ธาตุดิน-น้ำ-ลม-ไฟ คุณอยู่ในธาตุไหนกันแน่ ? ราศี-ปีนักษัตร

ในทาง โหราศาสตร์ได้จัดแบ่งราศีเกิดของคนเราตามการหมุนของดวง อาทิตย์ไว้ 12 ราศี แต่ละราศีจะเป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตของแต่ละคน และมี ผลต่อร่างกายของคนเราซึ่งประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ .. บุคคลแต่ละคนจะมีธาตุหนึ่งธาตุใดในร่างกายเด่นชัดออกมา และจะแสดงออกเป็นบุคลิก นิสัย ใจคอ อารมณ์รวมทั้งพฤติกรรมการเลือก บริโภคอาหารให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลได้ อ่าน ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ คุณอยู่ในธาตุไหนกันแน่

ธาตุ ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ คุณอยู่ในธาตุไหนกันแน่ ?

ซึ่งราศีเกิด แต่ละคนสามารถพิจารณาจากวันเดือนเกิดของตัวเองได้ ดังนี้

แบบที่ 1 เริ่มนับจากกลางเดือน

เป็นราศีที่เป็นหมู่ดาวบนฟ้า

แบบที่ 2 คือ เริ่มราววันที่ 21-23 ของเดือนก่อน

เป็นแบบฝรั่งทางตะวันตกใช้แบ่งราศี

**บางคนเคยยึดว่าตัวเองราศีใด ให้ยึดตามราศีนั้น แล้วอ่านคำทำนาย

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

การกินอาหาร กับ ธาตุต่างๆ

ธาตุดิน

ธาตุดินมักชอบดื่มน้ำผักและผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวานรสมันและ รสเค็ม

– รสฝาด เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะตูม น้ำกระท้อน น้ำมะกอก น้ำมะขาม น้ำลูกหว้า

– รสหวาน เช่น น้ำแตงโม น้ำมะละกอ น้ำกล้วยหอม น้ำขนุน น้ำเงาะ น้ำน้อยหน่า น้ำละมุดฝรั่ง น้ำลำใย น้ำอ้อย

– รสมัน เช่น น้ำกระจับ น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำแห้ว

ธาตุน้ำ

ธาตุน้ำมักจะชอบดื่มน้ำผักและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว รสขม

– รสเปรี้ยว เช่น น้ำมะขาม น้ำมะนาว น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำมะยม น้ำส้มโอ น้ำมังคุด น้ำมะเขือเทศ น้ำสับปะรด น้ำส้มเขียวหวาน น้ำลังสาด น้ำลิ้นจี่ น้ำเชอรี่ น้ำองุ่น น้ำชมพู่ น้ำทับทิม น้ำพุทรา น้ำสตอเบอรี่ น้ำมะขวิด น้ำมะปราง น้ำมะเฟือง น้ำมะไฟ น้ำมะม่วง

– รสขม เช่น น้ำมะระขี้นก น้ำเห็ดหลินจือ น้าใบบัวบก

ธาตุลม

ธาตุลมมักจะชอบดื่มน้ำผักผลไม้ที่มีรสเผ็ดร้อน

– รสเผ็ดร้อน เช่น น้ำกระเพราแดง น้ำขิง น้ำตะไคร้

ธาตุไฟ

ธาตุไฟมักชอบดื่มน้ำผักและผลไม้ที่มีรสหอมเย็น (สุขุม) รสจืด

– รสหอมเย็น (สุขุม) เช่น น้ำลูกเดือย น้ำเม็ดแมงลัก น้ำอาร์ซี น้ำแตงไทย น้ำมะพร้าว น้ำรากบัว น้ำลูกจาก น้ำลูกตาลอ่อน

– รสจืด เช่นน้ำผักคะถ้าน้ำผักตำลึงน้ำแตงกวา น้ำคึ่นช่าย น้ำดอกคำฝอย น้ำว่านหางจระเข้ น้ำกระหล่ำปลี น้ำผักกวางตุ้ง

สรุป

ไม่ว่าจะเกิดราศีใดก็ตามไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำสมุนไพรเฉพาะธาตุ ราศีเกิดของตัวเองเท่านั้น แต่ควรดื่มน้ำสมุนไพรรสชาติอื่น ๆ ด้วย เพราะถ้า หากเราดื่มน้ำสมุนไพรตามธาตุหนึ่งธาตุใดน้อยหรือมากเกินไป จะทำให้ ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยได้เช่นกัน ดังนั้นควรดื่มน้ำสมุนไพรครบทั้ง 4 ธาตุ เพื่อช่วยให้ร่างกายได้สารอาหารหลาย ๆ ชนิด

ที่มา MThai.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง