ทะเล ปลาฉลามครุย สัตว์โลก

หาดูยาก ปลาฉลามครุย จากยุคดึกดำบรรพ์ เมื่อ 65 ล้านปีก่อน

Home / สาระความรู้ / หาดูยาก ปลาฉลามครุย จากยุคดึกดำบรรพ์ เมื่อ 65 ล้านปีก่อน

สาระความรู้ แคมปัส-สตาร์ วันนี้เรามีเรื่องราวของ ปลาฉลามครุย (Frilled shark) สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีมานานแล้วเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน ตั้งแต่ยุคครีเทเชียส จนกระทั่งถึงปัจจุบันมันก็ยังคงไม่สูญหายไปไหน หน้าตาสุดแสนประหลาดของเจ้าปลาสายพันธู์นี้มีลักษณะคล้ายกับปลาไหลที่เราเคยเห็นๆ กัน แต่จะมีความพิเศษ มีลักษณะอย่างไร ไปดูกัน  ถ้าไม่เจ๋งจริง มันคงไม่สามารถขยายสายพันธ์อยู่มาหลายรุ่นแบบนี้

หาดูยาก ปลาฉลามครุย จากยุคดึกดำบรรพ์

เมื่อ 65 ล้านปีก่อน

ปลาฉลามครุย (Frilled shark) หน้าตาอาจจะละม้ายคล้ายสัตว์ประหลาดในการ์ตูน หรือในหนังแฟนตาซี ที่เราอาจจะเห็นจากในละคร หรือภาพยนตร์  มันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus ในอยู่ในวงศ์ Chlamydoselachidae จริงๆ เคยมีรายงานว่ามันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ก็มาสร้างความฮือฮาอีกครั้งเมื่อปี 2007  เมื่อมีผู้พบเห็นว่ามันยังมีชีวิตอยู่

ปลาฉลามครุย

โดยในเดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2007 มีการรายงานว่า ชาวประมงชาวญี่ปุ่นสามารถจับปลาได้ตัวหนึ่งในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในเมืองชิซุโอะกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว รูปร่างหน้าตาของมันไม่ได้เปลี่ยนลักษณะไปเลย ตั้งแต่ในยุคดึกดำบรรพ์ช่วงยุคครีเทเชียสเมื่อประมาณ 65 ล้านปีที่แล้ว จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ซึ่งเชื่อว่าปลาตัวนี้ลอยขึ้นมาเพราะร่างกายอ่อนแอเนื่องจากความร้อนที่ขึ้นสูงของอุณหภูมิของน้ำ และมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็ตายไป นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าพบเจ้าปลาชนิดนี้ ในหลายพื้นที่ โดนเฉพาะเขตน่านน้ำของญี่ปุ่น

ลักษณะปาก และฟัน ของปลาฉลามครุย

สำหรับเจ้าปลาดึกดำบรรพ์สายพันธุ์นี้ อาศัยอยู่ในน้ำลึกกว่า 600 เมตรใต้ท้องทะเล  ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6.5 ฟุต มีผิวสีน้ำตาล หรือเทาเข้ม มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ สีแดงสด และฟูกางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูคล้ายครุย ซึ่งมีไว้สำหรับดูดซับออกซิเจน ปากกว้างเลยตำแหน่งตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลมๆ 3 แฉก ทำให้สันนิษฐานว่าเจ้าปลาชนิดนี้จะต้องล่าปลาเล็กเพื่อเป็นอาหาร

ปลาฉลามครุย

Did You Know

ยุคครีเทเชียส (อังกฤษ: Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d’Omalius d’Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822  โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้วย

ภาพและข้อมูล:en.wikipedia.org

บทความแนะนำ