ

หนังสือเดินทางพระ
ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม

หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์
ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

ขอบคุณภาพพาสปอร์ตปี 2474 จากเพจเฟซบุ๊ก  ย้อนอดีต…วันวาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง