พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีเมื่อไหร่ และตรงกับวันใดบ้างในแต่ละรัชกาล

วันฉัตรมงคล คือ พระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร (พระแสงประจำรัชกาล) ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก เสวยราชสมบัติตามราชประเพณี โดย พิธีราชาภิเษก (coronation) เป็นเป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษกซึ่งมีพระราชอำนาจ อย่างเป็นทางการ

ความรู้เกี่ยวกับ พระราชพิธีฉัตรมงคล

หลักฐาน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คือ ศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย กล่าวคือ พ่อขุนผาเมืองอภิเษกพระสหายคือ พ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้ครองกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่มีรายละเอียดการประกอบพระราชพิธี ว่ามีขั้นตอนอย่างใด

สำหรับในสมัยอยุธยาก็ปรากฏหลักฐานตามพงศาวดารว่า “พระมหากษัตริย์ในแผ่นดินอยุธยา เมื่อมีการเปลี่ยนองค์พระมหากษัตริย์ ทั่วทั้งเมืองจัดให้มีพิธีเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริกใหญ่โตไปทั่วทั้งพระนคร”

ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ก็มิได้ทรงละทิ้งพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการสอบพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ให้มีความถูกต้องตามระเบียบแบบแผนและทรงต้องการให้ยึดถือเป็นระเบียบแบบแผนในรัชกาลต่อไป

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย ในรัชกาลต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
ราชาภิเษก วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
ราชาภิเษก พ.ศ. 2352

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
ราชาภิเษก วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2367

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
บรมราชาภิเษก 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ราชาภิเษก วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 (ครั้งที่ 1) , 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 (ครั้งที่ 2)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ราชาภิเษก วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
บรมราชาภิเษก วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2468

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
ราชาภิเษก / ไม่มี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
บรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493

พระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 9

ย้อนรำลึกพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีสำคัญในการสมโภชพระมหาเศวตฉัตร เพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ ซึ่งเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติกันมายาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4

Link : seeme.me/ch/pacificinspiration/9aBOjM

พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก

พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยทรงมีพระดำริว่า “วันที่พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนั้น เป็นมหามงคลสมัยซึ่งประเทศทั้งปวง ที่มีพระเจ้าแผ่นดินย่อมนับถือวันนั้นเป็นวันนักขัตฤกษ์มงคลกาล แต่ในกรุงสยามมิได้มีการนักขัตฤกษ์อันใด ครั้งนี้วันบรมราชาภิเษกของพระองค์ตรงกับสมัยที่เจ้าพนักงานได้สมโภชเครื่องราชูปโภคแต่เดิมมา ควรที่จะมีการสมโภชพระมหาเศวตฉัตรให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ จึงได้ทรงพระราชดำริจัดการพระราชกุศลพระราชทานชื่อว่า ฉัตรมงคล นี้ขึ้น”

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

การพระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงริเริ่มนั้น มีสวดมนต์เลี้ยงพระ เวียนเทียนสมโภชพระมหาเศวตฉัตร ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ราชาภิเษก – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 (ครั้งที่ 1) , 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 (ครั้งที่ 2)

พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์ครั้งแรก

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีเพิ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า อาลักษณ์อ่านคำประกาศ ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติ ชุมนุมถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช เวียนเทียนสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์

พระรูปจำลองของรัชกาลที่ 6

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ราชาภิเษก 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453

พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
บรมราชาภิเษก 25 กุมภาพันธ์ 2468

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 (นับตามปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2469) วันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, การเสด็จออกมหาสมาคมครั้งแรกในรัชกาล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา และทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ

ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จนเรียบร้อยแล้ว จึงจะเสด็จนิวัตพระนครเป็นการถาวรและจะทรงรับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ด้วยพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
พระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม 2493

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงกระทำพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี จึงถือว่าวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันมงคลสมัย พสกนิกรและรัฐจึงได้ร่วมกันจัดพระราชพิธีขึ้นเรียกว่า รัฐพิธีฉัตรมงคล บ้างก็เรียก พระราชพิธีฉัตรมงคล

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 9 พระราชพิธีฉัตรมงคลจัดขึ้นทุกวันที่ 5 พฤษภาคม เพราะทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 และทางราชการถือเป็นวันหยุดตามประเพณีวันหนึ่งของประเทศไทย ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560 การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทางรัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษายกเลิกวันนี้ลง และให้วันที่ 28 กรกฎาคม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นวันหยุดเพิ่มเติมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

รัชกาลที่ 10

เนื่องจากวันฉัตรมงคลถูกกำหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก ทว่าในรัชกาลปัจจุบันพระราชพิธีนี้ยังไม่ได้จัดขึ้น ทำให้ขณะนี้ยังไม่มีวันฉัตรมงคลวันใหม่

ภาพจาก Pantip.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง