คำที่มักเขียนผิด คำเขียนที่ถูกต้อง ภาษาไทย

คำที่มักเขียนผิด หมวดอักษร ก.ไก่ – กอ เอ๋ย กอ ไก่ ภาษาไทยวันละนิด

Home / สาระความรู้ / คำที่มักเขียนผิด หมวดอักษร ก.ไก่ – กอ เอ๋ย กอ ไก่ ภาษาไทยวันละนิด

ในระหว่าง ภาษาพูด และภาษาเขียนนั้น ปัญหาที่มีมากที่คือ ภาษาเขียน ว่าเขียนอย่างไรจึงจะถูกตามพจนานุกรม เพราะในการพูดนั้นแม้จะพูดผิดไปบ้างก็พอฟังเข้าใจ แต่ในด้านการเขียนก่อนที่จะจะมีปทานุกรมหรือพจนานุกรมออกมาเป็นทางราชการ คำบางคำอาจเขียนไม่เหมือนกันหรือเขียนไม่ตรงกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการเขียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ลักลั่น และถูกต้องตามอักขระวิธีของภาษาไทย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑทิตยสถาน จึงได้กำหนดให้เขียนเพียงรูปแบบเดียว รวมคำที่มักเขียนไม่ถูกต้อง หรือคำที่ผิดความหมายไปจากที่ต้องการเขียน ดังนี้

คำที่มักเขียนผิด หมวดอักษร ก.ไก่

คำ มักเขียนผิดเป็น คำ มักเขียนผิดเป็น
กงสุล กงศุล กฎ กฏ (ตอ-ปะ-ตัก)
กบ (เต็ม, แน่น) กลบ กฎหมาย กฏหมาย
กบฏ กบฎ, กบถ กรรไกร กันไกร
กรรเชียง กันเชียง กรรโชก กันโชก
กรรไตร กันไตร กรรมบถ กรรมบท
กรรมพันธุ์ กรรมพันธ์ กรรมสิทธิ์ กรรมสิทธิ
กรวดน้ำ  ตรวจน้ำ กร่อน  กล่อน
กระจิริด  กระจิ๊ดริด, กะจิ๊ดริด กระเชอ (ภาชนะสาน)  กระเฌอ, กะเฌอ
กระตือรือร้น  กระตือรือล้น, กะตือรือร้น  กระเทือน  กะเทือน
กระบวนการยุติธรรม  ขบวนการยุติธรรม กระเบียดกระเสียร  กระเบียดกระเสียน, กะเบียดกะเสียน
กระปรี้กระเปร่า  กะปรี้กะเปร่า กระเพาะ  กะเพาะ
กระสัน  กระสันต์ กระแสน้ำ  กระแสร์น้ำ
กระหนก (ลายไทย)  กนก (ทอง) กระหืดกระหอบ  กะหืดกะหอบ
กริยา (ไว, คำแสดงอาการ)  กิริยา (มารยาท) ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า  ก๋วยเตี๋ยวลาดหน้า
กเฬวราก  กเลวราก ก๊อก  ก็อก
กอปร  กอป, กรบร ก้อร่อก้อติก  ก้อล่อก้อติก, ก้อล่อก้อติด
กะทัดรัด  กระทัดรัด กะทันหัน  กระทันหัน
กะทิ  กระทิ กะเทาะ  กระเทาะ
กะปริบกะปรอย  กระปริบกระปรอย กะโปโล  กระโปโล, กะโปโร
กะพง  กระพง กะเพรา  กระเพรา
กะลา  กระลา กะเล่อกะล่า  กระเล่อกระล่า
กะหรี่ปั๊บ  กระหรี่ปั๊บ, กะหรี่พั๊บ กะโหลก  กระโหลก
กักขฬะ  กักขละ กังวาน  กังวาล
กังสดาล  กังสดาน กัญชา  กันชา
กันดาร (อัตคัด)  กันดาล (กลาง) กัป  กับป์
กัลป์  กัล  กากบาท  กากะบาท, กากบาด
กามารมณ์  กามารมย์ การบูร  การะบูร, การะบูน, การบูน
กาลเทศะ  กาละเทศะ ก้าวร้าว  กร้าวร้าว
กำเนิด  กำเหนิด กิจจะลักษณะ  กิจลักษณะ
กิตติกรรมประกาศ  กิติกรรมประกาศ กิตติมศักดิ์  กิติมศักดิ์
กิริยา (มารยาท)  กริยา (ไว, คำแสดงอาการ) กุฐัง  กุดฐัง
เกร็ดความรู้  เกล็ดความรู้ เกล็ดปลา  เกร็ดปลา
เกศา  เกษา เกษียณอายุ  เกษียนอายุ, เกษียรอายุ
เกษียรสมุทร  เกษียณสมุทร, เกษียนสมุทร เกสร  เกษร
เกินดุล  เกินดุลย์ โกฎิ (10 ล้าน)  โกฎ
โกศ (ที่ใส่ศพ)  โกฐ (เครื่องยาสมุนไพร)

ภาษาไทยนับว่าเป็น “เอกลักษณ์” ที่สำคัญที่สุดซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นไทยของเรา ภาษาไทยมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยภาษาเขียนนั้นได้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่มาก ทั้งภาษาบาลีสันสกฤต มอญ จีน อาหรับ เขมร และภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ บางคำเราก็ออกเสียงตามสำเนียงเดิมของเขา บางคำก็นำมาปรับใช้ให้เข้ากับลิ้นของเรา บางคำเราก็อ่านตามหลัก บางคำเราก็อ่านตามความนิยม หรือบางคำก็อ่านทั้งตามหลักและและตามความนิยม เช่น ภรรยา อ่านว่า พันยา (ตามหลัก) หรือ พัน-ระ-ยา (ตามความนิยม) ก็ได้ แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว เราควรจะยึกหลักไว้ก่อน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการอ่าน.

บทความแนะนำ