รัชกาลที่ 10 เรื่องน่ารู้ ในหลวงรัชกาลที่ 10

6 เรื่องราว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ที่ชาวไทยอาจไม่เคยรู้

Home / สาระความรู้ / 6 เรื่องราว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ที่ชาวไทยอาจไม่เคยรู้

13 ตุลาคม 2559 เป็นวันแห่งความโศกเศร้าครั้งยิ่งใหญ่ที่ชาวไทยทุกหมู่เหล่าต้องสูญเสีย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะเดียวกันหลายๆ คนก็เกิดคำถามว่าเชื้อพระวงศ์พระองค์ใดที่จะขึ้นมาเป็นรัชกาลที่ 10 สืบไป

6 เรื่องราว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10

โดยต่อมาได้มีการเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระรัชทายาทเพื่อทรงสืบราชสันตติวงศ์ แคมปัส-สตาร์ ขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10) ที่พสกนิกรชาวไทยหลายๆ คนอาจยังไม่เคยรู้ มาให้ได้อ่านกันค่ะ

king10

ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์

1.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรพระองค์ที่เท่าไหร่ ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์

-นับเป็นพระองค์ที่ 3 พระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี แต่ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนจะทรงสืบราชสมบัติ

พระองค์ที่ 2  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระราชชนนี คือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็นสมเด็จพระราชโอรสพระองค์รองลงมา ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

แพทย์และพยาบาล ผู้ทำคลอด

2.ใครคือแพทย์และพยาบาลผู้ถวายพระประสูติกาล

-นายแพทย์คือ นายแพทย์ ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์ พยาบาลล้วนเป็นหัวหน้าพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 3 คน คือ คุณถวิลหวัง ทุติยะโพธิ์ , คุณหญิงอาบ สุคันธนาค และคุณหญิงประเทือง คชภักดี

น้ำหนักแรกเกิด

3. ทรงมีน้ำหนักพระองค์เท่าใด ในขณะประสูติ

-ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ำพระมหาสังข์แก่พระราชโอรสตามพระราชประเพณี เมื่อเวลา 14.45 น. ของวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 นั้น น้ำหนักพระองค์ชั่งได้ 6 ปอนด์ และได้ทรงถ่ายพระรูปฝีพระหัตถ์พระราชทานแก่ประชาชนผ่านทางหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับด้วย

ผู้ขนานนาม ผู้ผูกดวงชะตา

4.ใครคือผู้ขนานนามพระนาม และผูกดวงพระชะตาถวาย

-ผู้ขนานนามคือ สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ส่วนผู้ผูกดวงชะตาคือ พระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทราบว่า พระยาบริรักษ์เวชการ กับคุณหญิงชิต มิลินทสูต ผู้สนใจในโหราศาสตร์ ได้ร่วมผูกดวงชะตาตามตำราของพระองค์หญิงเฉิดโฉมด้วย ปรากฏว่า พระองค์พระราชสมภพ ยามโฆสกะเศรษฐี ตามนิยายชาดก ซึ่งเกิดมาเสวยสมบัติมหาศาลของเศรษฐี ผู้ใดคิดร้ายก็พ่ายแพ้พระบารมีทุกทีไป ทรงมีเสาร์เป็นสิริ แสดงว่าบริบูรณ์ด้วยพระอิสริยยศ อุดมด้วยทรัพย์ และสำคัญที่สุดคือ จะทรงมีพระชนม์ยืนยาว ทั้งพระฤกษ์ประสูติเป็นพระฤกษ์เดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ด้วย

พระพี่เลี้ยง

5.ใครคือพระพี่เลี้ยงถวายการดูแล ระหว่างยังเสวยพระกษิรธารา หรือเมื่อยังมีพระชนม์ไม่ถึงหนึ่งพรรษา

-พระพี่เลี้ยงในครั้งนั้นเป็นพยาบาลจากโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ 3 แห่ง คือ ศิริราช จุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลหญิง มี สมพร กุณฑลจินดา , วิไล อมาตยกุล , อภิรดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , ทวี มณีนุตร มีท้าวอินทรสุริยา (คุณพระพี่เลี้ยงเนื่อง) พระพี่เลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งยังทรงพระเยาว์เป็นผู้ดูแลทั่วไป และมีนายแพทย์อรุณ เนตรศิริ เป็นผู้อำนวยการถวายคำปรึกษาในด้านนี้

king 10 (5)

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

เพื่อนร่วมชั้นอนุบาล

6. พระสหายร่วมชั้นอนุบาลที่ ร.ร.จิตรลดา มีกี่คน ใครบ้าง?

– ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนนี้เมื่อกันยายน ปี 2499 ขณะมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษาเศษ นักเรียนร่วมชั้นมีเพียง 7 คน คือ

ม.ร.ว.สิทธินัดดา ชุมพล , อรนิดา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , เกตนา โชติกเสถียร , เกรียงศักดิ์ ช่างเรือน , วีรวุทธิ วิรยพงศ์ , สัณห์ ศรีวรรธนะ และเกริก วณิกกุล

แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เสร็จแล้ว ทรงการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2519

king 10 (3)

เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารแล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อปี พ.ศ. 2520 ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ.2525 ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) และปี พ.ศ. 2533 ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร

king 10 (6)

king 10 (8)

92

ทรงพระเจริญ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ที่มา:: http://welovethaiking.com

บทความแนะนำ