คุณสมบัติ คุณสมบัตินักเขียน นักเขียน

13 คุณสมบัติ นักเขียน | อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน

Home / เรื่องทั่วไป / 13 คุณสมบัติ นักเขียน | อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน

เมื่อกล่าวถึงเรื่องคุณสมบัติของนักเขียน บางคนก็บอกว่าเป็นนักเขียนต้องทำตัวเหมือนศิลปิน บางคนบอกว่าเป็นนักเขียนจะต้องมีวินัย บางคนบอกว่าเป็นนักเขียนจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ ซึ่งจะตอบอย่างไรก็ถูกหมด เพราะนักเขียนแต่ละท่านมีคุณสมบัติหรือลักษณะที่ดีที่แตกต่างกัน หรืออาจจะมีนักเขียนบางท่านอาจจะมีคุณสมบัติหรือลักษณะที่ดีที่เหมือนกัน ซึ่งลักษณะที่ดีของนักเขียนมีดังนี้

13 คุณสมบัติ ‘นักเขียน’

ไม่จำเป็นต้อง..

1. เขาไม่จำเป็นต้องชอบคน แต่จะต้องสนใจในความเป็นคนของคนเราอย่างลึกซึ้ง

อยากให้คนอื่นเห็นอย่างที่เขาเห็น

2. เขาจะต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้คนอื่นๆ เห็นเหมือนอย่างที่เขาเห็น

อ่อนไหว..

3. เขาจะต้องอ่อนไหวต่อสภาพของมนุษย์ และผลักดันตนเองให้แสดงเกี่ยวกับสภาพของมนุษย์นั้น

รักในถ้อยคำ

4. เขาจะต้องรักใคร่หลงใหลในถ้อยคำ เพื่อที่วลี ประโยค และจังหวะของถ้อยคำจะได้เข้าสิงสู่ในความรู้สึกและตัวเขาตลอดเวลา

แยกแยะ..

5. ในฐานะของบุคคล เขาจะต้องรู้สึกผูกผันกับสิ่งที่ตนเองเขียนอย่างลึกซึ้ง ในฐานะของศิลปินเขาจะต้องแยกตัวเองออกจากงานของตนให้ได้ โดยเรียนรู้ที่จะแยกแยะว่าสิ่งใดดีและไม่ดีเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเขียน

ต้องไม่ลังเล..

6. เขาจะต้องเรียนรู้ว่าการเขียนหนังสือคือการเขียนใหม่ เรียบเรียงใหม่ เขาต้องสามารถที่จะตัดทิ้งต้นฉบับของเขาได้โดยไม่ลังเล สามารถที่จะขัดเกลาความเป็นเด็กของเขาโดยไม่รู้สึกแหยงหรือขยาด

ความผูกพัน..

7. เขาจะต้องผูกพันตัวเองอย่างล้ำลึกเกี่ยวกับเรื่องรายละเอียด สิ่งนี้มักจะเป็นสิ่งที่บอกและแยกให้เห็นความแตกต่างของงานเขียนที่ประสบความสำเร็จและที่ประสบความล้มเหลวได้

งานในทุกวัน

8. เขาจะต้องเรียนรู้และตระหนักว่าการเขียนคืองานประจำวัน ไม่ได้เกิดจากความบันดาลใจชั่วครั้งชั่วยาม เขาจะต้องมีเวลาที่นั่งลงเขียนหนังสือทุกวัน การเป็นนักหนังสือพิมพ์เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ตัวเองได้เขียนหนังสือทุกวัน นักเขียนที่เริ่มต้นไม่สามารถจะอ้างเรื่องการงานของเขามาเป็นเหตุว่าทำให้เขาเขียนหนังสือไม่ได้

รายได้

9. เขาจะต้องรู้ว่ามีนักเขียนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่สามารถเลี้ยงตัวได้ด้วยการเขียนหนังสือน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีงานอย่างอื่นทำ

การยอมรับ

10. เขาจะต้องยอมรับในที่สุดว่า เหตุที่เขาไม่ได้เขียนหนังสือ ไม่ได้เป็นนักเขียนเพราะเขาไม่ต้องการจะเป็น เพราะคนที่เป็นนักเขียนและประสบความสำเร็จนั้น เขียนได้ในทุกสภาวะของการดำรงชีวิต ในทุกสภาพที่ไม่เอื้ออำนวย

หยุดคิด..

11. บ่อยครั้งที่เขาอาจจะหยุดคิด คิดว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ล้วนแต่มีคนเคยเขียนไปก่อนแล้ว เราไม่มีอะไรที่จะเขียนได้เลย แต่เขาต้องเตือนตัวเองว่าเรื่องอย่างโรมิโอจูเลียตนั้น นักเขียนอิตาเลียนคนหนึ่งเคยเขียนมาแล้ว แต่เช็คสเปียร์เล่าเรื่องได้ดีกว่าและเรื่องเดียวกันนี้ยังนำมาเล่ากันใหม่ คือเรื่องเวสต์ไซด์สตอรี่

ชีวิตกับตะกร้า..

12. นักเขียนจะต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับตะกร้า ซึ่งไม่ได้หมายความว่าโลกทั้งโลกได้สิ้นสุดลงแล้วสำหรับความเป็นนักเขียนของเขา เขาหลีกเลี่ยงตะกร้าได้ มีวิธีหลายวิธีวิธีหนึ่งคือย่าส่งเรื่องไปยังหนังสือที่เจ๊งไปแล้วเมื่อสี่ห้าปีก่อน

เรียนรู้

13. ” นักเขียนจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัญหาของความหว้าเหว่ เนื่องจากการเขียนหนังสือเป็นอาชีพที่หว้าเหว่ เป็นถนนสายหนึ่งที่บุคคลจะต้องเดินคนเดียว ”

/////

… 15 ปีที่แล้วบทความนี้ แปลโดย วาณิช จรุงกิจอนันต์ จากหนังสือฝรั่งเล่มหนึ่ง ตีพิมพ์ใหม่โดย มติชนสุดสัปดาห์ ในคอลัมน์ของ วาณิช จรุงกิจอนันต์

ผมเห็นว่าดี จึงนำมาพิมพ์ให้ได้อ่านกัน และขอขอบคุณที่ให้ผมได้เป็นส่วนหนึ่งของ girls.in.th ที่มา : บทความของนักเก้า