เหรียญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญสองบาท ในหลวงรัชกาลที่ 9

เหรียญ 2 บาท ที่ผลิตในปี 2548 หายาก เซียนเหรียญแนะ เก็บไว้ให้ดีมีเฮ

Home / เรื่องทั่วไป / เหรียญ 2 บาท ที่ผลิตในปี 2548 หายาก เซียนเหรียญแนะ เก็บไว้ให้ดีมีเฮ

เซียนสะสมเหรียญแนะให้เก็บ เหรียญ 2 บาท ที่ผลิตในปี 2548 เอาไว้ให้ดี เชื่อราคาพุ่งแน่ เพราะกรมธนารักษ์จะเลิกผลิต และทำเหรียญรุ่นใหม่ขึ้นมาแทน – กรมธนารักษ์เตรียมออกเหรียญที่ระลึก วโรกาส ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา (5 ธันวาคม 2550)

เหรียญ 2 บาท ที่ผลิตในปี 2548 หายาก

ร.ต.อ.กุสิก มโนธรรม นายกสมาคมเหรียญกษาปณ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง กรณีที่กรมธนารักษ์มีแผนที่จะเปลี่ยนรูปแบบเหรียญกษาปณ์ ที่ใช้หมุนเวียนในระบบ เพื่อปรับปรุงเป็นรุ่นใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ทั้งเหรียญราคา 1 บาท ราคา 2 บาท ราคา 5 บาท และราคา 10 บาท ว่า ….

“การดำเนินการดังกล่าว จะส่งผลให้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นที่สนใจของนักสะสมมากขึ้น เนื่องจากจะมีของใหม่ขึ้นมาทดแทน และมองว่าเหรียญรุ่นที่น่าสะสมมากที่สุดคือ เหรียญกษาปณ์ชนิด 2 บาท ซึ่งเริ่มผลิตเมื่อปี 2548 เพราะเป็นเหรียญที่มีการผลิตจำกัด และมีอายุการใช้งานต่ำที่สุด ซึ่งต่อไปอาจจะเป็นของหายากในตลาดได้”

ก่อนหน้านี้กรมธนารักษ์ได้ประกาศว่า จะทำการปรับปรุงเหรียญกษาปณ์ในประเทศใหม่ โดยจะทำให้ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ที่จะนำตัวเลขอารบิก ระบุราคาหน้าเหรียญ เพื่อให้ชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยว สามารถใช้จ่ายได้สะดวกมากขึ้น เพราะเหรียญกษาปณ์ของไทยที่ใช้อยู่ในตลาดนั้นยังคงมีตัวเลขไทยอย่างเดียว โดยคาดว่าจะสามารถผลิตเหรียญรุ่นใหม่ใช้ในช่วงต้นปี 2551

ส่วนภาพด้านล่างนี้คือเหรียญสองบาทที่ใช้ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นเหรียญสองบาทหายาก

เหรียญสองบาทหายาก

เหรียญ 2 บาทรุ่นปีต่างๆ

ด้านนางพันธ์ทิพย์ สุรทิณฑ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน เปิดงานเสวนาเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึกในรัชกาลที่ 9 ว่า “การจัดงานเสวนาครั้งนี้เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาส ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 นี้ ซึ่งกรมธนารักษ์เตรียมผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกในวโรกาสดังกล่าวให้ประชาชนจ่ายแลก ซึ่งกรมจะเริ่มเปิดให้สั่งจองได้ภายในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2550

ทั้งนี้ เหรียญเฉลิมพระเกียรติดังกล่าวจะมีทั้งแบบเหรียญที่ระลึก ชนิดทองคำ น้ำหนัก 240 กรัม จ่ายแลกในราคา 300,000 บาท โดยจะผลิตตามที่สั่งจอง แต่ไม่เกิน 280 เหรียญ และ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก มี 7 ชนิด ประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดทองคำ ผลิตจำนวน 19,800 เหรียญ จ่ายแลกในราคา 16,000 บาท เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำขัดเงา ผลิต 9,800 เหรียญ ราคา 18,000 บาท เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดเงินขัดเงา ผลิต 19,800 เหรียญ ราคา 1,400 บาท และเหรียญเงินธรรมดา ราคา 800 บาท นอกจากนั้นเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ราคา 20 บาท แบบขัดเงา จ่ายแลก 300 บาท เหรียญนิกเกิล 20 บาท และสุดท้าย เหรียญที่ระลึก ราคา 10 บาท

มั่นใจว่าการจ่ายแลกเหรียญที่ระลึกในครั้งนี้ จะไม่เกิดปัญหา เหมือนอย่างในช่วงการจ่ายแลกเหรียญฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปี ที่มีความต้องการมาก และผลิตไม่พอ จนเกิดการเก็งกำไรเหรียญกันขึ้น เพราะปีนี้มีการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างเหรียญ 10 บาท ก็ผลิตถึง 18 ล้านเหรียญ เพิ่มจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 16 ล้านเหรียญ” นางพันธ์ทิพย์กล่าว

นอกจากนี้กรมยังมีแผน เพิ่มช่องทางการจ่ายแลก นอกเหนือจากสถานที่จ่ายแลกของกรมธนารักษ์ โดยคาดว่าจะขอความร่วมมือจากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย โดยสามารถสั่งจองผ่านธนาคารดังกล่าวเพื่อกระจายไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง.

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ X-cite ข่าวเมื่อ 23 พฤษภาคม 2550

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเหรียญ 2 บาท

  • เหรียญ 2 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 2 บาทในชุดปัจจุบันมีด้านหน้า
  • เป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นรูปพระบรมบรรพต วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
  • ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2548
  • ปีที่ผลิต จำนวนที่ผลิต (เหรียญ) ปี 2548 : 4,000,000 ปี 2549 : 128,000,000

สาเหตุที่ต้องมีการนำเหรียญ 2 บาท มาใช้นั้น เนื่องจากความห่างของค่าของเหรียญ และธนบัตร มักมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1 เท่าตัว เช่น + เหรียญ 10 เป็นสองเท่าของเหรียญ 5, ธนบัตร 20 มีค่าเป็นสองเท่าของเหรียญ 10, ธนบัตร 100 มีค่าเป็นสองเท่าของธนบัตร 50, ธนบัตร 1,000 มีค่าเป็นสองเท่าของธนบัตร 500, แต่ในส่วนของเหรียญบาท และเหรียญ 5 บาท จะเห็นได้ว่ามีค่าห่างกันมาก และไม่มีเหรียญใดมาคั่นกลาง จึงเป็นสาเหตุให้มีการจัดทำเหรียญ 2 บาท ขึ้นมา

contentm01

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร